ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
อัคคัยหสูตรที่ ๑
[๒๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่าไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ดูกร ภิกษุทั้งหลาย จักษุไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักษุนั้นเสีย จักษุนั้น อันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละใจนั้นเสีย ใจนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนพึงนำหญ้า กิ่งไม้และใบไม้ที่มีอยู่ในเชตวันนี้ไป หรือพึงเผา หรือพึงทำตามสมควรแก่เหตุ เธอทั้งหลายพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ชนนำพวกเราไป หรือเผา หรือทำพวกเราตามสมควรแก่เหตุ ดังนี้บ้างหรือหนอ ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า หาเป็นดังนั้นไม่ พระเจ้าข้า ฯ พ. ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร ภิ. เพราะเหตุว่า หญ้าเป็นต้นนั้นมิได้เป็นตน หรือเป็นของเนื่องด้วยตน ของข้าพระองค์ทั้งหลายเลย พระเจ้าข้า พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล จักษุไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักษุนั้นเสีย จักษุนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละใจนั้นเสีย ใจนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ฯ
จบสูตรที่ ๕
อัคคัยหสูตรที่ ๒
[๒๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่าไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของ เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็น ไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ... ธรรมารมณ์ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละธรรมารมณ์นั้นเสีย ธรรมารมณ์ นั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนพึงนำหญ้า กิ่งไม้และใบไม้ที่มีอยู่ในเชตวันนี้ไป หรือพึงเผา หรือพึงทำตามสมควรแก่เหตุ เธอทั้งหลายพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ชนนำพวกเราไป หรือเผา หรือทำตามสมควรแก่เหตุ ดังนี้ บ้างหรือหนอ ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า หาเป็นดั่งนั้นไม่ พระเจ้าข้า ฯ พ. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ภิ. เพราะเหตุว่า หญ้าเป็นต้นนั้นมิได้เป็นตน หรือเป็นของเนื่องด้วยตน ของข้าพระองค์ทั้งหลายเลย พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ... ธรรมารมณ์ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละธรรมารมณ์นั้นเสีย ธรรมารมณ์นั้นอันเธอ ทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ฯ
จบสูตรที่ ๖
เหตุอัชฌัตตสูตรที่ ๑
[๒๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นของไม่เที่ยง แม้เหตุและปัจจัย เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักษุนั้นก็ไม่เที่ยง จักษุอันเกิดแต่เหตุที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจัก เที่ยงเล่า ฯลฯ ใจเป็นของไม่เที่ยง แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งใจนั้น ก็ไม่เที่ยง ใจอันเกิดแต่เหตุที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ใน จมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย แม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะ คลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๗
เหตุอัชฌัตตสูตรที่ ๒
[๒๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นทุกข์ แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความ เกิดขึ้นแห่งจักษุนั้นก็เป็นทุกข์ จักษุอันเกิดแต่เหตุที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า ฯลฯ ใจเป็นทุกข์ แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งใจก็เป็นทุกข์ ใจอันเกิด แต่เหตุที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ แล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย แม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึง หลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้น แล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี ฯ [๒๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นอนัตตา แม้เหตุและปัจจัยเพื่อ ความเกิดขึ้นแห่งจักษุก็เป็นอนัตตา จักษุอันเกิดแต่เหตุที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็น อัตตาเล่า ฯลฯ ใจเป็นอนัตตา แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งใจก็เป็น อนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็น อยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย แม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อ หลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๘
เหตุพาหิรสูตรที่ ๑
[๒๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นของไม่เที่ยง แม้เหตุและปัจจัย เพื่อความเกิดขึ้นแห่งรูปก็ไม่เที่ยง รูปอันเกิดแต่เหตุที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจัก เที่ยงเล่า เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เป็นของไม่เที่ยง แม้เหตุ และปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธรรมารมณ์ก็ไม่เที่ยง ธรรมารมณ์อันเกิดแต่เหตุที่ ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่ อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเสียง แม้ในกลิ่น แม้ในรส แม้ใน โผฏฐัพพะ แม้ในธรรมารมณ์ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลาย กำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ [๒๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความ เกิดขึ้นแห่งรูปก็เป็นทุกข์ รูปอันเกิดแต่เหตุที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความ เกิดขึ้นแห่งธรรมารมณ์ก็เป็นทุกข์ ธรรมารมณ์อันเกิดแต่เหตุที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจัก เป็นสุขเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อ หน่ายแม้ในรูป แม้ในเสียง แม้ในกลิ่น แม้ในรส แม้ในโผฏฐัพพะ แม้ใน ธรรมารมณ์ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๙
เหตุพาหิรสูตรที่ ๒
[๒๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความ เกิดขึ้นแห่งรูปก็เป็นอนัตตา รูปอันเกิดแต่เหตุที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตา เล่า เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา แม้เหตุและปัจจัย เพื่อความเกิดขึ้นแห่งธรรมารมณ์ก็เป็นอนัตตา ธรรมารมณ์อันเกิดแต่เหตุที่เป็น อนัตตาที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเสียง แม้ในกลิ่น แม้ในรส แม้ในโผฏฐัพพะ แม้ในธรรมารมณ์ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะ คลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบเทวทหวรรคที่ ๔
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. เทวทหสูตร ๒. ขณสูตร ๓. ปัคคัยหสูตรที่ ๑ ๔. ปัคคัยหสูตร ที่ ๒ ๕. อัคคัยหสูตรที่ ๑ ๖. อัคคัยหสูตรที่ ๒ ๗. เหตุอัชฌัตตสูตรที่ ๑ ๘. เหตุอัชฌัตตสูตรที่ ๒ ๙. เหตุพาหิรสูตรที่ ๑ ๑๐. เหตุพาหิรสูตรที่ ๒ ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๓๓๓๖-๓๔๔๘ หน้าที่ ๑๔๓-๑๔๘. https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=3336&Z=3448&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=18&siri=118              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=219              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [219-226] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=18&item=219&items=8              The Pali Tipitaka in Roman :- [219-226] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=18&item=219&items=8              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i213-e.php#sutta5 https://suttacentral.net/sn35.138/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.138/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :