ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

ท้องพระโรงหลังใหม่ชื่ออุพภตกะ

๑๐. สังคีติสูตร
ว่าด้วยการสังคายนา
[๒๙๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นมัลละ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ได้เสด็จถึงกรุงปาวาของพวกเจ้ามัลละ ทราบว่า สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของนายจุนทกัมมารบุตร๑- เขตกรุงปาวานั้น
ท้องพระโรงหลังใหม่ชื่ออุพภตกะ
[๒๙๗] สมัยนั้น ท้องพระโรงหลังใหม่อันมีนามว่า อุพภตกะ ที่พวกเจ้ามัลละ กรุงปาวา โปรดให้สร้างสำเร็จแล้วได้ไม่นาน ยังไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ หรือใครๆ ที่เป็นมนุษย์เข้าพักอาศัยเลย พวกเจ้ามัลละกรุงปาวาได้สดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาค เสด็จจาริกในแคว้นมัลละ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ได้เสด็จ ถึงกรุงปาวาโดยลำดับ ประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของนายจุนทกัมมารบุตร เขต กรุงปาวา ต่อมา พวกเจ้ามัลละกรุงปาวาได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ท้องพระโรงหลังใหม่อันมีนามว่า อุพภตกะ ที่พวกเจ้ามัลละกรุงปาวา โปรดให้สร้างสำเร็จแล้วได้ไม่นาน ยังไม่มีสมณะ หรือพราหมณ์ หรือใครๆ ที่เป็นมนุษย์เข้าพักอาศัยเลย ขอพระผู้มีพระภาคทรงใช้ ท้องพระโรงนั้นเป็นปฐมฤกษ์ด้วยเถิด พวกเจ้ามัลละกรุงปาวา จักใช้ภายหลังที่ พระผู้มีพระภาคทรงใช้เป็นปฐมฤกษ์แล้ว ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ พวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงปาวาตลอดกาลนาน” พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์ด้วยพระอาการดุษณี [๒๙๘] ลำดับนั้น พวกเจ้ามัลละกรุงปาวา ทรงทราบพระอาการที่พระผู้มี พระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุกจากที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค @เชิงอรรถ : @ กัมมารบุตร แปลว่าบุตรของนายช่างทอง (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗๖/๓๗๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๔๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

ท้องพระโรงหลังใหม่ชื่ออุพภตกะ

กระทำประทักษิณ๑- แล้ว เสด็จเข้าไปยังท้องพระโรงหลังใหม่ แล้วจึงรับสั่งให้ปูเครื่องลาด ทั่วท้องพระโรง ปูลาดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมัน แล้วเข้าเฝ้าพระ ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ปูเครื่องลาด ทั่วท้องพระโรง ปูลาดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมันแล้ว ขอพระผู้มี พระภาคจงทรงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด” [๒๙๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เสด็จไปยังท้องพระโรงพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงล้างพระบาทแล้วเสด็จเข้าสู่ท้อง พระโรงประทับนั่งพิงเสากลาง ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ฝ่ายภิกษุสงฆ์ล้างเท้าแล้วเข้าสู่ท้องพระโรงนั่งพิงฝาด้านทิศตะวันตก ผินหน้า ไปทางทิศตะวันออกอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์พระผู้มีพระภาค ส่วนพระเจ้ามัลละกรุงปาวาทรงล้างพระบาทแล้วเสด็จเข้าสู่ท้องพระโรงประทับ นั่งพิงฝาทางด้านทิศตะวันออก ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตกอยู่เบื้องพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค๒- จากนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พวกเจ้ามัลละกรุงปาวาเห็นชัด ชวนใจ ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ด้วยธรรมีกถาเกือบตลอดคืน แล้วทรงส่งไปด้วยพระดำรัสว่า “วาเสฏฐะทั้งหลาย ราตรีผ่านไปมากแล้ว๓- ขอท่านทั้งหลายจงกำหนดเวลาสมควร ณ บัดนี้เถิด” พวกเจ้า มัลละกรุงปาวาทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ทรงพากันลุกขึ้นจากที่ประทับ ถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วเสด็จจากไป @เชิงอรรถ : @ กระทำประทักษิณ หมายถึงเดินเวียนขวา คือเดินพนมมือเวียนไปทางขวาตามเข็มนาฬิกา เป็นการแสดง @ความเคารพ ตามธรรมเนียมสมัยนั้น ต้องเดินเวียนขวา ๓ รอบ โดยมีพระผู้มีพระภาคอยู่ทางขวา เสร็จ @แล้วหันหน้าไปทางพระผู้มีพระภาค เดินถอยหลังจนสุดสายตา คือจนมองไม่เห็นพระผู้มีพระภาค คุกเข่า @ลงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วเดินจากไป (วิ.อ. ๑/๑๕/๑๗๖-๑๗๗) @ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๔๓/๒๔๖ @ ราตรีผ่านไปมากแล้ว หมายถึงเกือบสว่าง (ที.ม.อ. ๑๕๑/๑๔๐-๑๔๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๔๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

เรื่องนิครนถ์แตกกัน

[๓๐๐] ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาค เมื่อพวกเจ้ามัลละกรุงปาวาเสด็จจากไปแล้ว ไม่นาน ทรงเหลียวดูหมู่ภิกษุผู้นั่งนิ่งแล้ว รับสั่งเรียกท่านพระสารีบุตรมาตรัสว่า “สารีบุตร ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนมิทธะ สารีบุตร จงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อยหลัง จักขอพักสักหน่อย” ท่านพระสารีบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว จากนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ปูสังฆาฏิซ้อนกัน ๔ ชั้น ทรงสำเร็จสีหไสยาโดย พระปรัศว์เบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาทเหลื่อมพระบาท ทรงมีสติสัมปชัญญะ ทรงกำหนด พระทัยพร้อมจะเสด็จลุกขึ้น
เรื่องนิครนถ์แตกกัน
[๓๐๑] สมัยนั้น นิครนถ์ นาฏบุตรได้ถึงแก่กรรมแล้วไม่นานที่กรุงปาวา เพราะการถึงแก่กรรมของนิครนถ์ นาฏบุตรนั้น พวกนิครนถ์จึงแตกกัน เกิดแยกกัน เป็น ๒ พวก ต่างบาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ว่า “ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ แต่ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมวินัย ท่านจะรู้ทั่วถึงธรรมวินัย นี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด แต่ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก คำพูดของข้าพเจ้ามีประโยชน์ แต่คำพูดของท่านไม่มีประโยชน์ คำที่ควรพูดก่อน ท่านกลับพูดภายหลัง คำที่ควร พูดภายหลัง ท่านกลับพูดก่อน เรื่องที่ท่านเคยชินได้ผันแปรไปแล้ว ข้าพเจ้าจับผิด คำพูดของท่านได้แล้ว ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว ถ้าท่านมีความสามารถ ก็จงหาทาง แก้คำพูดหรือเปลื้องตนให้พ้นผิดเถิด” เห็นจะมีแต่การฆ่ากันเท่านั้นที่จะเป็นไปใน พวกนิครนถ์ผู้เป็นสาวกของนิครนถ์ นาฏบุตร แม้พวกสาวกของนิครนถ์ นาฏบุตร ที่เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว ก็มีอาการเบื่อหน่าย คลายความรัก รู้สึกท้อถอยใน พวกนิครนถ์ผู้เป็นสาวกของนิครนถ์ นาฏบุตร ทั้งนี้เพราะธรรมวินัยที่นิครนถ์ นาฏบุตร กล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความ สงบระงับ เป็นธรรมวินัยที่ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยที่มี ที่พำนักถูกทำลายแล้ว เป็นธรรมวินัยที่ไม่มีที่พึ่งอาศัย๑- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๑๖๔ หน้า ๑๒๕ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๔๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๑

[๓๐๒] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ท่าน ผู้มีอายุทั้งหลาย นิครนถ์ นาฏบุตรได้ถึงแก่กรรมแล้วไม่นานที่กรุงปาวา เพราะ การถึงแก่กรรมของนิครนถ์ นาฏบุตรนั้น พวกนิครนถ์จึงแตกกัน เกิดแยกกัน เป็น ๒ พวก ฯลฯ เป็นธรรมวินัยที่มีที่พำนักถูกทำลายแล้ว เป็นธรรมวินัย ที่ไม่มีที่พึ่งอาศัย ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ก็เป็นอย่างนั้นแหละ ในธรรมวินัยที่ ศาสดากล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อ ความสงบระงับ เป็นธรรมวินัยที่ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ ส่วนธรรมนี้ แลพระผู้มีพระภาคของพวกเราตรัสไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นเครื่องนำออกจาก ทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น เพื่อให้พรหมจรรย์นี้ ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุข แก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมอะไรเล่าที่พระผู้มีพระภาคของพวกเราตรัสไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาท กันในธรรมนั้น เพื่อให้พรหมจรรย์นี้ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไป เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
สังคีติหมวด ๑
[๓๐๓] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๑ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว มีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น เพื่อให้ พรหมจรรย์นี้ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๕๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๒

หมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๑ ประการ คืออะไร คือ สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ดำรงอยู่ได้ด้วยสังขาร ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ ๑ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น เพื่อให้พรหมจรรย์นี้ ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุข แก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย
สังคีติหมวด ๑ จบ
สังคีติหมวด ๒
[๓๐๔] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๒ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว มีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น เพื่อให้ พรหมจรรย์นี้ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คน หมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๕๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๒

ธรรมหมวดละ ๒ ประการ คืออะไร คือ
๑. นาม๑- ๒. รูป๒-
๑. อวิชชา๓- (ความไม่รู้แจ้ง) ๒. ภวตัณหา๔- (ความทะยานอยากในภพ)
๑. ภวทิฏฐิ๕- (ความเห็นเนื่องด้วยภพ) ๒. วิภวทิฏฐิ๖- (ความเห็นเนื่องด้วยวิภพ) @เชิงอรรถ : @ นาม หมายถึงอรูปขันธ์ ๔ คือ (๑) เวทนาขันธ์ (๒) สัญญาขันธ์ (๓) สังขารขันธ์ (๔) วิญญาณขันธ์ และ @นิพพาน (ที.ปา.อ. ๓๐๔/๑๗๐-๑๗๑) และดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๙๐/๑๐๗, @อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/๑๓๑๖-๑๓๑๗/๓๓๐ @ รูป หมายถึงมหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ (คืออุปาทายรูป ๒๔)(ที.ปา.อ. ๓๐๔/๑๗๑) @และดูเทียบ อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/๑๓๑๖-๑๓๑๗/๓๓๐ @ อวิชชา หมายถึงความไม่รู้แจ้งในสัจจะ ๔ มีทุกข์ เป็นต้น (ที.ปา.อ. ๓๐๔/๑๗๑) @ ภวตัณหา หมายถึงความปรารถนาภพ (ที.ปา.อ. ๓๐๔/๑๗๑) และดูเทียบข้อ ๓๕๒ หน้า ๓๗๐ ในเล่มนี้ @ ภวทิฏฐิ หมายถึงสัสสตทิฏฐิ คือเห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยง (ที.ปา.อ. ๓๐๔/๑๗๑) และดูเทียบ @องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๙๒/๑๐๘, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๙๖/๕๖๒ @ วิภวทิฏฐิ หมายถึงอุจเฉททิฏฐิ คือเห็นว่าอัตตาและโลกขาดสูญ (ที.ปา.อ. ๓๐๔/๑๗๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๕๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๒

๑. อหิริกะ (ความไม่อายบาป) ๒. อโนตตัปปะ (ความไม่กลัวบาป)๑-
๑. หิริ (ความอายบาป) ๒. โอตตัปปะ (ความกลัวบาป)๒-
๑. โทวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่ายาก) ๒. ปาปมิตตตา (ความมีปาปมิตร)๓-
๑. โสวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่าง่าย) ๒. กัลยาณมิตตตา (ความมีกัลยาณมิตร)๔-
๑. อาปัตติกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ) ๒. อาปัตติวุฏฐานกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ)๕- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๐๐/๕๖๓ @ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๙๔/๑๐๘ @ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๙๕/๑๐๘, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๐๑/๕๖๔ @ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๙๖/๑๐๘ @ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๙๘/๑๐๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๕๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๒

๑. สมาปัตติกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ) ๒. สมาปัตติวุฏฐานกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ)
๑๐
๑. ธาตุกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ) ๒. มนสิการกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ)๑-
๑๑
๑. อายตนกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ) ๒. ปฏิจจสมุปปาทกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท)
๑๒
๑. ฐานกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะ) ๒. อัฏฐานกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในอัฏฐานะ)
๑๓
๑. อาชชวะ (ความซื่อตรง) ๒. ลัชชวะ (ความละอาย)๒-
๑๔
๑. ขันติ (ความอดทน) ๒. โสรัจจะ (ความเสงี่ยม)๓- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๙๗/๑๐๙ @ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๖๕/๑๒๖ @ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๖๖/๑๒๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๕๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๒

๑๕
๑. สาขัลยะ (ความมีวาจาอ่อนหวาน) ๒. ปฏิสันถาร (การต้อนรับ)๑-
๑๖
๑. อวิหิงสา (ความไม่เบียดเบียน) ๒. โสเจยยะ (ความสะอาด)๒-
๑๗
๑. มุฏฐสัจจะ (ความหลงลืมสติ) ๒. อสัมปชัญญะ (ความไม่รู้ตัว)๓-
๑๘
๑. สติ (ความระลึกได้) ๒. สัมปชัญญะ (ความรู้ตัว)๔-
๑๙
๑. อินทริเยสุ อคุตตทวารตา (ความไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์) ๒. โภชเน อมัตตัญญุตา (ความไม่รู้จักประมาณในการบริโภค)๕- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๖๗/๑๒๖ @ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๖๘/๑๒๖ @ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๗๙/๑๒๙ @ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๘๐/๑๒๙ @ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๖๙/๑๒๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๕๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๒

๒๐
๑. อินทริเยสุ คุตตทวารตา (ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์) ๒. โภชเน มัตตัญญุตา (ความรู้จักประมาณในการบริโภค)๑-
๒๑
๑. ปฏิสังขานพละ (กำลังคือการพิจารณา) ๒. ภาวนาพละ (กำลังคือการเจริญ)๒-
๒๒
๑. สติพละ (กำลังคือสติ) ๒. สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ)๓-
๒๓
๑. สมถะ (การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ) ๒. วิปัสสนา (ความเห็นแจ้ง)๔-
๒๔
๑. สมถนิมิต (นิมิตแห่งสมถะ) ๒. ปัคคหนิมิต (นิมิตแห่งความเพียร) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๗๐/๑๒๗ @ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๗๑/๑๒๗ @ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๗๒/๑๒๗ @ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๗๓/๑๒๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๕๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๒

๒๕
๑. ปัคคหะ (ความเพียร) ๒. อวิกเขปะ (ความไม่ฟุ้งซ่าน)
๒๖
๑. สีลวิบัติ (ความวิบัติแห่งศีล) ๒. ทิฏฐิวิบัติ (ความวิบัติแห่งทิฏฐิ)๑-
๒๗
๑. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งศีล) ๒. ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ)๒-
๒๘
๑. สีลวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งศีล) ๒. ทิฏฐิวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งทิฏฐิ)๓-
๒๙
๑. ทิฏฐิวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งทิฏฐิ) ๒. ยถาทิฏฐิปธานะ (ความเพียรที่สมควรแก่สัมมาทิฏฐิ)๔- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๗๔/๑๒๘ @ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๗๕/๑๒๘ @ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๗๖/๑๒๘ @ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๗๗/๑๒๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๕๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๒

๓๐
๑. สังเวชนีเยสุ ฐาเนสุ สังเวคะ (ความสลดใจในที่ที่ควรสลดใจ) ๒. สังวิคคัสสะ โยนิโส ปธานะ (ความเพียรโดยแยบคายของผู้มีความสลดใจ)
๓๑
๑. กุสเลสุ ธัมเมสุ อสันตุฏฐิตา (ความไม่สันโดษในกุศลธรรมทั้งหลาย) ๒. ปธานัสมิง อัปปฏิวานิตา (ความไม่ท้อถอยในการบำเพ็ญเพียร)๑-
๓๒
๑. วิชชา (ความรู้แจ้ง) ๒. วิมุตติ (ความหลุดพ้น)๒-
๓๓
๑. ขยญาณ (ความรู้ในการสิ้นกิเลส) ๒. อนุปปาทญาณ (ความรู้ในการไม่เกิดกิเลส) ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ ๒ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น เพื่อให้พรหมจรรย์นี้ ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่ คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย
สังคีติหมวด ๒ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๕/๖๑, ๑๗๘/๑๒๙ @ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๙๑/๑๐๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๕๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๓

สังคีติหมวด ๓
[๓๐๕] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๓ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว มีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อ ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๓ ประการ คืออะไร คือ
อกุศลมูล๑- ๓ ๑. อกุศลมูลคือโลภะ (ความอยากได้) ๒. อกุศลมูลคือโทสะ (ความคิดประทุษร้าย) ๓. อกุศลมูลคือโมหะ (ความหลง)
กุศลมูล๒- ๓ ๑. กุศลมูลคืออโลภะ (ความไม่อยากได้) ๒. กุศลมูลคืออโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย) ๓. กุศลมูลคืออโมหะ (ความไม่หลง) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๗๐/๒๗๕ @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๗๐/๒๗๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๕๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๓

ทุจริต๑- ๓ ๑. กายทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยกาย)๒- ๒. วจีทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยวาจา) ๓. มโนทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยใจ)
สุจริต๓- ๓ ๑. กายสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยกาย) ๒. วจีสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยวาจา) ๓. มโนสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยใจ)
อกุศลวิตก๔- ๓ ๑. กามวิตก (ความตรึกในทางกาม) ๒. พยาบาทวิตก (ความตรึกในทางพยาบาท) ๓. วิหิงสาวิตก (ความตรึกในทางเบียดเบียน) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๒/๑๔๐ @ อีกนัยหนึ่งแปลว่า ความประพฤติชั่วที่เป็นไปทางกาย หรือความประพฤติชั่วทางกายก็ได้ @(ที.ปา.อ. ๓๐๕/๑๗๙) @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๒/๑๔๑ @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๒๕/๓๗๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๖๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๓

กุศลวิตก๑- ๓ ๑. เนกขัมมวิตก (ความตรึกปลอดจากกาม) ๒. อพยาบาทวิตก (ความตรึกปลอดจากพยาบาท) ๓. อวิหิงสาวิตก (ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน)
อกุศลสังกัปปะ ๓ ๑. กามสังกัปปะ (ความดำริในทางกาม) ๒. พยาปาทสังกัปปะ (ความดำริในทางพยาบาท) ๓. วิหิงสาสังกัปปะ (ความดำริในทางเบียดเบียน)
กุศลสังกัปปะ๒- ๓ ๑. เนกขัมมสังกัปปะ (ความดำริปลอดจากกาม) ๒. อพยาปาทสังกัปปะ (ความดำริปลอดจากพยาบาท) ๓. อวิหิงสาสังกัปปะ (ความดำริปลอดจากการเบียดเบียน)
อกุศลสัญญา ๓ ๑. กามสัญญา (ความกำหนดหมายในทางกาม) ๒. พยาปาทสัญญา (ความกำหนดหมายในทางพยาบาท) ๓. วิหิงสาสัญญา (ความกำหนดหมายในทางเบียดเบียน) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๒๕/๓๗๒ @ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๔๐๒/๓๓๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๖๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๓

๑๐
กุศลสัญญา ๓ ๑. เนกขัมมสัญญา (ความกำหนดหมายปลอดจากกาม) ๒. อพยาปาทสัญญา (ความกำหนดหมายปลอดจากพยาบาท) ๓. อวิหิงสาสัญญา (ความกำหนดหมายปลอดจากการเบียดเบียน)
๑๑
อกุศลธาตุ ๓ ๑. กามธาตุ (ธาตุคือกาม) ๒. พยาปาทธาตุ (ธาตุคือพยาบาท) ๓. วิหิงสาธาตุ (ธาตุคือวิหิงสา)
๑๒
กุศลธาตุ ๓ ๑. เนกขัมมธาตุ (ธาตุคือเนกขัมมะ) ๒. อพยาปาทธาตุ (ธาตุคืออพยาบาท) ๓. อวิหิงสาธาตุ (ธาตุคืออวิหิงสา)
๑๓
ธาตุ ๓ อีกนัยหนึ่ง ๑. กามธาตุ (ธาตุคือกามภพ) ๒. รูปธาตุ (ธาตุคือรูปภพ) ๓. อรูปธาตุ (ธาตุคืออรูปภพ) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๖๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๓

๑๔
ธาตุ ๓ อีกนัยหนึ่ง ๑. รูปธาตุ (ธาตุคือรูปภพ) ๒. อรูปธาตุ (ธาตุคืออรูปภพ) ๓. นิโรธธาตุ (ธาตุคือนิโรธ)
๑๕
ธาตุ๑- ๓ อีกนัยหนึ่ง ๑. หีนธาตุ (ธาตุอย่างหยาบ) ๒. มัชฌิมธาตุ (ธาตุอย่างกลาง) ๓. ปณีตธาตุ (ธาตุอย่างประณีต)
๑๖
ตัณหา ๓ ๑. กามตัณหา๒- (ความทะยานอยากในกาม) ๒. ภวตัณหา๓- (ความทะยานอยากในภพ) ๓. วิภวตัณหา๔- (ความทะยานอยากในวิภพ) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๗๗/๓๐๐-๓๐๑ @ กามตัณหา หมายถึงราคะที่มีกามคุณ ๕ เป็นอารมณ์ (ที.ปา.อ. ๓๐๕/๑๘๒, ที.ปา.ฏีกา ๓๐๕/๒๓๕) @ ภวตัณหา หมายถึงราคะในรูปภพและอรูปภพ ราคะอันสหรคตด้วยสัสสตทิฏฐิ หรือความปรารถนาภพ @(ที.ปา.อ. ๓๐๕/๑๘๒) @ วิภวตัณหา หมายถึงราคะที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ (ที.ปา.อ. ๓๐๕/๑๘๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๖๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๓

๑๗
ตัณหา ๓ อีกนัยหนึ่ง ๑. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกามภพ) ๒. รูปตัณหา (ความทะยานอยากในรูปภพ) ๓. อรูปตัณหา (ความทะยานอยากในอรูปภพ)
๑๘
ตัณหา๑- ๓ อีกนัยหนึ่ง ๑. รูปตัณหา (ความทะยานอยากในรูปภพ) ๒. อรูปตัณหา (ความทะยานอยากในอรูปภพ) ๓. นิโรธตัณหา๒- (ความทะยานอยากในความดับสูญ)
๑๙
สังโยชน์๓- ๓ ๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน) ๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต)
๒๐
อาสวะ๔- ๓ ๑. กามาสวะ (อาสวะคือกาม) ๒. ภวาสวะ (อาสวะคือภพ) ๓. อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๑๘/๕๗๔ @ นิโรธตัณหา หมายถึงราคะที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ ที่ถือว่าภพ คือ ความเป็นมนุษย์ ความเป็นเทพ @ชั้นกามาวจร ความเป็นเทพชั้นรูปาวจรและชั้นอรูปาวจร ขาดสูญ (ที.ปา.อ. ๓๐๕/๑๘๒, @ที.ปา.ฏีกา ๓๐๕/๒๓๖) @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๕/๓๒๘ @ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๑๔/๕๗๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๖๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๓

๒๑
ภพ ๓ ๑. กามภพ (ภพที่เป็นกามาวจร) ๒. รูปภพ (ภพที่เป็นรูปาวจร) ๓. อรูปภพ (ภพที่เป็นอรูปาวจร)
๒๒
เอสนา๑- (การแสวงหา) ๓ ๑. กาเมสนา (การแสวงหากาม) ๒. ภเวสนา (การแสวงหาภพ) ๓. พรหมจริเยสนา (การแสวงหาพรหมจรรย์)
๒๓
วิธา๒- (ความถือตัว) ๓ ๑. เสยโยหมัสมีติ วิธา (ถือตัวว่าเราเป็นผู้เลิศกว่าเขา) ๒. สทิโสหมัสมีติ วิธา (ถือตัวว่าเราเป็นผู้เสมอเขา) ๓. หีโนหมัสมีติ วิธา (ถือตัวว่าเราเป็นผู้ด้อยกว่าเขา)
๒๔
อัทธา(กาล) ๓ ๑. อตีตอัทธา (อดีตกาล) ๒. อนาคตอัทธา (อนาคตกาล) ๓. ปัจจุปปันนอัทธา (ปัจจุบันกาล) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๑๙/๕๗๕ @ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๒๐/๕๗๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๖๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๓

๒๕
อันตะ ๓ ๑. สักกายอันตะ (ส่วนสุดคือสักกายะ) ๒. สักกายสมุทยอันตะ (ส่วนสุดคือสักกายสมุทัย) ๓. สักกายนิโรธอันตะ (ส่วนสุดคือสักกายนิโรธ)
๒๖
เวทนา๑- ๓ ๑. สุขเวทนา (ความรู้สึกสุข) ๒. ทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์) ๓. อทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข)
๒๗
ทุกขตา๒- ๓ ๑. ทุกขทุกขตา (สภาวทุกข์คือทุกข์) ๒. สังขารทุกขตา (สภาวทุกข์คือสังขาร) ๓. วิปริณามทุกขตา (สภาวทุกข์คือความแปรผันไป)
๒๘
ราสี(กอง) ๓ ๑. มิจฉัตตนิยตราสี (กองแห่งธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอน) ๒. สัมมัตตนิยตราสี (กองแห่งธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน) ๓. อนิยตราสี (กองแห่งธรรมที่ให้ผลไม่แน่นอน) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๔๙/๒๗๐ @ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๓๒๗/๓๔๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๖๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๓

๒๙
ตมะ(ความมืด) ๓ ๑. เคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ปรารภอดีตกาล ๒. เคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ปรารภอนาคตกาล ๓. เคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ปรารภปัจจุบันกาล
๓๐
อรักเขยยะ(ข้อที่พระตถาคตไม่ต้องรักษา) ๓ ๑. พระตถาคตทรงมีกายสมาจาร (ความประพฤติทางกาย) บริสุทธิ์ ไม่ทรง มีกายทุจริตที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า ‘คนอื่นๆ อย่าได้ รู้กายทุจริตของเรานี้’ ๒. พระตถาคตทรงมีวจีสมาจาร (ความประพฤติทางวาจา) บริสุทธิ์ ไม่ทรง มีวจีทุจริตที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า ‘คนอื่นๆ อย่าได้รู้ วจีทุจริตของเรานี้’ ๓. พระตถาคตทรงมีมโนสมาจาร (ความประพฤติทางใจ) บริสุทธิ์ ไม่ทรงมี มโนทุจริตที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า ‘คนอื่นๆ อย่าได้รู้ มโนทุจริตของเรานี้’
๓๑
กิญจนะ๑- (เครื่องกังวล) ๓ ๑. ราคกิญจนะ (เครื่องกังวลคือราคะ) ๒. โทสกิญจนะ (เครื่องกังวลคือโทสะ) ๓. โมหกิญจนะ (เครื่องกังวลคือโมหะ) @เชิงอรรถ : @ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๒๔/๕๗๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๖๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๓

๓๒
อัคคิ๑- (ไฟ) ๓ ๑. ราคัคคิ (ไฟคือราคะ) ๒. โทสัคคิ (ไฟคือโทสะ) ๓. โมหัคคิ (ไฟคือโมหะ)
๓๓
อัคคิ๒- ๓ อีกนัยหนึ่ง ๑. อาหุเนยยัคคิ (ไฟคืออาหุไนยบุคคล) ๒. คหปตัคคิ (ไฟคือคหบดี) ๓. ทักขิเณยยัคคิ (ไฟคือทักขิไณยบุคคล)
๓๔
รูปสังคหะ ๓ ๑. สนิทัสสนสัปปฏิฆรูป (รูปที่เห็นได้และสัมผัสได้) ๒. อนิทัสสนสัปปฏิฆรูป (รูปที่เห็นไม่ได้ แต่สัมผัสได้) ๓. อนิทัสสนอัปปฏิฆรูป (รูปที่เห็นไม่ได้และสัมผัสไม่ได้)
๓๕
สังขาร๓- ๓ ๑. ปุญญาภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี) ๒. อปุญญาภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว) ๓. อาเนญชาภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคงไม่หวั่นไหว) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๔๗/๗๒ @ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๔๗/๗๓ @ สังขาร ในที่นี้หมายถึงสภาพที่ปรุงแต่งกิจ(หน้าที่)อันเป็นของตน การให้ผลแก่ตน @(ที.ปา.อ. ๓๐๕/๑๙๒, ที.ปา.ฏีกา ๓๐๕/๒๕๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๖๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๓

๓๖
บุคคล ๓ ๑. เสขบุคคล (บุคคลผู้ยังต้องศึกษา) ๒. อเสขบุคคล (บุคคลผู้ไม่ต้องศึกษา) ๓. เนวเสขานาเสขบุคคล (บุคคลผู้ยังต้องศึกษาก็มิใช่ ผู้ไม่ต้องศึกษาก็มิใช่)
๓๗
เถระ ๓ ๑. ชาติเถระ (พระเถระโดยชาติ) ๒. ธัมมเถระ (พระเถระโดยธรรม) ๓. สมมติเถระ (พระเถระโดยสมมติ)
๓๘
บุญกิริยาวัตถุ๑- ๓ ๑. ทานมัยบุญกิริยาวัตถุ (บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทาน) ๒. สีลมัยบุญกิริยาวัตถุ (บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีล) ๓. ภาวนามัยบุญกิริยาวัตถุ (บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนา)
๓๙
โจทนาวัตถุ(เหตุที่ใช้โจท) ๓ ๑. ทิฏเฐนะ (โจทด้วยได้เห็น) ๒. สุเตนะ (โจทด้วยได้ยินได้ฟัง) ๓. ปริสังกายะ (โจทด้วยความระแวงสงสัย) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๓๖/๒๙๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๖๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๓

๔๐
กามุปปัตติ(การเกิดในกามภพ) ๓ ๑. สัตว์ที่มีกามปรากฏเฉพาะหน้ามีอยู่ สัตว์เหล่านั้นเป็นไปตามอำนาจของ กามทั้งหลายที่ปรากฏเฉพาะหน้าแล้ว เช่น มนุษย์ เทพบางพวกและ วินิปาติกะบางพวก๑- นี้เป็นกามุปปัตติที่ ๑ ๒. สัตว์ที่เนรมิตกามคุณได้มีอยู่ สัตว์เหล่านั้นเนรมิตแล้ว เป็นไปตามอำนาจ ของกามทั้งหลาย เช่น พวกเทพชั้นนิมมานรดี นี้เป็นกามุปปัตติที่ ๒ ๓. สัตว์ที่ผู้อื่นเนรมิตกามคุณให้มีอยู่ สัตว์เหล่านั้นเป็นไปตามอำนาจของ กามคุณที่ผู้อื่นเนรมิตให้แล้ว เช่น พวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี นี้เป็น กามุปปัตติที่ ๓
๔๑
การเข้าถึงความสุข ๓ ๑. สัตว์พวกที่ทำความสุขให้เกิดขึ้นๆ แล้วอยู่เป็นสุขมีอยู่ เช่น พวกเทพ ชั้นพรหมกายิกา นี้เป็นการเข้าถึงความสุขที่ ๑ ๒. สัตว์พวกที่เอิบอิ่ม อิ่มเอม บริบูรณ์ เปี่ยมล้นด้วยความสุขมีอยู่ สัตว์ เหล่านั้นบางครั้งบางคราวก็เปล่งอุทานว่า ‘สุขหนอๆ’ เช่น พวกเทพ ชั้นอาภัสสระ นี้เป็นการเข้าถึงความสุขที่ ๒ ๓. สัตว์พวกที่เอิบอิ่ม อิ่มเอม บริบูรณ์ เปี่ยมล้นด้วยความสุขมีอยู่ สัตว์ เหล่านั้นยินดีเสวยความสุขทางจิตอันประณีตเท่านั้น เช่น พวกเทพ ชั้นสุภกิณหะ นี้เป็นการเข้าถึงความสุขที่ ๓ @เชิงอรรถ : @ วินิปาติกะบางจำพวก หมายถึงสัตว์จำพวกปลาและเต่า เป็นต้นที่มีที่อยู่ประจำของตน ยกเว้นสัตว์นรก @(ที.ปา.อ. ๓๐๕/๑๙๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๗๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๓

๔๒
ปัญญา ๓ ๑. เสขปัญญา (ปัญญาของบุคคลผู้ยังต้องศึกษา) ๒. อเสขปัญญา (ปัญญาของบุคคลผู้ไม่ต้องศึกษา) ๓. เนวเสขานาเสขปัญญา (ปัญญาของบุคคลผู้ยังต้องศึกษาก็มิใช่ ผู้ไม่ต้องศึกษาก็มิใช่)
๔๓
ปัญญา๑- ๓ อีกนัยหนึ่ง ๑. จินตามยปัญญา (ปัญญาที่เกิดจากการคิด) ๒. สุตมยปัญญา (ปัญญาที่เกิดจากการฟัง) ๓. ภาวนามยปัญญา (ปัญญาที่เกิดจากการอบรม)
๔๔
อาวุธ๒- ๓ ๑. สุตาวุธ (อาวุธคือสุตะ) ๒. ปวิเวกาวุธ (อาวุธคือปวิเวก) ๓. ปัญญาวุธ (อาวุธคือปัญญา)
๔๕
อินทรีย์๓- ๓ ๑. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ (อินทรีย์ของผู้ปฏิบัติด้วยมุ่งว่าเราจักรู้สัจธรรม ที่ยังมิได้รู้) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๗๖๘/๕๐๓-๕๐๔ @ อาวุธ แปลว่าเครื่องมือที่ใช้ป้องกันหรือต่อสู้ ในที่นี้หมายถึงอาวุธในทางธรรม ๓ ประการ คือ (๑) สุตะ @หมายถึงพระพุทธพจน์ (๒) ปวิเวกะ หมายถึงวิเวก(ความสงัด) ๓ ประการ คือ กายวิเวก จิตตวิเวก และ @อุปธิวิเวก (๓) ปัญญา หมายถึงปัญญาทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ @ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๔๙๓/๓๐๓, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๒๒๐/๒๐๑-๒๐๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๗๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๓

๒. อัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญาที่รู้ทั่วถึงได้แก่ โสดาปัตติ- ผลญาณ) ๓. อัญญาตาวินทรีย์ (อินทรีย์ของท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว)
๔๖
จักขุ๑- ๓ ๑. มังสจักขุ (ตาเนื้อ) ๒. ทิพพจักขุ (ตาทิพย์) ๓. ปัญญาจักขุ (ตาคือปัญญา)
๔๗
สิกขา๒- ๓ ๑. อธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง) ๒. อธิจิตตสิกขา (สิกขาคือจิตอันยิ่ง) ๓. อธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง)
๔๘
ภาวนา๓- ๓ ๑. กายภาวนา (การอบรมกาย) ๒. จิตตภาวนา (การอบรมจิต) ๓. ปัญญาภาวนา (การอบรมปัญญา) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๑/๕๕ @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๘๒/๓๐๙ @ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๗๙/๑๔๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๗๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๓

๔๙
อนุตตริยะ ๓ ๑. ทัสสนานุตตริยะ (การเห็นอันยอดเยี่ยม) ๒. ปฏิปทานุตตริยะ (การปฏิบัติอันยอดเยี่ยม) ๓. วิมุตตานุตตริยะ (การหลุดพ้นอันยอดเยี่ยม)
๕๐
สมาธิ๑- ๓ ๑. สวิตักกสวิจารสมาธิ (สมาธิที่มีทั้งวิตกและวิจาร) ๒. อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร) ๓. อวิตักกอวิจารสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกและไม่มีวิจาร)
๕๑
สมาธิ๒- ๓ อีกนัยหนึ่ง ๑. สุญญตสมาธิ (สมาธิที่พิจารณาเห็นความว่าง) ๒. อนิมิตตสมาธิ (สมาธิที่พิจารณาธรรมอันไม่มีนิมิต) ๓. อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิที่พิจารณาธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา)
๕๒
โสเจยยะ๓- (ความสะอาด) ๓ ๑. กายโสเจยยะ (ความสะอาดทางกาย) ๒. วจีโสเจยยะ (ความสะอาดทางวาจา) ๓. มโนโสเจยยะ (ความสะอาดทางใจ) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๘๔/๔๐๙ @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๘๔/๔๐๙ @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๒๑/๓๖๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๗๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๓

๕๓
โมเนยยะ๑- (ธรรมที่ทำให้เป็นมุนี) ๓ ๑. กายโมเนยยะ (ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางกาย) ๒. วจีโมเนยยะ (ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางวาจา) ๓. มโนโมเนยยะ (ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางใจ)
๕๔
โกสัลละ๒- (ความเป็นผู้ฉลาด) ๓ ๑. อายโกสัลละ (ความเป็นผู้ฉลาดในความเจริญ) ๒. อปายโกสัลละ (ความเป็นผู้ฉลาดในความเสื่อม) ๓. อุปายโกสัลละ๓- (ความเป็นผู้ฉลาดในอุบาย)
๕๕
มทะ(ความมัวเมา) ๓ ๑. อาโรคยมทะ (ความมัวเมาในความไม่มีโรค) ๒. โยพพนมทะ (ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว) ๓. ชีวิตมทะ (ความมัวเมาในชีวิต)
๕๖
อธิปไตย๔- ๓ ๑. อัตตาธิปไตย (ความมีตนเป็นใหญ่) ๒. โลกาธิปไตย (ความมีโลกเป็นใหญ่) ๓. ธัมมาธิปไตย (ความมีธรรมเป็นใหญ่) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๒๓/๓๖๙ @ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๗๗๑/๕๐๕ @ อุปายโกสัลละ หมายถึงปัญญาที่รู้จักวิธีทำการงานทั้งฝ่ายเสื่อมและฝ่ายเจริญ (ที.ปา.ฏีกา ๓๐๕/๒๗๐) @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๔๐/๒๐๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๗๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๓

๕๗
กถาวัตถุ ๓ ๑. กล่าวถ้อยคำว่า กาลที่ล่วงไปแล้ว ได้มีแล้วอย่างนี้ ปรารภกาลส่วนอดีต ๒. กล่าวถ้อยคำว่า กาลที่ยังมาไม่ถึง จักมีอย่างนี้ ปรารภกาลส่วนอนาคต ๓. กล่าวถ้อยคำว่า กาลที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าบัดนี้เป็นอยู่อย่างนี้ ปรารภกาล ส่วนปัจจุบันนี้
๕๘
วิชชา๑- ๓ ๑. วิชชาคือปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ความหยั่งรู้ที่ทำให้ระลึกชาติก่อนได้) ๒. วิชชาคือจุตูปปาตญาณ (ความหยั่งรู้การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย) ๓. วิชชาคืออาสวักขยญาณ (ความหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย)
๕๙
วิหารธรรม(ธรรมเป็นเครื่องอยู่) ๓ ๑. ทิพพวิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของเทพ) ๒. พรหมวิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม) ๓. อริยวิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ)
๖๐
ปาฏิหาริย์๒- ๓ ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์) ๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือการทายใจ) ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คืออนุศาสนี) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๖๐/๒๓๐-๒๓๑ @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๖๑/๒๓๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๗๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๔

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ ๓ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
สังคีติหมวด ๓ จบ
สังคีติหมวด ๔
[๓๐๖] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๔ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว มีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อ ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๔ ประการ คืออะไร คือ
สติปัฏฐาน๑- (ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ) ๔ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ... ๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ... ๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๓๗๒/๓๐๑, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๗๔/๓๙๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๗๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๔

สัมมัปปธาน๑- (ความเพียรชอบ) ๔ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อละบาป อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อทำ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อความ ดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว
อิทธิบาท๒- (คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ) ๔ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่เกิดจาก ฉันทะและความเพียรสร้างสรรค์) ๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่เกิดจาก วิริยะและความเพียรสร้างสรรค์) ๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่เกิดจาก จิตตะและความเพียรสร้างสรรค์) ๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่เกิด จากวิมังสาและความเพียรสร้างสรรค์) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๗๕/๓๙๐ @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๗๖/๓๙๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๗๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๔

ฌาน๑- ๔ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิอยู่ ๓. เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย นามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข’ ๔. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
[๓๐๗] สมาธิภาวนา๒- ๔ ๑. สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็น สุขในปัจจุบัน ๒. สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณ- ทัสสนะ๓- ๓. สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติ- สัมปชัญญะ ๔. สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้น อาสวะ สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขใน ปัจจุบัน เป็นอย่างไร @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.สี. (แปล) ๙/๒๒๖-๒๓๒/๗๕-๗๗ @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๔๑/๖๘-๖๙ @ ญาณทัสสนะ ในที่นี้หมายถึงทิพพจักขุญาณ (ที.ปา.อ. ๓๐๗/๒๐๓, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๑/๓๔๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๗๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๔

คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ ปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่ สมาธิภาวนานี้ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่ เป็นสุขในปัจจุบัน สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้มนสิการถึงอาโลกสัญญา (ความกำหนดหมายใน แสงสว่าง) อธิษฐานทิวาสัญญา (ความกำหนดว่ากลางวัน) ว่า ‘กลางคืนเหมือน กลางวัน กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่าง๑- อยู่’ สมาธิภาวนานี้ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้แจ้งเวทนาที่เกิดขึ้น รู้แจ้งเวทนาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้ง เวทนาที่ดับไป รู้แจ้งสัญญาที่เกิดขึ้น รู้แจ้งสัญญาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งสัญญาที่ดับไป ... รู้แจ้งวิตกที่เกิดขึ้น รู้แจ้งวิตกที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งวิตกที่ดับไป สมาธิภาวนานี้ที่บุคคล เจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีปกติเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปใน อุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า ‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับ แห่งรูปเป็นอย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ ... สัญญาเป็นอย่างนี้ ... สังขารเป็นอย่างนี้ ... วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งวิญญาณ เป็นอย่างนี้’ สมาธิภาวนานี้ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ @เชิงอรรถ : @ อบรมจิตให้สว่าง ในที่นี้หมายถึงการเข้าสมาบัติโดยมีฌานเป็นฐาน (ที.ปา.อ. ๓๐๗/๒๐๓, @องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๑/๓๔๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๗๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๔

[๓๐๘] อัปปมัญญา๑- ๔ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. มีเมตตาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน๒- ทิศเบื้องล่าง๓- ทิศเฉียง๔- แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ๕- ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ๒. มีกรุณาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยมุทิตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ๓. มีมุทิตาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยกรุณาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ๔. มีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๒๕/๑๙๐-๑๙๓ @ ทิศเบื้องบน หมายถึงเทวโลก (วิสุทฺธิ.มหาฏีกา ๑/๒๕๔/๔๓๕) @ ทิศเบื้องล่าง หมายถึงนรกและนาค (วิสุทฺธิ.มหาฏีกา ๑/๒๕๔/๔๓๕) @ ทิศเฉียง หมายถึงทิศย่อยของทิศใหญ่หรือทิศรอง (วิสุทฺธิ.มหาฏีกา ๑/๒๕๔/๔๓๕) @ มหัคคตะ หมายถึงอารมณ์ที่ถึงความเป็นใหญ่ชั้นรูปาวจร และชั้นอรูปาวจร เพราะมีผลที่สามารถข่ม @กิเลสได้ และหมายถึงฉันทะ วิริยะ จิตตะ และปัญญาอันยิ่งใหญ่ (อภิ.สงฺ.อ. ๑๒/๙๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๘๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๔

อรูป๑- ๔ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. บรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดย ประการทั้งปวง ๒. ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตน- ฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ ๓. ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตน- ฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ๔. ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานา- สัญญายตนฌานอยู่
อปัสเสนธรรม๒- (ธรรมเป็นดุจพนักพิง) ๔ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. พิจารณาแล้วเสพอย่างหนึ่ง ๒. พิจารณาแล้วอดกลั้นอย่างหนึ่ง ๓. พิจารณาแล้วเว้นอย่างหนึ่ง ๔. พิจารณาแล้วบรรเทาอย่างหนึ่ง @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๒๙/๗๕ @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๐/๔๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๘๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๔

[๓๐๙] อริยวงศ์๑- ๔ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. สันโดษด้วยจีวรตามแต่จะได้ กล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวร ตามแต่จะได้ ไม่มีการแสวงหาอันไม่สมควรเพราะจีวรเป็นเหตุ ไม่ได้ จีวรก็ไม่กระวนกระวาย ครั้นได้แล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หมกมุ่น ไม่ลุ่มหลง มองเห็นโทษ๒- มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ใช้สอยอยู่ และไม่ยก ตนข่มผู้อื่น เพราะความสันโดษด้วยจีวรตามแต่จะได้นั้น ภิกษุใด ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคงในความสันโดษด้วย จีวรตามแต่จะได้นั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ ที่รู้กันว่า ล้ำเลิศ เป็นของเก่า ๒. สันโดษด้วยบิณฑบาตตามแต่จะได้ กล่าวสรรเสริญความสันโดษ ด้วยบิณฑบาตตามแต่จะได้ ไม่มีการแสวงหาอันไม่สมควรเพราะ บิณฑบาตเป็นเหตุ ไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่กระวนกระวาย ครั้นได้แล้วก็ ไม่ติดใจ ไม่หมกมุ่น ไม่ลุ่มหลง มองเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่อง สลัดออก ฉันอยู่ และไม่ยกตนข่มผู้อื่น เพราะความสันโดษด้วย บิณฑบาตตามแต่จะได้นั้น ภิกษุใดขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคงในความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามแต่จะได้นั้น ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ เป็นของเก่า @เชิงอรรถ : @ อริยวงศ์ แปลว่าวงศ์ของพระอริยะ แบบแผนของพระอริยะ และประเพณีของพระอริยะ หมายถึง @วงศ์ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกของพระพุทธเจ้า (ที.ปา.อ. ๓๐๙/๒๐๙, @องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๘/๓๑๑) ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๘/๔๓-๔๔ @ มองเห็นโทษ ในที่นี้หมายถึงมองเห็นการต้องอาบัติเพราะการแสวงหาไม่สมควร และการบริโภคลาภ @ที่ติดใจ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๘/๓๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๘๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๔

๓. สันโดษด้วยเสนาสนะตามแต่จะได้ กล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วย เสนาสนะตามแต่จะได้นั้น ไม่มีการแสวงหาอันไม่สมควรเพราะเสนาสนะ เป็นเหตุ ไม่ได้เสนาสนะก็ไม่กระวนกระวาย ครั้นได้แล้วก็ไม่ติดใจ ไม่ หมกมุ่น ไม่ลุ่มหลง มองเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ใช้สอยอยู่ และไม่ยกตนข่มผู้อื่น เพราะความสันโดษด้วยเสนาสนะตามแต่จะได้นั้น ภิกษุใดขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคงในความสันโดษ ด้วยเสนาสนะตามแต่จะได้นั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ ที่รู้ กันว่าล้ำเลิศ เป็นของเก่า ๔. มีปหานะ (การละ) เป็นที่ยินดี ยินดีในปหานะ มีภาวนาเป็นที่ยินดี ยินดีในภาวนาและไม่ยกตนข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้มีปหานะเป็นที่ยินดี ยินดีในปหานะ เพราะความเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่ยินดี ยินดีในภาวนานั้น ภิกษุใดขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคงในปหานะและ ภาวนานั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ เป็นของเก่า
๑๐
[๓๑๐] ปธาน๑- ๔ ๑. สังวรปธาน (เพียรระวัง) ๒. ปหานปธาน (เพียรละ) ๓. ภาวนาปธาน (เพียรเจริญ) ๔. อนุรักขนาปธาน (เพียรรักษา) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๔/๒๔-๒๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๘๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๔

สังวรปธาน เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ๑- ไม่แยกถือ๒- ย่อม ปฏิบัติเพื่อความสำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาป อกุศลธรรม คืออภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยากได้ของของเขา) และโทมนัส (ความทุกข์ ใจ) ครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อความสำรวมมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อ ไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ นี้เรียกว่า สังวรปธาน ปหานปธาน เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ไม่ยินดีกามวิตกที่เกิดขึ้น ละ บรรเทา ทำให้หมด สิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี ไม่ยินดีพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้น ฯลฯ ไม่ยินดีวิหิงสาวิตกที่ เกิดขึ้น ฯลฯ ไม่ยินดีบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นอีก ละ บรรเทา ทำให้ หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี นี้เรียกว่า ปหานปธาน ภาวนาปธาน เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เจริญสติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือความระลึกได้) ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ๓- น้อมไปในโวสสัคคะ เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเฟ้นธรรม) ... เจริญ @เชิงอรรถ : @ รวบถือ (นิมิตฺตคฺคาหี) คือมองภาพรวม โดยเห็นเป็นหญิงหรือเป็นชาย เห็นว่ารูปสวย เสียงไพเราะ @กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสที่อ่อนนุ่ม เป็นอารมณ์ ที่น่าปรารถนาด้วยอำนาจฉันทราคะ @(อภิ.สงฺ.อ. ๑๓๕๒/๔๕๖-๔๕๗) @ แยกถือ (อนุพฺยญฺชนคฺคาหี) คือ มองแยกแยะเป็นส่วนๆ ไป ด้วยอำนาจกิเลส เช่นเห็นมือ เท้า ว่าสวย @หรือไม่สวย เห็นอาการยิ้มแย้ม หัวเราะ การพูด การเหลียวซ้าย แลขวา ว่าน่ารัก หรือไม่น่ารัก ถ้าเห็นว่า @สวยน่ารัก ก็เป็นอิฏฐารมณ์ ถ้าเห็นว่าไม่สวยไม่น่ารัก ก็เป็นอนิฏฐารมณ์ (อภิ.สงฺ.อ. ๑๓๕๒/๔๕๖-๔๕๗) @ วิเวก (ความสงัด) วิราคะ (ความคลายกำหนัด) นิโรธ (ความดับ) ทั้ง ๓ คำนี้ เป็นชื่อเรียกนิพพาน @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๔/๒๙๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๘๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๔

วิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร) ... เจริญปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ) ... เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็น องค์แห่งการตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ) ... เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็น องค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น) ... เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่ง การตรัสรู้คือความวางใจเป็นกลาง) ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป ในโวสสัคคะ นี้เรียกว่า ภาวนาปธาน อนุรักขนาปธาน เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ตามรักษาสมาธินิมิต ที่ชัดดีซึ่งเกิดขึ้นแล้ว คือ อัฏฐิกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูกหรือกระดูกท่อน) ปุฬุวกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่มีหนอนคลาคล่ำเต็มไปหมด) วินีลกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่มีสีเขียวคล้ำคละด้วยสีต่างๆ) วิปุพพกสัญญา (กำหนดหมาย ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้มอยู่ตามที่ที่แตกปริออก) วิจฉิททกสัญญา (กำหนดหมาย ซากศพที่ขาดจากกันเป็น ๒ ท่อน) อุทธุมาตกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่เน่า พองขึ้นอืด) นี้เรียกว่า อนุรักขนาปธาน
๑๑
ญาณ (ความรู้) ๔ ๑. ธัมมญาณ (ความรู้ในธรรม) ๒. อันวยญาณ (ความรู้ในการคล้อยตาม) ๓. ปริยญาณ (ความรู้ในการกำหนดจิตของผู้อื่น) ๔. สัมมติญาณ (ความรู้ในสมมติ)
๑๒
ญาณ ๔ อีกนัยหนึ่ง ๑. ทุกขญาณ (ความรู้ในทุกข์) ๒. ทุกขสมุทยญาณ (ความรู้ในเหตุเกิดแห่งทุกข์) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๘๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๔

๓. ทุกขนิโรธญาณ (ความรู้ในความดับแห่งทุกข์) ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ (ความรู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์)
๑๓
[๓๑๑] องค์แห่งการบรรลุโสดาบัน๑- ๔ ๑. สัปปุริสสังเสวะ (การคบหาสัตบุรุษ) ๒. สัทธัมมัสสวนะ (การฟังพระสัทธรรม) ๓. โยนิโสมนสิการ (การมนสิการโดยแยบคาย) ๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม)
๑๔
องค์แห่งพระโสดาบัน๒- ๔ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้ เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วย พระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้ง โลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นพระศาสดาของ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ๒. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระ ธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วย ตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อัน วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๔๘/๓๖๘ @ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๕๙/๑๐๓, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๕๒/๘๖-๘๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๘๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๔

๓. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ พระอริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่การ ต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม ของโลก’ ๔. เป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ
๑๕
สามัญญผล (ผลแห่งความเป็นสมณะ) ๔ ๑. โสดาปัตติผล ๒. สกทาคามิผล ๓. อนาคามิผล ๔. อรหัตตผล
๑๖
ธาตุ๑- ๔ ๑. ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) ๒. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) ๓. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ๔. วาโยธาตุ (ธาตุลม)
๑๗
อาหาร ๔ ๑. กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว) ทั้งหยาบและละเอียด ๒. ผัสสาหาร (อาหารคือผัสสะ) ๓. มโนสัญเจตนาหาร (อาหารคือมโนสัญเจตนา) (ตกหล่น ๔. วิญญาณาหาร (อาหารคือวิญญาณ) - ธัมมโชติ) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๗๗/๒๔๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๘๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๔

๑๘
วิญญาณฐิติ ๔ ๑. วิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์) ที่เข้าถึงรูป เมื่อดำรงอยู่ ก็มีรูปเป็น อารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง เข้าไปเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์ได้ ๒. วิญญาณที่เข้าถึงเวทนา ... ๓. วิญญาณที่เข้าถึงสัญญา ... ๔. วิญญาณที่เข้าถึงสังขาร เมื่อดำรงอยู่ ก็มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขาร เป็นที่ตั้ง เข้าไปเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้
๑๙
การถึงอคติ๑- (ความลำเอียง) ๔ ๑. ฉันทาคติ (ลำเอียงเพราะชอบ) ๒. โทสาคติ (ลำเอียงเพราะชัง) ๓. โมหาคติ (ลำเอียงเพราะหลง) ๔. ภยาคติ (ลำเอียงเพราะกลัว)
๒๐
เหตุเกิดขึ้นแห่งตัณหา๒- ๔ ๑. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุย่อมเกิดเพราะจีวรเป็นเหตุ ๒. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุย่อมเกิดเพราะบิณฑบาตเป็นเหตุ ๓. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุย่อมเกิดเพราะเสนาสนะเป็นเหตุ ๔. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุย่อมเกิดเพราะปัจจัยที่ดีและดีกว่าเป็นเหตุ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๗/๒๙ @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๙/๑๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๘๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๔

๒๑
ปฏิปทา๑- ๔ ๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก และรู้ได้ช้า) ๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว) ๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า) ๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติสะดวก และรู้ได้เร็ว)
๒๒
ปฏิปทา๒- ๔ อีกนัยหนึ่ง ๑. อักขมา ปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ไม่อดทน) ๒. ขมา ปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่อดทน) ๓. ทมา ปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ข่มใจ) ๔. สมา ปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ระงับ)
๒๓
ธรรมบท๓- ๔ ๑. ธรรมบทคืออนภิชฌา (ความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของของเขา) ๒. ธรรมบทคืออพยาบาท (ความไม่คิดร้าย) ๓. ธรรมบทคือสัมมาสติ (ความระลึกชอบ) ๔. ธรรมบทคือสัมมาสมาธิ (ความตั้งจิตมั่นชอบ) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๖๑/๒๒๖ @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๖๔/๒๓๐ @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๙/๔๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๘๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๔

๒๔
การสมาทานธรรม๑- (การถือปฏิบัติธรรม) ๔ ๑. การสมาทานธรรมที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากในอนาคต ๒. การสมาทานธรรมที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากในอนาคต ๓. การสมาทานธรรมที่มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากในอนาคต ๔. การสมาทานธรรมที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากในอนาคต
๒๕
ธรรมขันธ์๒- ๔ ๑. สีลขันธ์ (กองศีล) ๒. สมาธิขันธ์ (กองสมาธิ) ๓. ปัญญาขันธ์ (กองปัญญา) ๔. วิมุตติขันธ์ (กองวิมุตติ)
๒๖
พละ ๔ ๑. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ) ๒. สติพละ (กำลังคือสติ) ๓. สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ) ๔. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)
๒๗
อธิษฐาน(ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ) ๔ ๑. ปัญญาธิษฐาน (ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจคือปัญญา) ๒. สัจจาธิษฐาน (ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจคือสัจจะ) ๓. จาคาธิษฐาน (ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจคือจาคะ) ๔. อุปสมาธิษฐาน (ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจคืออุปสมะ) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๔๗๕/๕๑๖-๕๑๗ @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๕๘/๒๒๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๙๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๔

๒๘
[๓๑๒] ปัญหาพยากรณ์๑- ๔ ๑. เอกังสพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ควรตอบโดยนัยเดียว) ๒. ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ควรตอบโดยย้อนถาม) ๓. วิภัชชพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ควรแยกตอบ) ๔. ฐปนียปัญหา (ปัญหาที่ควรงดตอบ)
๒๙
กรรม๒- ๔ ๑. กรรมดำ มีวิบากดำ ๒. กรรมขาว มีวิบากขาว ๓. กรรมทั้งดำและขาว มีวิบากทั้งดำและขาว ๔. กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อ ความสิ้นกรรม
๓๐
สัจฉิกรณียธรรม๓- (ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง) ๔ ๑. ปุพเพนิวาส ควรทำให้แจ้งด้วยสติ ๒. การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย ควรทำให้แจ้งด้วยจักษุ ๓. วิโมกข์ ๘ ควรทำให้แจ้งด้วยกาย ๔. ความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญา @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๔๒/๗๐ @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๓๒/๓๔๕ @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๘๙/๒๗๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๙๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๔

๓๑
โอฆะ๑- (ห้วงน้ำ) ๔ ๑. กาโมฆะ (โอฆะคือกาม) ๒. ภโวฆะ (โอฆะคือภพ) ๓. ทิฏโฐฆะ (โอฆะคือทิฏฐิ) ๔. อวิชโชฆะ (โอฆะคืออวิชชา)
๓๒
โยคะ๒- (สภาวะอันประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ๔ ๑. กามโยคะ (โยคะคือกาม) ๒. ภวโยคะ (โยคะคือภพ) ๓. ทิฏฐิโยคะ (โยคะคือทิฏฐิ) ๔. อวิชชาโยคะ (โยคะคืออวิชชา)
๓๓
วิสังโยคะ๓- (ความพราก) ๔ ๑. กามโยควิสังโยคะ (ความพรากจากกามโยคะ) ๒. ภวโยควิสังโยคะ (ความพรากจากภวโยคะ) ๓. ทิฏฐิโยควิสังโยคะ (ความพรากจากทิฏฐิโยคะ) ๔. อวิชชาโยควิสังโยคะ (ความพรากจากอวิชชาโยคะ) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๓๘/๒๓๙ @ ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๓๗/๕๘๘ @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๐/๑๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๙๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๔

๓๔
คันถะ๑- (เครื่องร้อยรัด) ๔ ๑. อภิชฌากายคันถะ (กายคันถะคืออภิชฌา) ๒. พยาปาทกายคันถะ (กายคันถะคือพยาบาท) ๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ (กายคันถะคือสีลัพพตปรามาส) ๔. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ (กายคันถะคือความยึดถือว่าสิ่งนี้เท่านั้นจริง)
๓๕
อุปาทาน๒- (ความถือมั่น) ๔ ๑. กามุปาทาน (ความถือมั่นในกาม) ๒. ทิฏฐุปาทาน (ความถือมั่นในทิฏฐิ) ๓. สีลัพพตุปาทาน (ความถือมั่นในศีลพรต) ๔. อัตตวาทุปาทาน (ความถือมั่นในวาทะว่ามีอัตตา)
๓๖
โยนิ๓- (กำเนิด) ๔ ๑. อัณฑชโยนิ (กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในไข่) ๒. ชลาพุชโยนิ (กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในครรภ์) ๓. สังเสทชโยนิ (กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในเถ้าไคล) ๔. โอปปาติกโยนิ (กำเนิดของสัตว์ที่เกิดผุดขึ้น) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๗๕/๑๐๒-๑๐๓ @ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๓๘/๕๘๘ @ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๑๕๒/๑๕๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๙๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๔

๓๗
การก้าวลงสู่ครรภ์๑- ๔ ๑. สัตว์บางชนิดในโลกนี้ไม่รู้สึกตัวขณะก้าวลงสู่ครรภ์ของมารดา ไม่รู้สึกตัว ขณะอยู่ในครรภ์ของมารดา (และ) ไม่รู้สึกตัวขณะคลอดจากครรภ์ของ มารดา นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์ประการที่ ๑ ๒. สัตว์บางชนิดในโลกนี้รู้สึกตัวขณะก้าวลงสู่ครรภ์ของมารดา แต่ไม่รู้สึก ตัวขณะอยู่ในครรภ์ของมารดา ไม่รู้สึกตัวขณะคลอดจากครรภ์ของ มารดา นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์ประการที่ ๒ ๓. สัตว์บางชนิดในโลกนี้รู้สึกตัวขณะก้าวลงสู่ครรภ์ของมารดา รู้สึกตัวขณะ อยู่ในครรภ์ของมารดา แต่ไม่รู้สึกตัวขณะคลอดจากครรภ์ของมารดา นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์ประการที่ ๓ ๔. สัตว์บางชนิดในโลกนี้รู้สึกตัวขณะก้าวลงสู่ครรภ์ของมารดา รู้สึกตัวขณะ อยู่ในครรภ์ของมารดา (และ) รู้สึกตัวขณะคลอดจากครรภ์ของมารดา นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์ประการที่ ๔
๓๘
การได้อัตภาพ๒- ๔ ๑. การได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนดำเนินไป มิใช่สัญเจตนาของผู้อื่นดำเนินไป ๒. การได้อัตภาพที่สัญเจตนาของผู้อื่นดำเนินไป มิใช่สัญเจตนาของตนดำเนินไป ๓. การได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนและสัญเจตนาของผู้อื่นดำเนินไป ๔. การได้อัตภาพที่มิใช่สัญเจตนาของตนและมิใช่สัญเจตนาของผู้อื่นดำเนินไป @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๑๔๗ หน้า ๑๐๗ ในเล่มนี้ @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๗๑/๒๔๐-๒๔๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๙๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๔

๓๙
[๓๑๓] ทักขิณาวิสุทธิ๑- (ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา) ๔ ๑. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก (ผู้ให้) แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก (ผู้รับ) ๒. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก ๓. ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก ๔. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก
๔๐
สังคหวัตถุ๒- (ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว) ๔ ๑. ทาน (การให้) ๒. เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก) ๓. อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์) ๔. สมานัตตตา (การวางตนสม่ำเสมอ)
๔๑
อนริยโวหาร(วิธีการพูดของผู้มิใช่อริยะ) ๔ ๑. มุสาวาท (พูดเท็จ) ๒. ปิสุณาวาจา (พูดส่อเสียด) ๓. ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) ๔. สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๗๘/๑๒๓ @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๓๒/๕๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๙๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๔

๔๒
อริยโวหาร(วิธีการพูดของผู้เป็นอริยะ) ๔ ๑. มุสาวาทา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ) ๒. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดส่อเสียด) ๓. ผรุสาย วาจาย เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดคำหยาบ) ๔. สัมผัปปลาปา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ)
๔๓
อนริยโวหาร๑- ๔ อีกนัยหนึ่ง ๑. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าได้เห็น ๒. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าได้ฟัง ๓. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าได้ทราบ ๔. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าได้รู้
๔๔
อริยโวหาร๒- ๔ อีกนัยหนึ่ง ๑. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น ๒. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าไม่ได้ฟัง ๓. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ ๔. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๕๐/๓๖๘ @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๕๑/๓๖๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๙๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๔

๔๕
อนริยโวหาร๑- ๔ อีกนัยหนึ่ง ๑. การกล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น ๒. การกล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าไม่ได้ฟัง ๓. การกล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ ๔. การกล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้
๔๖
อริยโวหาร๒- ๔ อีกนัยหนึ่ง ๑. การกล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าได้เห็น ๒. การกล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าได้ฟัง ๓. การกล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าได้ทราบ ๔. การกล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าได้รู้
๔๗
[๓๑๔] บุคคล๓- ๔ ๑. เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน ๒. เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ๓. เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ๔. เป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้ เดือดร้อน เขาผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ เสวยสุขมีตนอันประเสริฐอยู่ในปัจจุบันเทียว @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๕๒/๓๖๙ @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๕๓/๓๗๐ @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๙๘/๓๐๓, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๗๔-๑๗๗/๒๐๖-๒๐๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๙๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๔

๔๘
บุคคล๑- ๔ อีกนัยหนึ่ง ๑. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น ๒. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง ๓. เป็นผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง และไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น ๔. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง และปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
๔๙
บุคคล๒- ๔ อีกนัยหนึ่ง ๑. ตโม ตมปรายโน (ผู้มืดมา และมืดไป) ๒. ตโม โชติปรายโน (ผู้มืดมา แต่สว่างไป) ๓. โชติ ตมปรายโน (ผู้สว่างมา แต่มืดไป) ๔. โชติ โชติปรายโน (ผู้สว่างมา และสว่างไป)
๕๐
บุคคล๓- ๔ อีกนัยหนึ่ง ๑. สมณอจละ (สมณะผู้ไม่หวั่นไหว) ๒. สมณปทุมะ (สมณะเหมือนดอกปทุม) ๓. สมณปุณฑริกะ (สมณะเหมือนดอกบุณฑริก) ๔. สมเณสุ สมณสุขุมาละ (สมณะผู้ละเอียดอ่อน ในหมู่สมณะ) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๙๖/๑๔๕ @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๘๕/๑๒๙, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๖๘/๒๐๑-๒๐๒ @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๘๗/๑๓๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๙๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๕

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ ๔ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น เพื่อให้พรหมจรรย์นี้ ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุข แก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย
สังคีติหมวด ๔ จบ
ภาณวารที่ ๑ จบ
สังคีติหมวด ๕
[๓๑๕] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๕ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว มีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อ ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๕ ประการ คืออะไร คือ
ขันธ์๑- ๕ ๑. รูปขันธ์ (กองรูป) ๒. เวทนาขันธ์ (กองเวทนา) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๑/๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๙๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๕

๓. สัญญาขันธ์ (กองสัญญา) ๔. สังขารขันธ์ (กองสังขาร) ๕. วิญญาณขันธ์ (กองวิญญาณ)
อุปาทานขันธ์ (ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น) ๕ ๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป) ๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา) ๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา) ๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร) ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
กามคุณ๑- ๕ ๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ... ๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ... ๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ... ๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๖๓/๕๗๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๐๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๕

คติ๑- (ภพที่สัตว์ไปเกิด) ๕ ๑. นิรยะ (นรก) ๒. ติรัจฉานโยนิ (กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน) ๓. เปตติวิสัย (แดนเปรต) ๔. มนุสสะ (มนุษย์) ๕. เทวะ (เทวดา)
มัจฉริยะ๒- (ความตระหนี่) ๕ ๑. อาวาสมัจฉริยะ (ความตระหนี่อาวาส) ๒. กุลมัจฉริยะ (ความตระหนี่ตระกูล) ๓. ลาภมัจฉริยะ (ความตระหนี่ลาภ) ๔. วัณณมัจฉริยะ (ความตระหนี่วรรณะ) ๕. ธัมมมัจฉริยะ (ความตระหนี่ธรรม)
นิวรณ์๓- (สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้บรรลุความดี) ๕ ๑. กามฉันทนิวรณ์ (นิวรณ์คือความพอใจในกาม) ๒. พยาบาทนิวรณ์ (นิวรณ์คือความคิดร้าย) ๓. ถีนมิทธนิวรณ์ (นิวรณ์คือความหดหู่และเซื่องซึม) ๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ (นิวรณ์คือความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) ๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ (นิวรณ์คือความลังเลสงสัย) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๓๙/๔๙๐ @ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๙๓/๕๖๑ @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๕๘/๒๒๓, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๑/๕๙๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๐๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๕

โอรัมภาคิยสังโยชน์๑- (ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์เบื้องต่ำ) ๕ ๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน) ๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต) ๔. กามฉันทะ (ความกำหนัดในกามคุณ) ๕. พยาบาท (ความคิดร้าย)
อุทธัมภาคิยสังโยชน์๒- (ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์เบื้องสูง) ๕ ๑. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน) ๒. อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน) ๓. มานะ (ความถือตัว) ๔. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) ๕. อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง)
สิกขาบท๓- ๕ ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์) ๒. อทินนาทานา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่ เจ้าของเขามิได้ให้) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๓/๒๑, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๐/๕๙๒ @ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๐/๕๙๒ @ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๗๐๓/๔๔๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๐๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๕

๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม) ๔. มุสาวาทา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ) ๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการเสพของมึนเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท)
๑๐
[๓๑๖] อภัพพฐาน๑- (ฐานะที่เป็นไปไม่ได้) ๕ ๑. เป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุขีณาสพจะจงใจปลงชีวิตสัตว์ ๒. เป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุขีณาสพจะถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นไม่ได้ให้โดยอาการขโมย ๓. เป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุขีณาสพจะเสพเมถุนธรรม ๔. เป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุขีณาสพจะพูดเท็จทั้งที่รู้ ๕. เป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุขีณาสพจะสั่งสม บริโภคกามเหมือนเมื่อเป็นคฤหัสถ์
๑๑
พยสนะ๒- (วิบัติ) ๕ ๑. ญาติพยสนะ (ความวิบัติแห่งญาติ) ๒. โภคพยสนะ (ความวิบัติแห่งโภคะ) ๓. โรคพยสนะ (ความวิบัติเพราะโรค) ๔. สีลพยสนะ (ความวิบัติแห่งศีล) ๕. ทิฏฐิพยสนะ (ความวิบัติแห่งทิฏฐิ) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๗/๔๔๖ @ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๓๐/๒๐๙-๒๑๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๐๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๕

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้ว จะไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความวิบัติแห่งญาติเป็นเหตุ เพราะความวิบัติแห่งโภคะ เป็นเหตุ หรือเพราะความวิบัติเพราะโรคเป็นเหตุ แต่สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความวิบัติแห่งศีลเป็นเหตุ หรือเพราะ ความวิบัติแห่งทิฏฐิเป็นเหตุ
๑๒
สัมปทา๑- (ความถึงพร้อม) ๕ ๑. ญาติสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งญาติ) ๒. โภคสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งโภคะ) ๓. อาโรคยสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยความไม่มีโรค) ๔. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งศีล) ๕. ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ) ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้ว จะไม่ไปเกิดในสุคติโลก สวรรค์ เพราะความถึงพร้อมแห่งญาติเป็นเหตุ เพราะความถึงพร้อมแห่งโภคะ เป็นเหตุ หรือเพราะความถึงพร้อมด้วยความไม่มีโรคเป็นเหตุ แต่สัตว์ทั้งหลาย หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นเหตุ หรือเพราะความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิเป็นเหตุ
๑๓
โทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล๒- ๕ ๑. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติในโลกนี้ ย่อมถึงความเสื่อมโภคทรัพย์เป็นอันมาก ซึ่งมีความประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นโทษประการที่ ๑ แห่งศีลวิบัติของ บุคคลผู้ทุศีล @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๓๐/๒๑๐ @ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๕/๒๘๕/๙๘-๙๙, ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๔๙/๙๓-๙๔, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๑๓/๓๕๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๐๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๕

๒. กิตติศัพท์อันชั่วของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมกระฉ่อนไป นี้เป็นโทษ ประการที่ ๒ แห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล ๓. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ จะเข้าไปยังบริษัทใดๆ จะเป็นขัตติยบริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม ย่อมไม่ แกล้วกล้า เก้อเขินเข้าไป นี้เป็นโทษประการที่ ๓ แห่งศีลวิบัติของบุคคล ผู้ทุศีล ๔. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมหลงลืมสติตาย นี้เป็นโทษประการที่ ๔ แห่ง ศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล ๕. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เป็นโทษประการที่ ๕ แห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล
๑๔
อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล๑- ๕ ๑. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลในโลกนี้ ย่อมมีโภคทรัพย์เป็นอันมาก ซึ่งมี ความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑ แห่งศีลสมบัติของ บุคคลผู้มีศีล ๒. กิตติศัพท์อันงามของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมขจรไป นี้เป็น อานิสงส์ประการที่ ๒ แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล ๓. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล จะเข้าไปยังบริษัทใดๆ จะเป็นขัตติย- บริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัท ก็ตาม ย่อมแกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไป นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓ แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล ๔. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมไม่หลงลืมสติตาย นี้เป็นอานิสงส์ ประการที่ ๔ แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล ๕. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติโลก สวรรค์ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๕ แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๕๐/๙๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๐๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๕

๑๕
ธรรมสำหรับผู้เป็นโจทก์๑- ๕ ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้มั่นในตนแล้ว จึงโจทผู้อื่น คือ ๑. เราจักกล่าวในกาลอันควร จักไม่กล่าวในกาลอันไม่ควร ๒. เราจักกล่าวถ้อยคำจริง จักไม่กล่าวถ้อยคำไม่จริง ๓. เราจักกล่าวถ้อยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวถ้อยคำหยาบ ๔. เราจักกล่าวถ้อยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวถ้อยคำอันไม่ ประกอบด้วยประโยชน์ ๕. เราจักมีเมตตาจิตกล่าว จักไม่เพ่งโทษกล่าว ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้มั่นในตน แล้วจึงโจทผู้อื่น
๑๖
[๓๑๗] องค์ของภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียร๒- ๕ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาเครื่องตรัสรู้ของพระตถาคตว่า ‘แม้เพราะ เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์ เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็น สารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นพระศาสดาของเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๖๗/๒๗๗ @ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๕๓/๙๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๐๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๕

๒. เป็นผู้มีอาพาธน้อย โรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหาร สม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่อนนัก ปานกลาง เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร ๓. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ทำตนให้เปิดเผยตามความเป็นจริงในพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย ๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความ เข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ๕. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นความเกิด และความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
๑๗
[๓๑๘] สุทธาวาส (ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์) ๕ ๑. อวิหา ๒. อตัปปา ๓. สุทัสสา ๔. สุทัสสี ๕. อกนิฏฐา
๑๘
พระอนาคามี๑- ๕ ๑. อันตราปรินิพพายี (ผู้ที่จะปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่ง) ๒. อุปหัจจปรินิพพายี (ผู้ที่จะปรินิพพานต่อเมื่ออายุพ้นกึ่งไปแล้ว) ๓. อสังขารปรินิพพายี (ผู้ที่จะปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรมาก) ๔. สสังขารปรินิพพายี (ผู้ที่จะปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรมาก) ๕. อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี (ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่ชั้นอกนิฏฐภพ) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๘๘/๓๑๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๐๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๕

๑๙
[๓๑๙] กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู๑- ๕ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา๒- จิตของ ภิกษุผู้เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดานั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำ ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร การที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความ เพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๑ ๒. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระธรรม ฯลฯ ๓. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์ ฯลฯ ๔. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขา (ข้อที่จะต้อง ศึกษา) ฯลฯ ๕. เป็นผู้โกรธ ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะ (ความคิดประทุษร้าย) กระทบ มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้โกรธไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะกระทบ มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำ ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร การที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความ เพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๕ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๔/๒๒-๒๓ @ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา ในที่นี้หมายถึงไม่เชื่อว่า พระสรีระของพระพุทธเจ้าประดับด้วยลักษณะมหา- @บุรุษ ๓๒ ประการ ไม่เชื่อว่าพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้าสามารถรู้อดีต อนาคต และปัจจุบันได้ @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๕/๘๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๐๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๕

๒๐
[๓๒๐] วินิพันธา๑- (กิเลสเครื่องผูกใจ) ๕ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความ เร่าร้อน ไม่ปราศจากความอยากในกามทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ยัง ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจาก ความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ ปราศจากความอยากในกามทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความ เพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร การที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อ กระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๑ ๒. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ... ในกาย ฯลฯ ๓. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ... ในรูป ฯลฯ ๔. ฉันอาหารตามความต้องการจนอิ่มเกินไป ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่ ฯลฯ ๕. ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง ว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เราจะเป็นเทพเจ้า หรือ เทพองค์ใดองค์หนึ่ง’ จิตของภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความ ปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือ พรหมจรรย์นี้ เราจะเป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง’ ย่อมไม่ น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร การที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ ประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลส เครื่องผูกใจประการที่ ๕ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๑๘๕-๑๘๙/๑๙๗-๒๐๓, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๐๖/๓๔๘-๓๕๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๐๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๕

๒๑
อินทรีย์๑- ๕ ๑. จักขุนทรีย์ (อินทรีย์คือตา) ๒. โสตินทรีย์ (อินทรีย์คือหู) ๓. ฆานินทรีย์ (อินทรีย์คือจมูก) ๔. ชิวหินทรีย์ (อินทรีย์คือลิ้น) ๕. กายินทรีย์ (อินทรีย์คือกาย)
๒๒
อินทรีย์๒- ๕ อีกนัยหนึ่ง ๑. สุขินทรีย์ (อินทรีย์คือความสุขกาย) ๒. ทุกขินทรีย์ (อินทรีย์คือความทุกข์กาย) ๓. โสมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์คือความสุขใจ) ๔. โทมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์คือความทุกข์ใจ) ๕. อุเปกขินทรีย์ (อินทรีย์คืออุเบกขา)
๒๓
อินทรีย์๓- ๕ อีกนัยหนึ่ง ๑. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา) ๒. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ) ๓. สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ) ๔. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ) ๕. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๑๐๑๒/๖๖๐ @ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๒๒๐/๑๙๙-๒๐๐ @ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๒๒๐/๒๐๐-๒๐๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๑๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๕

๒๔
[๓๒๑] ธาตุ๑- ที่สลัด๒- ๕ ๑. เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มนสิการกามทั้งหลาย๓- จิตของเธอ ย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในกามทั้งหลาย แต่ เมื่อเธอมนสิการเนกขัมมะ จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในเนกขัมมะ จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากกาม ทั้งหลาย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ๔- และความเร่าร้อนที่ก่อความ คับแค้น๕- ซึ่งเกิดขึ้นเพราะกามเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดกามทั้งหลาย ๒. เมื่อภิกษุมนสิการพยาบาท จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในพยาบาท แต่เมื่อเธอมนสิการอพยาบาท จิต ของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอพยาบาท จิตนั้นของเธอ ชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากพยาบาท เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะและความ เร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น ซึ่งเกิดขึ้นเพราะพยาบาทเป็นปัจจัย เธอ @เชิงอรรถ : @ ธาตุในที่นี้หมายถึงธัมมธาตุและมโนวิญญาณธาตุขั้นพิเศษ เป็นสภาวะที่ว่างจากอัตตา (อัตตสุญญสภาวะ) @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๐/๘๒) หรือสภาวะที่ปราศจากชีวะ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๐๐/๙๑) @ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๐๐/๓๔๐-๓๔๒ @ มนสิการกามทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงวิธีการที่ท่านผู้ออกจากอสุภฌาน (เพ่งความไม่งาม) แล้วส่งจิตคิด @ถึงกามคุณ เพื่อตรวจดูจิตว่า ‘บัดนี้จิตเราแน่วแน่ต่อเนกขัมมะหรือไม่ กามวิตกยังเกิดขึ้นอยู่หรือไม่’ เหมือน @คนจับงูพิษ เพื่อทดลองดูว่างูมีพิษหรือไม่ (ที.ปา.อ. ๓๒๑/๒๓๐, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๐๐/๙๑) @ อาสวะ ในที่นี้หมายถึงอาสวะ ๔ คือ กามาสวะ (อาสวะคือกาม) ภวาสวะ (อาสวะคือภพ) ทิฏฐาสวะ @(อาสวะคือทิฏฐิ) อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา) (สํ.สฬา.อ. ๓/๕๓-๖๒/๑๔, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๘/๑๔๐) @ ความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น ในที่นี้หมายถึงความเร่าร้อนเพราะกิเลสหรือความเร่าร้อนเพราะวิบาก @กรรมที่ก่อความคับแค้นให้ หรือให้เกิดทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจ อันเป็นผลมาจากอาสวะ @(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๘/๑๔๐, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๘/๑๕๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๑๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๕

ย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัด พยาบาท ๓. เมื่อภิกษุมนสิการวิหิงสา จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในวิหิงสา แต่เมื่อเธอมนสิการอวิหิงสา จิตของเธอ จึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอวิหิงสา จิตนั้นของเธอชื่อว่า เป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากวิหิงสา เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะและความเร่าร้อน ที่ก่อความคับแค้น ซึ่งเกิดขึ้นเพราะวิหิงสาเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่ เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดวิหิงสา ๔. เมื่อภิกษุมนสิการรูปทั้งหลาย จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในรูปทั้งหลาย แต่เมื่อเธอมนสิการอรูป จิตของ เธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอรูป จิตนั้นของเธอชื่อว่า เป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากรูปทั้งหลาย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะและความ เร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น ซึ่งเกิดขึ้นเพราะรูปเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่ เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดรูปทั้งหลาย ๕. เมื่อภิกษุมนสิการสักกายะ๑- จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในสักกายะ แต่เมื่อเธอมนสิการสักกายนิโรธ (ความดับแห่งสักกายะ) จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไป ในสักกายนิโรธ จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว @เชิงอรรถ : @ มนสิการสักกายะในที่นี้หมายถึงวิธีการที่พระอรหันต์สุกขวิปัสสกะ(ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วนๆ)ผู้เห็นนิพพาน @ด้วยอรหัตตมรรคและอรหัตตผล ออกจากผลสมาบัติแล้ว ส่งจิตไปยังอุปาทานขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา @สังขาร วิญญาณ เพื่อจะทดสอบดูว่า ‘ความยึดมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นอัตตายังมี @อยู่หรือไม่’ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๐/๘๓) @อนึ่ง ๔ วิธีแรกดังกล่าวมาแล้ว เป็นวิธีของท่านผู้เป็นสมถยานิกะ (ผู้บำเพ็ญสมถกัมมัฏฐาน) แต่วิธี @ที่ ๕ นี้เป็นวิธีของท่านผู้เป็นวิปัสสนายานิกะ (ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วน) (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๐๐/๙๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๑๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๕

ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากสักกายะ เธอหลุดพ้น แล้วจากอาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น ซึ่งเกิดขึ้นเพราะ สักกายะเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดสักกายะ
๒๕
[๓๒๒] เหตุแห่งวิมุตติ๑- ๕ ๑. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูแสดงธรรม๒- แก่ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เธอรู้แจ้งอรรถ๓- รู้แจ้งธรรม๔- ในธรรมนั้น ตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูแสดง แก่เธอ เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมี ปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะประการที่ ๑ ๒. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ไม่ได้แสดง ธรรมแก่ภิกษุ แต่ภิกษุแสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้ เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ฯลฯ ๓. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ไม่ได้แสดง ธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตาม ที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร แต่ภิกษุสาธยายธรรมตามที่ตน ได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๖/๓๓-๓๕ @ ธรรม ในที่นี้หมายถึงอริยสัจ ๔ (ที.ปา.ฏีกา ๓๒๒/๓๑๖, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๖/๘) @ รู้แจ้งอรรถ ในที่นี้หมายถึงรู้ความหมายแห่งบาลีนั้นว่า ศีลมาในที่นี้ สมาธิมาในที่นี้ ปัญญามาในที่นี้ @(ที.ปา.ฏีกา ๓๒๒/๓๑๖, องฺ.ติก.อ. ๒/๔๓/๑๕๒-๑๕๓, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๖/๘) @ รู้แจ้งธรรม ในที่นี้หมายถึงรู้บาลีคือพระพุทธพจน์ เช่น ทรงจำบาลีที่ให้รู้ความหมายได้อย่างถูกต้อง @(ที.ปา.ฏีกา ๓๒๒/๓๑๖, องฺ.ติก.อ. ๒/๔๓/๑๕๒-๑๕๓, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๖/๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๑๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๕

๔. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ไม่ได้แสดงธรรม แก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้ เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ไม่ได้สาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร แต่ภิกษุตรึกตามตรองตามเพ่งตาม ด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมา ฯลฯ ๕. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูไม่ได้แสดง ธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ไม่ได้สาธยายธรรมตามที่ตนได้ สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร และไม่ได้ตรึกตามตรองตาม เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมา แต่ เธอเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาดี มนสิการดี ทรงจำไว้ดี แทงตลอดดีด้วยปัญญา เธอรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ในธรรมนั้น ตามที่เธอได้เรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาดี มนสิการดี ทรงจำไว้ดี แทงตลอดดีด้วยปัญญา เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะประการที่ ๕
๒๖
สัญญาที่ควรเจริญเพื่อวิมุตติ๑- ๕ ๑. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร) ๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยงแห่งสังขาร) ๓. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์) ๔. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย) ๕. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะเป็นธรรมละเอียดประณีต) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๖๑/๑๑๐, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๖/๑๒๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๑๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๖

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ ๕ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น เพื่อให้พรหมจรรย์นี้ ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุข แก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย
สังคีติหมวด ๕ จบ
สังคีติหมวด ๖
[๓๒๓] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๖ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว มีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น เพื่อให้พรหมจรรย์นี้ ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุข แก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๖ ประการ คืออะไร คือ
อายตนะภายใน๑- ๖ ๑. จักขวายตนะ (อายตนะคือตา) ๒. โสตายตนะ (อายตนะคือหู) ๓. ฆานายตนะ (อายตนะคือจมูก) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๒/๖, สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๑/๑-๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๑๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๖

๔. ชิวหายตนะ (อายตนะคือลิ้น) ๕. กายายตนะ (อายตนะคือกาย) ๖. มนายตนะ (อายตนะคือใจ)
อายตนะภายนอก๑- ๖ ๑. รูปายตนะ (อายตนะคือรูป) ๒. สัททายตนะ (อายตนะคือเสียง) ๓. คันธายตนะ (อายตนะคือกลิ่น) ๔. รสายตนะ (อายตนะคือรส) ๕. โผฏฐัพพายตนะ (อายตนะคือโผฏฐัพพะ) ๖. ธัมมายตนะ (อายตนะคือธรรมารมณ์)
หมวดวิญญาณ๒- ๖ ๑. จักขุวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางตา) ๒. โสตวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางหู) ๓. ฆานวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางจมูก) ๔. ชิวหาวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางลิ้น) ๕. กายวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางกาย) ๖. มโนวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางใจ) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๔-๖/๔-๕ @ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๒/๗, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๑๒๑/๘๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๑๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๖

หมวดผัสสะ๑- ๖ ๑. จักขุสัมผัส (ความกระทบทางตา) ๒. โสตสัมผัส (ความกระทบทางหู) ๓. ฆานสัมผัส (ความกระทบทางจมูก) ๔. ชิวหาสัมผัส (ความกระทบทางลิ้น) ๕. กายสัมผัส (ความกระทบทางกาย) ๖. มโนสัมผัส (ความกระทบทางใจ)
หมวดเวทนา๒- ๖ ๑. จักขุสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากจักขุสัมผัส) ๒. โสตสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากโสตสัมผัส) ๓. ฆานสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากฆานสัมผัส) ๔. ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากชิวหาสัมผัส) ๕. กายสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากกายสัมผัส) ๖. มโนสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากมโนสัมผัส)
หมวดสัญญา๓- ๖ ๑. รูปสัญญา (กำหนดหมายรู้รูป) ๒. สัททสัญญา (กำหนดหมายรู้เสียง) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๒/๖ @ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๒/๖ @ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๑๙๓/๒๙๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๑๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๖

๓. คันธสัญญา (กำหนดหมายรู้กลิ่น) ๔. รสสัญญา (กำหนดหมายรู้รส) ๕. โผฏฐัพพสัญญา (กำหนดหมายรู้โผฏฐัพพะ) ๖. ธัมมสัญญา (กำหนดหมายรู้ธรรมารมณ์)
หมวดสัญเจตนา๑- ๖ ๑. รูปสัญเจตนา (ความจำนงรูป) ๒. สัททสัญเจตนา (ความจำนงเสียง) ๓. คันธสัญเจตนา (ความจำนงกลิ่น) ๔. รสสัญเจตนา (ความจำนงรส) ๕. โผฏฐัพพสัญเจตนา (ความจำนงโผฏฐัพพะ) ๖. ธัมมสัญเจตนา (ความจำนงธรรมารมณ์)
หมวดตัณหา๒- ๖ ๑. รูปตัณหา (ความทะยานอยากได้รูป) ๒. สัททตัณหา (ความทะยานอยากได้เสียง) ๓. คันธตัณหา (ความทะยานอยากได้กลิ่น) ๔. รสตัณหา (ความทะยานอยากได้รส) ๕. โผฏฐัพพตัณหา (ความทะยานอยากได้โผฏฐัพพะ) ๖. ธัมมตัณหา (ความทะยานอยากได้ธรรมารมณ์) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.ข. (แปล) ๑๗/๕๖/๘๔ @ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๑๙๕/๒๙๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๑๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๖

[๓๒๔] อคารวะ๑- (ความไม่เคารพ) ๖ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา ๒. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ๓. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์ ๔. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสิกขา ๕. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในความไม่ประมาท ๖. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในปฏิสันถาร
๑๐
คารวะ๒- (ความเคารพ) ๖ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในพระศาสดา ๒. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในพระธรรม ๓. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในพระสงฆ์ ๔. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในสิกขา ๕. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในความไม่ประมาท ๖. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในปฏิสันถาร @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๔๐/๔๙๑-๔๙๒ @ ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๔๐/๔๙๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๑๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๖

๑๑
โสมนัสสูปวิจาร (การใคร่ครวญอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส) ๖ ๑. เห็นรูปทางตาแล้ว ใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ๒. ฟังเสียงทางหูแล้ว ใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ๓. ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ๔. ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ๕. ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ใคร่ครวญโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ๖. รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ใคร่ครวญธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
๑๒
โทมนัสสูปวิจาร (การใคร่ครวญอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส) ๖ ๑. เห็นรูปทางตาแล้ว ใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ๒. ฟังเสียงทางหูแล้ว ใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ๓. ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ๔. ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ๕. ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ใคร่ครวญโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ๖. รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ใคร่ครวญธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
๑๓
อุเปกขูปวิจาร (การใคร่ครวญอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา) ๖ ๑. เห็นรูปทางตาแล้ว ใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ๒. ฟังเสียงทางหูแล้ว ใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ๓. ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๒๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๖

๔. ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ๕. ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ใคร่ครวญโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ๖. รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ใคร่ครวญธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๑๔
สารณียธรรม๑- (ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึง) ๖ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. ตั้งมั่นเมตตากายกรรม๒- ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้า และลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่ เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อ ความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ๒. ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรม ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ๓. ตั้งมั่นเมตตามโนกรรม ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ๔. บริโภคโดยไม่แบ่งแยก๓- ลาภทั้งหลายอันประกอบด้วยธรรม ได้มา โดยธรรม โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต (อาหารในบาตร) บริโภคกับ เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีล แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๑๒/๔๒๗ @ เมตตากายกรรม ในที่นี้หมายถึงกายกรรมที่พึงทำด้วยจิตประกอบด้วยเมตตา เมตตาวจีกรรมและ @เมตตามโนกรรม ก็มีอรรถาธิบายเช่นเดียวกันนี้ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑/๙๗) @ ไม่แบ่งแยก หมายถึงไม่แบ่งแยกบุคคลโดยคิดว่า “จะให้แก่คนนั้น ไม่ให้แก่คนนี้” @(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑/๙๙, องฺ.ฉกฺก. ฏีกา ๓/๑๑/๑๑๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๒๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๖

ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่ วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ๕. มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ที่ไม่ ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ เสมอกันกับเพื่อน พรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม ที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ๖. มีอริยทิฏฐิ๑- อันเป็นธรรมเครื่องนำออก๒- เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ แก่ผู้ทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๑๕
[๓๒๕] วิวาทมูล๓- (มูลเหตุแห่งวิวาท) ๖ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุใดเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุ นั้นอยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา อยู่ อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม อยู่อย่างไม่มี ความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้ บริบูรณ์ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่อย่างไม่มีความเคารพ @เชิงอรรถ : @ อริยทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงสัมมาทิฏฐิในอริยมรรค (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑/๑๐๓) @ อันเป็นธรรมเครื่องนำออก ในที่นี้หมายถึงมรรค ๔ (โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค @และอรหัตตมรรค) ที่ตัดมูลเหตุแห่งวัฏฏะ ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วออกจากวัฏฏะได้ @(อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/๑๒๙๕/๓๒๗, อภิ.สงฺ.อ. ๘๓-๑๐๐/๙๘) @ ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๓๖/๔๘๔-๔๘๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๒๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๖

ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา อยู่อย่างไม่มีความเคารพ อยู่อย่างไม่มี ความยำเกรงในพระธรรม อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำ เกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ย่อมก่อวิวาทให้เกิดขึ้น ในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คน หมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์ เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพิจารณา เห็นมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ภายในหรือภายนอก ท่านทั้งหลายพึง พยายามเพื่อละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปภายในหรือภายนอกนั้นแล ถ้าท่านทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ภายในหรือ ภายนอก ท่านทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อให้มูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาป นั้นแลไม่ยืดเยื้อต่อไป การละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้นย่อมมีได้ และมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น ย่อมไม่ยืดเยื้อต่อไป ๒. เป็นผู้ลบหลู่ ตีเสมอ ฯลฯ ๓. เป็นผู้ริษยา มีความตระหนี่ ฯลฯ ๔. เป็นผู้โอ้อวด มีมายา ฯลฯ ๕. เป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว เป็นมิจฉาทิฏฐิ๑- ฯลฯ ๖. เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใดเป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความ ถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก ภิกษุนั้นอยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มี ความยำเกรงในพระธรรม อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง @เชิงอรรถ : @ เป็นมิจฉาทิฏฐิ หมายถึงเป็นมิจฉาทิฏฐิบุคคลพวกที่ถือนัตถิกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่า ทานที่บุคคลให้แล้ว @ไม่มีผล) อเหตุกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าไม่มีเหตุปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย) และอกิริยวาทะ @(ลัทธิที่ถือว่า การกระทำทุกอย่างไม่มีผล ทำดีก็ไม่ได้ดี ทำชั่วก็ไม่ได้ชั่ว เป็นความเห็นที่ปฏิเสธกฎแห่งกรรม) @(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๓๖/๑๑๗) และดูเทียบ ที.สี. (แปล) ๙/๑๖๕/๕๓, ๑๖๗/๕๔, ๑๗๓/๕๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๒๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๖

ในพระสงฆ์และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุ ผู้อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา อยู่ อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม อยู่อย่างไม่มี ความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้ บริบูรณ์ ย่อมก่อการวิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์ เพื่อไม่ เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ภายในหรือ ภายนอก ท่านทั้งหลายพึงพยายามเพื่อละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาป ภายในหรือภายนอกนั้นแล ถ้าท่านทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุ แห่งวิวาทเช่นนี้ภายในหรือภายนอก ท่านทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อให้ มูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้นแลไม่ยืดเยื้อต่อไป การละมูลเหตุแห่ง วิวาทที่เป็นบาปนั้นย่อมมีได้ และมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น ย่อม ไม่ยืดเยื้อต่อไป
๑๖
ธาตุ๑- ๖ ๑. ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) ๒. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) ๓. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ๔. วาโยธาตุ (ธาตุลม) ๕. อากาสธาตุ (ธาตุคือที่ว่าง) ๖. วิญญาณธาตุ (ธาตุคือความรู้อารมณ์) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๑๗๒/๑๓๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๒๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๖

๑๗
[๓๒๖] ธาตุที่สลัด๑- ๖ ๑. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญเมตตาเจโต- วิมุตติ๒- แล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่พยาบาท(ความคิดร้าย) ก็ยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอ ว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดี เลย พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลย ที่ภิกษุได้เจริญเมตตาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจ ยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่พยาบาทก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะเมตตาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดพยาบาท ๒. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญกรุณา- เจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่วิหิงสา(ความเบียดเบียน) ก็ยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอ ว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๑๓/๔๒๙-๔๓๑ @ เมตตาเจโตวิมุตติในที่นี้หมายถึงเมตตาที่เกิดจากตติยฌานและจตุตถฌาน เพราะพ้นจากปัจจนีกธรรม @(ธรรมที่เป็นข้าศึก) กล่าวคือนิวรณ์ ๕ ประการ ได้แก่ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ @วิจิกิจฉา (ที.ปา.อ. ๓๒๖/๒๓๔, องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗/๔๒, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๓/๑๐๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๒๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๖

ไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลย ที่ภิกษุได้เจริญกรุณาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจ ยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่วิหิงสาก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะกรุณาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดวิหิงสา ๓. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญมุทิตา- เจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่อรติ(ความไม่ยินดี) ก็ยัง ครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ อย่าได้ กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุ ได้เจริญมุทิตาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่อรติ ก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะมุทิตา- เจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดอรติ ๔. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญอุเบกขา- เจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ราคะก็ยังครอบงำจิตของ ข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอว่า ‘อย่าได้กล่าว อย่างนี้เลย ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวตู่ พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มี พระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุได้เจริญ อุเบกขาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้ เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ราคะก็ยัง ครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะอุเบกขา- เจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดราคะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๒๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๖

๕. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญอนิมิตตา- เจโตวิมุตติ๑- แล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่วิญญาณของ ข้าพเจ้าก็ยังแส่หานิมิตอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลย ที่ภิกษุได้เจริญอนิมิตตาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น ดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่วิญญาณ ของภิกษุนั้นก็ยังแส่หานิมิตอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะอนิมิตตาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดนิมิตทั้งปวง ๖. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าปราศจาก อัสมิมานะ และไม่พิจารณาเห็นว่า ‘เราเป็นนี้’ แต่ลูกศรคือความ เคลือบแคลงสงสัยก็ยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย พึงกล่าวตักเตือนเธอว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ อย่าได้ กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการ กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มี อายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุปราศจากอัสมิมานะแล้ว และไม่พิจารณา @เชิงอรรถ : @ อนิมิตตาเจโตวิมุตติ หมายถึงพลววิปัสสนา(วิปัสสนาที่มีพลัง) คือ อรหัตตผลสมาบัติ ที่ชื่อว่า อนิมิต @(ไม่มีเครื่องหมาย) เพราะไม่มีราคนิมิต (นิมิตคือราคะ) ไม่มีโทสนิมิต (นิมิตคือโทสะ) ไม่มีโมหนิมิต @(นิมิตคือโมหะ) ไม่มีรูปนิมิต (นิมิตคือรูป) ไม่มีนิจจนิมิต (นิมิตคือความเที่ยง) เป็นต้น @(ที.ปา.อ. ๓๒๖/๒๓๔, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๓/๑๐๔) @อีกอย่างหนึ่ง อนิมิตตาเจโตวิมุตติ เป็นชื่อของญาณ ๔ คือ (๑) ภยตุปัฏฐานญาณ (ญาณในการเห็น @สังขารปรากฏโดยความเป็นภัย) (๒) อาทีนวานุปัสสนาญาณ (ญาณในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณา @เห็นโทษ) (๓) มุญจิตุกัมมยตาญาณ (ญาณหยั่งรู้อันทำให้ต้องการจะพ้น) (๔) ภังคญาณ (ญาณที่พิจารณา @เห็นความดับ) (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๑๓/๑๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๒๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๖

เห็นว่า ‘เราเป็นนี้’ แต่ลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัยก็ยัง ครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะสภาวะที่ ถอนอัสมิมานะ๑- นี้เป็นธาตุที่สลัดลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัย
๑๘
[๓๒๗] อนุตตริยะ๒- ๖ ๑. ทัสสนานุตตริยะ (การเห็นอันยอดเยี่ยม) ๒. สวนานุตตริยะ (การฟังอันยอดเยี่ยม) ๓. ลาภานุตตริยะ (การได้อันยอดเยี่ยม) ๔. สิกขานุตตริยะ (การศึกษาอันยอดเยี่ยม) ๕. ปาริจริยานุตตริยะ (การบำรุงอันยอดเยี่ยม) ๖. อนุสสตานุตตริยะ (การระลึกอันยอดเยี่ยม)
๑๙
อนุสสติฏฐาน๓- ๖ ๑. พุทธานุสสติ (การระลึกถึงพระพุทธเจ้า) ๒. ธัมมานุสสติ (การระลึกถึงพระธรรม) ๓. สังฆานุสสติ (การระลึกถึงพระสงฆ์) ๔. สีลานุสสติ (การระลึกถึงศีล) ๕. จาคานุสสติ (การระลึกถึงการบริจาค) ๖. เทวตานุสสติ (การระลึกถึงเทวดา) @เชิงอรรถ : @ สภาวะที่ถอนอัสมิมานะ ในที่นี้หมายถึงอรหัตตมรรค ที่เรียกว่าสภาวะที่ถอนอัสมิมานะ เพราะเมื่อเห็นนิพพาน @ด้วยอำนาจผลที่เกิดจากอรหัตตมรรค อัสมิมานะจึงไม่มี (ที.ปา.อ. ๓๒๖/๒๓๕, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๓/๑๐๕) @ ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๘/๔๑๙-๔๒๐ @ อนุสสติฏฐาน แปลว่า “ฐานคืออนุสสติ” หมายถึงเหตุคืออนุสสติ ได้แก่ ฌาน ๓ (ที.ปา.อ. ๓๒๗/๒๓๕, @องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๕/๑๑๐, ๓/๒๙/๑๑๒) @อนุสสติ ที่เรียกว่า “ฐาน” เพราะเป็นเหตุให้ได้รับประโยชน์เกื้อกูลและความสุขทั้งในภพนี้และภพหน้า @เช่น พุทธานุสสติ ย่อมเป็นเหตุให้บรรลุคุณวิเศษ เพราะเมื่อบุคคลระลึกถึงพุทธคุณอยู่ ปีติ (ความอิ่มใจ) @ย่อมเกิด จากนั้น จึงพิจารณาปีติให้เห็นความสิ้นไปเสื่อมไปจนได้บรรลุอรหัตตผล @อนุสสติฏฐาน นี้จัดเป็นอุปจารกัมมัฏฐาน แม้คฤหัสถ์ก็สามารถบำเพ็ญได้ (ขุ.อป.อ. ๑/๒๕/๑๓๗, @องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๙/๑๐๘) และดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๙/๔๒๐-๔๒๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๒๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๖

๒๐
[๓๒๘] สตตวิหารธรรม๑- (ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ของพระขีณาสพ) ๖ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เห็นรูปทางตาแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ๒. ฟังเสียงทางหูแล้ว ... ๓. ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ... ๔. ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ... ๕. ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ... ๖. รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
๒๑
[๓๒๙] อภิชาติ๒- ๖ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นกัณหาภิชาติ (เกิดในตระกูลต่ำ) ประพฤติ ธรรมดำ ๒. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นกัณหาภิชาติ ประพฤติธรรมขาว ๓. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นกัณหาภิชาติ บรรลุนิพพานที่ไม่ดำ ไม่ขาว ๔. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสุกกาภิชาติ (เกิดในตระกูลสูง) ประพฤติธรรมดำ ๕. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสุกกาภิชาติ ประพฤติธรรมขาว ๖. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสุกกาภิชาติ บรรลุนิพพานที่ไม่ดำ ไม่ขาว @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๕๖ หน้า ๓๙๔ ในเล่มนี้ @ อภิชาติ ในที่นี้หมายถึงการกำหนดหมายชนเป็นชั้น เป็นกลุ่ม เช่น หมู่คนที่ประพฤติอย่างนี้ๆ @กำหนดเรียกอย่างนี้ๆ (ที.สี.อ. ๑๖๘/๑๔๗) หรือหมายถึงชาติกำเนิด (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๗/๑๓๙, @องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๗/๑๕๐) และดู ที.สี. (แปล) ๙/๑๖๘/๕๕, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๕๗/๕๔๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๒๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๗

๒๒
นิพเพธภาคิยสัญญา๑- (กำหนดหมายในญาณอันเป็นส่วนชำแรกกิเลส) ๖ ๑. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร) ๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยงแห่ง สังขาร) ๓. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์) ๔. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย) ๕. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต) ๖. นิโรธสัญญา (กำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต) ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ ๖ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
สังคีติหมวด ๖ จบ
สังคีติหมวด ๗
[๓๓๐] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๗ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว มีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อ ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๖/๑๒๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๓๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๗

ธรรมหมวดละ ๗ ประการ คืออะไร คือ
อริยทรัพย์๑- ๗ ๑. สัทธาธนะ (ทรัพย์คือศรัทธา) ๒. สีลธนะ (ทรัพย์คือศีล) ๓. หิริธนะ (ทรัพย์คือหิริ) ๔. โอตตัปปธนะ (ทรัพย์คือโอตตัปปะ) ๕. สุตธนะ (ทรัพย์คือสุตะ) ๖. จาคธนะ (ทรัพย์คือจาคะ) ๗. ปัญญาธนะ (ทรัพย์คือปัญญา)
โพชฌงค์๒- ๗ ๑. สติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึกได้) ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือการเฟ้นธรรม) ๓. วิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร) ๔. ปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ) ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ) ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น) ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความวางใจเป็นกลาง) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๕/๘ @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๐๒/๒๔๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๓๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๗

ธรรมที่เป็นบริขารแห่งสมาธิ๑- ๗ ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) ๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
อสัทธรรม๒- ๗ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ ๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้มีสุตะน้อย ๕. เป็นผู้เกียจคร้าน ๖. เป็นผู้มีสติหลงลืม ๗. เป็นผู้มีปัญญาทราม
สัทธรรม๓- ๗ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ ๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นพหูสูต @เชิงอรรถ : @ บริขารแห่งสมาธิ หมายถึงองค์ประกอบแห่งมรรคสมาธิ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๔-๔๕/๑๘๒) @และดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๔๕/๖๘-๖๙ @ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๙๓/๑๘๓ @ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๙๔/๑๘๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๓๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๗

๕. เป็นผู้ปรารภความเพียร ๖. เป็นผู้มีสติมั่นคง ๗. เป็นผู้มีปัญญา
สัปปุริสธรรม๑- ๗ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นธัมมัญญ (ผู้รู้จักเหตุ) ๒. เป็นอัตถัญญ (ผู้รู้จักผล) ๓. เป็นอัตตัญญ (ผู้รู้จักตน) ๔. เป็นมัตตัญญ (ผู้รู้จักประมาณ) ๕. เป็นกาลัญญ (ผู้รู้จักกาลเวลา) ๖. เป็นปริสัญญ (ผู้รู้จักชุมชน) ๗. เป็นปุคคลัญญ (ผู้รู้จักบุคคล)
[๓๓๑] นิททสวัตถุ๒- (เหตุให้ได้ชื่อว่าผู้มีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี) ๗ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการสมาทานสิกขา๓- และไม่ปราศจาก ความรักในการสมาทานสิกขาต่อไป๔- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก.(แปล) ๒๓/๖๘/๑๔๓ @ นิททสวัตถุ แปลว่า ธรรมที่เป็นเหตุให้ชื่อว่า “นิททสะ” ซึ่งแปลว่า มีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี คำนี้เป็นคำที่พวก @เดียรถีย์ใช้เรียกนิครนถ์ผู้ประพฤติพรหมจรรย์กำหนด ๑๒ ปี ถ้าตายลงเมื่อถึง ๑๐ ปี เรียกผู้นั้นว่า @“นิททส” คือเมื่อมาเกิดอีก จะมีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี และอาจไม่ถึง ๙ ปี - ๑ ปี แต่พระผู้มีพระภาคทรงใช้คำนี้ @หมายถึงพระขีณาสพในความหมายว่า “ไม่มีการเกิดอีก” ไม่ว่าจะเกิดมาเพียงวันเดียวหรือครู่เดียวโดย @มีเงื่อนไขว่า ผู้นั้นต้องเพียบพร้อมด้วยธรรม ๗ ประการ ส่วนเวลาประพฤติพรหมจรรย์มากน้อยไม่สำคัญ @(ที.ปา.อ. ๓๓๑/๒๓๘, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๔-๑๖๕) @ สมาทานสิกขา ในที่นี้หมายถึงการบำเพ็ญไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญาให้บริบูรณ์และถูกต้อง @(องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๒) @ ไม่ปราศจากความรักในการสมาทานสิกขาต่อไป ในที่นี้หมายถึงกาลเวลาแห่งการบำเพ็ญที่เนื่องกัน @ไม่ขาดระยะ มิได้หมายถึงภพในอนาคต (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๓๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๗

๒. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการใคร่ครวญธรรม๑- และไม่ปราศจาก ความรักในการใคร่ครวญธรรมต่อไป ๓. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการกำจัดความอยาก๒- และไม่ปราศจาก ความรักในการกำจัดความอยากต่อไป ๔. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการหลีกเร้น และไม่ปราศจากความรักใน การหลีกเร้นต่อไป ๕. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการปรารภความเพียร และไม่ปราศจาก ความรักในการปรารภความเพียรต่อไป ๖. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน๓- และไม่ปราศจาก ความรักในสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนต่อไป ๗. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิ๔- และไม่ปราศจาก ความรักในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิต่อไป
สัญญา๕- ๗ ๑. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร) ๒. อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง) @เชิงอรรถ : @ การใคร่ครวญธรรม แปลจากบาลีว่า “ธมฺมนิสนฺติ” หมายถึงการเพ่งพินิจพิจารณาเห็นธรรมโดยเป็น @สภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา คำว่า “ธมฺมนิสนฺติ” เป็นชื่อของวิปัสสนา (ที.ปา.อ. ๓๓๑/๒๓๙, @องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๒) @ การกำจัดความอยาก หมายถึงการกำจัดหรือข่มตัณหาได้ด้วยอำนาจภังคานุปัสสนาญาณ (ญาณที่ @พิจารณาเห็นความดับ) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๒) หรือด้วยอำนาจ @วิปัสสนาญาณมีวิราคานุปัสสนา เป็นต้น (ที.ปา.ฏีกา ๓๓๑/๓๒๖) @ สติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน ในที่นี้หมายถึงสติและเนปักกปัญญา กล่าวคือสติและสัมปชัญญะ @(องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๓) @ การแทงตลอดด้วยทิฏฐิ แปลจากบาลีว่า “ทิฏฐิปฏิเวธ” หมายถึงมัคคทัสสนะ (การเห็นด้วยมรรค) @กล่าวคือ การเห็นแจ้งด้วยมัคคสัมมาทิฏฐิ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๓) @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๗/๑๒๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๓๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๗

๓. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย) ๔. อาทีนวสัญญา (กำหนดหมายโทษทุกข์ของกายอันมีความเจ็บไข้ต่างๆ) ๕. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย) ๖. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต) ๗. นิโรธสัญญา (กำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
พละ๑- ๗ ๑. สัทธาพละ (กำลังคือศรัทธา) ๒. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ) ๓. หิริพละ (กำลังคือหิริ) ๔. โอตตัปปพละ (กำลังคือโอตตัปปะ) ๕. สติพละ (กำลังคือสติ) ๖. สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ) ๗. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)
๑๐
[๓๓๒] วิญญาณฐิติ๒- (ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ) ๗ ๑. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์ เทพบางพวก๓- และวินิปาติกะบางพวก๔- นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๓/๔ @ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๒๗/๗๒-๗๓ @ เทพบางพวก หมายถึงเทพในสวรรค์ชั้นกามาวจรภูมิ ๖ คือ (๑) ชั้นจาตุมหาราช (๒) ชั้นดาวดึงส์ @(๓) ชั้นยามา (๔) ชั้นดุสิต (๕) ชั้นนิมมานรดี (๖) ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี (ที.ม.อ. ๒/๑๒๗/๑๐๙) @ วินิปาติกะบางพวก หมายถึงพวกเวมานิกเปรตที่พ้นจากอบายภูมิ ๔ เช่น ยักษิณีผู้เป็นมารดาของ @อุตตระ ยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ ยักษิณีผู้เป็นมารดาของผุสสะ ร่างกายของเปรตเหล่านี้แตกต่างกัน @คือ มีทั้งอ้วน ผอม เตี้ย สูง มีผิวขาว ผิวดำ ผิวสีทอง และสีนิล มีลักษณะ มีสัญญาต่างกัน ด้วยติเหตุกะ @ทุเหตุกะ และอเหตุกะ เหมือนของมนุษย์ เวมานิกเปรตเหล่านี้ไม่มีศักดิ์มาก เหมือนพวกเทพบางพวก @ได้รับทุกข์ในข้างแรม ได้รับสุขในข้างขึ้น แต่เวมานิกเปรตที่เป็นติเหตุกะสามารถบรรลุธรรมได้ เช่น @การบรรลุธรรมของยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระเป็นต้น (ที.ม.อ. ๑๒๗/๑๐๙, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๔-๔๕/๑๘๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๓๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๗

๒. มีสัตว์ทั้งหลายมีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือพวกเทพ ชั้นพรหมกายิกา๑- (เทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหม) นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๒ ๓. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน คือ พวก เทพชั้นอาภัสสระ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๓ ๔. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวก เทพชั้นสุภกิณหะ (เทพผู้เต็มไปด้วยความงดงาม) นี้เป็นวิญญาณฐิติ ที่ ๔ ๕. มีสัตว์ทั้งหลายบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน๒- โดยกำหนดว่า “อากาศ หาที่สุดมิได้” เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตต- สัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๕ ๖. มีสัตว์ทั้งหลายล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน๓- โดยกำหนดว่า “วิญญาณหาที่สุดมิได้” นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๖ ๗. มีสัตว์ทั้งหลายล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ อากิญจัญญายตนฌาน๔- โดยกำหนดว่า “ไม่มีอะไร” นี้เป็นวิญญาณฐิติ ที่ ๗ @เชิงอรรถ : @ เทพชั้นพรหมกายิกา หมายถึงพรหมชั้นปฐมฌานภูมิ (ระดับปฐมฌาน) ๓ ชั้น คือ (๑) พรหมปาริสัชชา @(พวกบริษัทบริวารมหาพรหม) (๒) พรหมปโรหิตา (พวกปุโรหิตมหาพรหม) (๓) มหาพรหมา (พวกท้าว @มหาพรหม) (ที.ม.อ. ๑๒๗/๑๐๙-๑๑๐) @ อากาสานัญจายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดอากาศ คือช่องว่างอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ เป็นขั้น @ที่ ๑ ของอรูปฌาน ๔ (ที.สี.อ. ๔๑๔/๓๐๘) @ วิญญาณัญจายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดวิญญาณอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ เป็นขั้นที่ ๒ ของ @อรูปฌาน ๔ (ที.สี.อ. ๔๑๔/๓๐๘) @ อากิญจัญญายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดภาวะอันไม่มีอะไร (ความว่าง) เป็นอารมณ์ ฌานนี้เรียก @อีกอย่างหนึ่งว่า สัญญัคคะ (ที่สุดแห่งสัญญา) เพราะเป็นภาวะสุดท้ายของการมีสัญญา กล่าวคือผู้บรรลุ @อากิญจัญญายตนฌานแล้ว ชั้นต่อไปจะเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้าง เข้าถึงสัญญาเวทยิต- @นิโรธบ้าง (ที.สี.อ. ๔๑๔/๓๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๓๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๗

๑๑
ทักขิเณยยบุคคล (บุคคลผู้ควรแก่ทักษิณา) ๗ ๑. อุภโตภาควิมุต๑- (ผู้หลุดพ้นทั้ง ๒ ส่วน) ๒. ปัญญาวิมุต๒- (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา) ๓. กายสักขี๓- (ผู้เป็นพยานในนามกายด้วยกาย) ๔. ทิฏฐิปัตตะ๔- (ผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ) ๕. สัทธาวิมุต๕- (ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา) ๖. ธัมมานุสารี๖- (ผู้แล่นไปตามธรรม) ๗. สัทธานุสารี๗- (ผู้แล่นไปตามศรัทธา)
๑๒
อนุสัย๘- (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดาน) ๗ ๑. กามราคานุสัย (อนุสัยคือความกำหนัดในกาม) ๒. ปฏิฆานุสัย (อนุสัยคือความยินร้าย) ๓. ทิฏฐานุสัย (อนุสัยคือความเห็นผิด) ๔. วิจิกิจฉานุสัย (อนุสัยคือความลังเลสงสัย) ๕. มานานุสัย (อนุสัยคือความถือตัว) ๖. ภวราคานุสัย (อนุสัยคือความติดใจในภพ) ๗. อวิชชานุสัย (อนุสัยคือความไม่รู้แจ้ง) @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๕๐ หน้า ๑๑๑ ในเล่มนี้ @ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๑๕๐ หน้า ๑๑๑ ในเล่มนี้ @ ดูเชิงอรรถที่ ๔ ข้อ ๑๕๐ หน้า ๑๑๑ ในเล่มนี้ @ ดูเชิงอรรถที่ ๕ ข้อ ๑๕๐ หน้า ๑๑๑ ในเล่มนี้ @ ดูเชิงอรรถที่ ๖ ข้อ ๑๕๐ หน้า ๑๑๑ ในเล่มนี้ @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๕๐ หน้า ๑๑๒ ในเล่มนี้ @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๕๐ หน้า ๑๑๒ ในเล่มนี้ @ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๑๑/๑๗, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๙/๖๐๕-๖๐๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๓๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๗

๑๓
สังโยชน์๑- (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ๗ ๑. อนุนยสังโยชน์ (สังโยชน์คือความยินดี๒-) ๒. ปฏิฆสังโยชน์ (สังโยชน์คือความยินร้าย) ๓. ทิฏฐิสังโยชน์ (สังโยชน์คือความเห็นผิด) ๔. วิจิกิจฉาสังโยชน์ (สังโยชน์คือความลังเลสงสัย) ๕. มานสังโยชน์ (สังโยชน์คือความถือตัว) ๖. ภวราคสังโยชน์ (สังโยชน์คือความติดใจในภพ) ๗. อวิชชาสังโยชน์ (สังโยชน์คือความไม่รู้แจ้ง)
๑๔
อธิกรณสมถธรรม๓- (ธรรมเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์) ๗ เพื่อระงับ เพื่อดับอธิกรณ์๔- ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วๆ ๑. สงฆ์พึงให้สัมมุขาวินัย๕- ๒. สงฆ์พึงให้สติวินัย๖- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๘/๑๔ @ ความยินดี หมายถึงกามราคะ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๘/๑๖๐) @ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๘๔/๑๗๙ @ อธิกรณ์ หมายถึงเรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการ มี ๔ อย่าง คือ (๑) วิวาทาธิกรณ์ การถกเถียงกันเกี่ยวกับ @พระธรรมวินัย (๒) อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ (๓) อาปัตตาธิกรณ์ การต้อง @อาบัติ การปรับอาบัติ และการแก้ไขตัวเองให้พ้นจากอาบัติ (๔) กิจจาธิกรณ์ กิจธุระต่างๆ ที่สงฆ์จะต้องทำ @เช่น การให้อุปสมบท การให้ผ้ากฐิน เป็นต้น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๕/๑๓) และดู วิ.จู. (แปล) ๖/๒๑๕/๓๓๐-๓๓๒ @๕-๖ สัมมุขาวินัย วิธีระงับอธิกรณ์ ในที่พร้อมหน้า คือต้องพร้อมทั้ง ๔ พร้อม คือ (๑) พร้อมหน้าสงฆ์ @ได้แก่ ภิกษุเข้าร่วม ประชุมครบองค์ประชุมตามที่กำหนดไว้แต่ละกรณี (๒) พร้อมหน้าบุคคลได้แก่คู่กรณี @หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นอยู่พร้อมหน้า (๓) พร้อมหน้าวัตถุ ได้แก่ ยกเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นมาวินิจฉัย @(๔) พร้อมหน้าธรรม ได้แก่ วินิจฉัยถูกต้องตามธรรมวินัย @สติวินัย หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยประกาศให้ทราบว่า พระอรหันต์เป็นพระอริยะ ผู้มีสติสมบูรณ์ @เป็นวิธีระงับโดยเอาสติเป็นหลักในกรณีที่มีผู้โจทพระอรหันต์ เป็นการบอกให้รู้ว่า ใครจะโจทพระอรหันต์ @ไม่ได้ (วิ.ม. (แปล) ๕/๔๐๐-๔๐๑/๒๘๘-๒๙๑) และดูเทียบ วิ.จู. (แปล) ๖/๑๘๕-๒๑๒/๒๙๕-๓๒๘, @วิ.ป. (แปล) ๘/๒๗๕/๓๗๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๓๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๘

๓. สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัย๑- ๔. สงฆ์พึงให้ปฏิญญาตกรณะ๒- ๕. สงฆ์พึงให้เยภุยยสิกา๓- ๖. สงฆ์พึงให้ตัสสปาปิยสิกา๔- ๗. สงฆ์พึงให้ติณวัตถารกะ๕- ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ ๗ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
สังคีติหมวด ๗ จบ
ภาณวารที่ ๒ จบ
สังคีติหมวด ๘
[๓๓๓] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๘ ประการที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว มีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อ ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @๑-๕ อมูฬหวินัย หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยยกประโยชน์ให้แก่ภิกษุที่หายเป็นบ้าแล้ว ในกรณีที่มีผู้ @โจทภิกษุด้วยอาบัติที่ต้องในขณะเป็นบ้า สงฆ์จะสวดประกาศสมมติเพื่อมิให้ใครๆ โจทเธอด้วยอาบัติ @ปฏิญญาตกรณะ หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยปรับอาบัติตามคำรับสารภาพของภิกษุผู้ต้องอาบัติ @เยภุยยสิกา หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยตัดสินตามเสียงข้างมาก สงฆ์จะใช้วิธีการนี้ในกรณีที่บุคคล @หลายฝ่ายมีความเห็นไม่ตรงกัน @ตัสสปาปิยสิกา หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยตัดสินลงโทษผู้กระทำผิด เมื่อสงฆ์พิจารณาตามหลักฐาน @พยานแล้ว เห็นว่ามีความผิดจริง แม้เธอจะไม่รับสารภาพก็ตาม @ติณวัตถารกะ หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยให้ทั้ง ๒ ฝ่ายประนีประนอมกัน เปรียบเหมือนเอาหญ้า @กลบไว้ ไม่ต้องชำระสะสางความ วิธีนี้จะใช้ระงับอธิกรณ์ที่ยุ่งยาก เช่น กรณีพิพาทกันของภิกษุชาวกรุง @โกสัมพี (วิ.ม. ๕/๔๕๑-๔๕๒/๓๓๓-๓๓๕) และ ดูเทียบ วิ.จู. (แปล) ๖/๑๘๕-๒๑๒/๒๙๕-๓๒๘, @วิ.ป. (แปล) ๘/๒๗๕/๓๗๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๓๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๘

ธรรมหมวดละ ๘ ประการ คืออะไร คือ
มิจฉัตตะ๑- (ความเป็นธรรมที่ผิด) ๘ ๑. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) ๒. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด) ๓. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด) ๔. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด) ๕. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) ๖. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด) ๗. มิจฉาสติ (ระลึกผิด) ๘. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด)
สัมมัตตะ๒- (ความเป็นธรรมที่ถูก) ๘ ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) ๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๓๒/๒๘๒ @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๓๓/๒๘๒-๒๘๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๔๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๘

ทักขิเณยยบุคคล๑- (บุคคลผู้ควรแก่ทักษิณา) ๘ ๑. พระโสดาบัน ๒. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ๓. พระสกทาคามี ๔. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ๕. พระอนาคามี ๖. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ๗. พระอรหันต์ ๘. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล
[๓๓๔] กุสีตวัตถุ๒- (เหตุแห่งความเกียจคร้าน) ๘ ๑. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีงานที่ต้องทำ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักต้องทำงาน เมื่อเราทำงานอยู่ กายจักเมื่อยล้า อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยัง ไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำ ให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๑ ๒. ภิกษุทำงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราได้ทำงานแล้ว เมื่อเรา ทำงานอยู่ กายเมื่อยล้าแล้ว อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอน เสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๒ ๓. ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักต้องเดินทาง เมื่อ เราเดินทางอยู่ กายจักเมื่อยล้า อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึง นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๓ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๙/๔๔๘-๔๔๙, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๒๐๗/๒๒๙ @ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๘๐/๔๐๐-๔๐๒, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๕๓/๖๑๐-๖๑๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๔๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๘

๔. ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเดินทางแล้ว เมื่อเรา เดินทางอยู่ กายเมื่อยล้าแล้ว อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึง นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๔ ๕. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้าหมอง หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ก็ไม่ได้โภชนะเศร้าหมองหรือ ประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ กายของเรานั้นเมื่อยล้าแล้ว ไม่ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภ ความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๕ ๖. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือ ประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เรา เที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีต บริบูรณ์เพียงพอตามต้องการแล้ว กายของเรานั้นหนัก ไม่ควรแก่ การงาน จะเหมือนถั่วราชมาสชุ่มด้วยน้ำ อย่ากระนั้นเลย เรา จะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีต วัตถุประการ ที่ ๖ ๗. ภิกษุเกิดอาพาธขึ้นเล็กน้อย เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิดมี อาพาธ ขึ้นเล็กน้อยแล้ว มีข้ออ้างที่จะนอนได้ อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็น กุสีตวัตถุประการที่ ๗ ๘. ภิกษุหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เธอมีความคิดอย่างนี้ ว่า ‘เราหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน กายของเรายัง อ่อนแอไม่ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภ ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยัง ไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุ ประการที่ ๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๔๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๘

[๓๓๕] อารัมภวัตถุ๑- (เหตุแห่งการปรารภความเพียร) ๘ ๑. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้มีงานที่ต้องทำ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจัก ต้องทำงาน เมื่อเราทำงาน การจะใส่ใจคำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้าทั้งหลายมิใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภ ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร เพื่อ ถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรม ที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๑ ๒. ภิกษุทำงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราได้ทำงานแล้ว เมื่อเรา ทำงานอยู่ ก็ไม่สามารถที่จะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอ จึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๒ ๓. ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักต้องเดินทาง การที่ เราเดินทางอยู่จะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มิใช่ทำ ได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำ ให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๓ ๔. ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเดินทางแล้ว เมื่อเรา เดินทางอยู่ ก็ไม่สามารถที่จะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๔ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๘๐/๔๐๒-๔๐๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๔๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๘

๕. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะที่เศร้าหมอง หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้าหมองหรือ ประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ กายของเรานั้นเบา ควรแก่ การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำ ให้แจ้ง’ เธอจึงเริ่มปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๕ ๖. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือ ประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เรา เที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีต บริบูรณ์เพียงพอตามต้องการแล้ว ร่างกายของเรานั้นมีกำลัง ควรแก่ การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำ ให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๖ ๗. ภิกษุเกิดมีอาพาธขึ้นเล็กน้อย เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิดมีอาพาธ ขึ้นเล็กน้อยแล้ว เป็นไปได้ที่อาพาธของเราจะพึงรุนแรงขึ้น อย่ากระนั้น เลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๗ ๘. ภิกษุหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เธอมีความคิดอย่าง นี้ว่า ‘เราหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เป็นไปได้ที่อาพาธ ของเราจะพึงกลับกำเริบขึ้น อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรม ที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็น อารัมภวัตถุประการที่ ๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๔๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๘

[๓๓๖] ทานวัตถุ๑- (เหตุแห่งการให้ทาน) ๘ ๑. ให้ทานเพราะประสบเข้า๒- ๒. ให้ทานเพราะกลัว๓- ๓. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘เขาได้ให้แก่เราแล้ว’ ๔. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘เขาจักให้แก่เรา’ ๕. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘การให้ทานเป็นการดี’ ๖. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘เราหุงหากินเองได้ ชนเหล่านี้หุงหากินเองไม่ได้ การที่เราหุงหากินเองได้ จะไม่ให้ทานแก่ชนเหล่านี้ผู้หุงหากินเองไม่ได้ ไม่ควร’ ๗. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘เมื่อเราให้ทานนี้ กิตติศัพท์อันงาม ย่อมขจรไป’ ๘. ให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิต และปรุงแต่งจิต๔-
[๓๓๗] ทานุปปัตติ๕- (ผลที่เกิดจากการให้ทาน) ๘ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะ หรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาเห็นพวกขัตติย @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๓๑/๒๘๗ @ ให้ทานเพราะประสบเข้า หมายถึงเมื่อพบว่าเขามาหา ให้รอสักครู่ก็สามารถให้ทานได้ ไม่รู้สึกหนักใจที่ @จะถวายทาน (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๑/๒๕๓) @ ให้ทานเพราะกลัว ในที่นี้หมายถึงให้ทาน เพราะกลัวตำหนิติเตียน หรือกลัวอบายภูมิ @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๑/๒๕๓) @ ให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิตและปรุงแต่งจิต ในที่นี้หมายถึงให้ทานเครื่องประดับจิตในการเจริญ @สมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพราะทานจะทำจิตใจให้อ่อนโยน เหมาะแก่การเจริญกัมมัฏฐาน @ทั้งสอง (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๑/๒๕๓) @ ดูเทียบ องฺ.อฏฐก. (แปล) ๒๓/๓๕/๒๙๒-๒๙๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๔๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๘

มหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล ผู้เอิบอิ่ม พรั่งพร้อม บำเรอตนอยู่ด้วยกามคุณ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจาก ตายแล้ว เราพึงเกิดร่วมกับพวกขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล’ เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้นอยู่ จิตของเขานั้นน้อมไปในทางต่ำ เจริญให้ยิ่งขึ้นไปไม่ได้ ย่อมเป็นไปเพื่อ เกิดในที่นั้น๑- ข้อนั้นแล เรากล่าวไว้สำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มโนปณิธานของท่านผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะ เป็นผู้บริสุทธิ์ ๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทพชั้นจาตุ- มหาราช มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความ ปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดร่วมกับ พวกเทพชั้นจาตุมหาราช’ เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้นอยู่ จิตของเขานั้นน้อมไปในทางต่ำ เจริญให้ยิ่งขึ้นไปไม่ได้ ย่อมเป็นไปเพื่อ เกิดในที่นั้น ข้อนั้นแล เรากล่าวไว้สำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มโนปณิธานของท่านผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้เพราะ เป็นผู้บริสุทธิ์ ๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทพชั้น ดาวดึงส์ ฯลฯ ๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทพชั้นยามา ฯลฯ’ @เชิงอรรถ : @ เกิดในที่นั้น หมายถึงเกิดในสถานที่ที่ตนปรารถนาไว้ขณะทำบุญ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๕/๒๕๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๔๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๘

๕. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทพชั้นดุสิต ฯลฯ’ ๖. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทพชั้น นิมมานรดี ฯลฯ’ ๗. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทพชั้น ปรนิมมิตวสวัตดี มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความ ปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดร่วมกับพวก เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี’ เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตอยู่ จิตของเขานั้นน้อมไปในทางต่ำ เจริญให้ยิ่งขึ้นไปไม่ได้ ย่อมเป็นไปเพื่อ เกิดในที่นั้น ข้อนั้นแล เรากล่าวไว้สำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มโนปณิธานของท่านผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้เพราะ เป็นผู้บริสุทธิ์ ๘. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทพชั้นพรหม- กายิกา มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนา อย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดร่วมกับพวกเทพชั้น พรหมกายิกา’ เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้นอยู่ จิตของเขา นั้นน้อมไปในทางต่ำ เจริญให้ยิ่งขึ้นไปไม่ได้ ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น ข้อนั้นแล เรากล่าวไว้สำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล สำหรับผู้ ปราศจากราคะ ไม่ใช่สำหรับผู้มีราคะ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มโนปณิธาน ของท่านผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้ เพราะเป็นผู้ปราศจากราคะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๔๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๘

บริษัท๑- (ชุมนุม) ๘ ๑. ขัตติยบริษัท (ชุมนุมกษัตริย์) ๒. พราหมณบริษัท (ชุมนุมพราหมณ์) ๓. คหบดีบริษัท (ชุมนุมคหบดี) ๔. สมณบริษัท (ชุมนุมสมณะ) ๕. จาตุมหาราชบริษัท (ชุมนุมเทพชั้นจาตุมหาราช) ๖. ดาวดึงสบริษัท (ชุมนุมเทพชั้นดาวดึงส์) ๗. มารบริษัท (ชุมนุมเทพชั้นนิมมานรดี) ๘. พรหมบริษัท (ชุมนุมพรหม)
โลกธรรม๒- ๘ ๑. ได้ลาภ ๒. เสื่อมลาภ ๓. ได้ยศ ๔. เสื่อมยศ ๕. นินทา ๖. สรรเสริญ ๗. สุข ๘. ทุกข์
๑๐
[๓๓๘] อภิภายตนะ๓- (อายตนะที่ยอดเยี่ยมด้วยกำลังฌาน) ๘ ๑. บุคคลหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน๔- เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดเล็ก มี สีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๑ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๖๙/๓๗๑-๓๗๒, ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๗๒/๑๑๘-๑๑๙ @ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๕/๒๐๒-๒๐๓ @ อภิภายตนะ หมายถึงเหตุครอบงำ เหตุที่มีอิทธิพล ได้แก่ฌาน หรือฌานที่เป็นเหตุครอบงำนิวรณ์ ๕ และ @อารมณ์ทั้งหลาย คำว่า อภิภายตนะ มาจากคำว่า อภิภู + อายตนะ ที่ชื่อว่า อภิภู เพราะครอบงำอารมณ์ @และชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นที่เกิดความสุขอันวิเศษแก่พระโยคีทั้งหลาย แต่ในที่นี้หมายถึงมนายตนะ @และธัมมายตนะ (ที.ม.อ. ๑๗๓/๑๖๔, องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/๒๗๐, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๖๑-๖๕/๓๐๒) และ @ดูเทียบ องฺ.ทสก.(แปล) ๒๔/๒๙/๗๑-๗๓ @ มีรูปสัญญาภายใน หมายถึงมีความหมายรู้รูปภายในโดยการบริกรรมรูปภายใน (ที.ม.อ. ๑๗๓/๑๖๔, @องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/๒๗๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๔๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๘

๒. บุคคลหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดใหญ่ มีสีสันดี หรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๒ ๓. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน๑- เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดเล็ก มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๓ ๔. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดใหญ่ มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๔ ๕. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เขียว มีสี เขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม เปรียบเหมือนดอกผักตบที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้า ในเมืองพาราณสี อันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้านที่เขียว มีสีเขียว เปรียบ ด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ฉันใด บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เขียว มีสีเขียว เปรียบ ด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๕ ๖. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เหลือง มีสี เหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม เปรียบเหมือนดอก กรรณิการ์ที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสี อันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้าน ที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ฉันใด บุคคล หนึ่งมีอรูปสัญญาภายในก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก ที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ครอบงำรูป @เชิงอรรถ : @ มีอรูปสัญญาภายใน หมายถึงมีความหมายรู้รูปภายใน คือ เว้นจากสัญญาโดยการบริกรรมรูปภายใน @(ที.ม.อ. ๑๗๓/๑๖๕, องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/๒๗๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๔๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๘

เหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้ เป็นอภิภายตนะ ประการที่ ๖ ๗. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม เปรียบเหมือนดอกชบาที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมือง พาราณสี อันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้านที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วย ของแดง มีสีแดงเข้ม ฉันใด บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายในก็ฉันนั้น เหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้ เป็นอภิภายตนะประการที่ ๗ ๘. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม เปรียบเหมือนดาวประกายพรึกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือน ผ้าเมืองพาราณสี อันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้านที่ขาว มีสีขาว เปรียบ ด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม ฉันใด บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายในก็ฉันนั้น เหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้ เป็นอภิภายตนะประการที่ ๘
๑๑
[๓๓๙] วิโมกข์๑- (ความหลุดพ้น) ๘ ๑. บุคคลผู้มีรูป๒- เห็นรูปทั้งหลาย นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๑ ๒. บุคคลผู้มีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก นี้เป็นวิโมกข์ ประการที่ ๒ @เชิงอรรถ : @ วิโมกข์ แปลว่า ความหลุดพ้น หมายถึงภาวะที่จิตหลุดพ้นจากสิ่งรบกวนและน้อมดิ่งไปในอารมณ์นั้น @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๖/๒๗๒) ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๗๔/๑๒๒ @ มีรูป ในที่นี้หมายถึงได้รูปฌานที่เกิดจากการทำบริกรรมในรูปภายในตน เช่นทำบริกรรมผม เหงื่อ เนื้อ @เลือด กระดูก ฟัน เล็บ โดยวิธีการบริกรรมเป็นสีต่างๆ มีสีเขียว เหลือง แดง เป็นต้น @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/๒๗๐, ๖๖/๒๗๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๕๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๙

๓. บุคคลเป็นผู้น้อมใจไปว่า ‘งาม’ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๓ ๔. บุคคลบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุด มิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๔ ๕. บุคคลล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญ- จายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ นี้เป็นวิโมกข์ ประการที่ ๕ ๖. บุคคลล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตน- ฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๖ ๗. บุคคลล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานา- สัญญายตนฌานอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๗ ๘. บุคคลล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๘ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ ๘ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
สังคีติหมวด ๘ จบ
สังคีติหมวด ๙
[๓๔๐] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๙ ประการที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว มีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อ ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๕๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๙

ธรรมหมวดละ ๙ ประการ คืออะไร คือ
อาฆาตวัตถุ๑- (เหตุผูกอาฆาต) ๙ ๑. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์๒- แก่เรา’ ๒. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา’ ๓. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา’ ๔. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รัก ที่ชอบพอของเรา’ ๕. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รัก ที่ชอบพอของเรา’ ๖. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รัก ที่ชอบพอของเรา’ ๗. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา’ ๘. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา’ ๙. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา’ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ วิ.ป. (แปล) ๘/๓๘๐/๕๕๘-๕๕๙, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๗๙/๑๗๗, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๖๗/๖๑๙ @ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ในที่นี้หมายถึงความพินาศ เสียหาย ไม่เจริญ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘๘-๘๙/๑๕๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๕๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๙

อาฆาตปฏิวินยะ๑- (อุบายเป็นเครื่องกำจัดอาฆาต) ๙ ๑. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การ ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน๒-’ ๒. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’ ๓. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การ ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’ ๔. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็น ทีรักที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’ ๕. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รัก ที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’ ๖. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่ รักที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบ พอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’ ๗. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ที่ไม่เป็น ที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็น ที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’ ๘. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่ เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็น ที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๘๐/๑๗๘-๑๗๙ @ ดูประกอบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๘๐/๑๗๘-๑๗๙ ซึ่งมีสำนวนบาลีต่างกันเล็กน้อย กล่าวคือ ในเล่ม ๒๔ @ใช้ว่า “อนตฺถํ เม อจริ, ตํ กุเตตฺถ ลพฺภา”ติ อาฆาตํ ปฏิวิเนติ. แต่ในที่นี้ใช้ว่า “อนตฺถํ เม อจรีติ ตํ กุเตตฺถ @ลพฺภา”ติ อาฆาตํ ปฏิวิเนติ. {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๕๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๙

๙. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่ รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’
[๓๔๑] สัตตาวาส๑- (ภพเป็นที่อยู่ของสัตว์) ๙ ๑. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์ เทพ บางพวก และวินิปาติกะบางพวก นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๑ ๒. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวกเทพ ชั้นพรหมกายิกา (เทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหม) เกิดในปฐมฌาน นี้เป็น สัตตาวาสที่ ๒ ๓. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวกเทพ ชั้นอาภัสสระ นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๓ ๔. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวก เทพชั้นสุภกิณหะ (เทพผู้เต็มไปด้วยความงดงาม) นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๔ ๕. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีสัญญา ไม่เสวยอารมณ์ คือ พวกเทพชั้นอสัญญี- สัตตพรหม นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๕ ๖. มีสัตว์ทั้งหลายผู้บรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศ หาที่สุดมิได้’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตต- สัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๖ ๗. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ วิญญาณัญจาญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ นี้เป็น สัตตาวาสที่ ๗ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ข้อ ๓๕๙ หน้า ๔๒๐ ในเล่มนี้, ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๒๗/๗๒, องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๔๔/๖๗-๖๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๕๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๙

๘. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ อากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๘ ๙. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๙
[๓๔๒] กาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์๑- ๙ ๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้แล้ว และ ทรงแสดงธรรม๒- ที่นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการ ตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศไว้แล้ว แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงนรก นี้เป็น กาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๑ ๒. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้แล้ว และ ทรงแสดงธรรมที่นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการ ตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศไว้แล้ว แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงกำเนิด สัตว์ดิรัจฉาน นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ข้อที่ ๒ ๓. พระตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงเปรตวิสัย นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๓ ๔. พระตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงอสุรกาย นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๔ ๕. พระตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงเทพนิกาย๓- ที่มีอายุยืนชั้นใด ชั้นหนึ่ง นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ข้อที่ ๕ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๒๙/๒๗๔-๒๗๖ @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๓๒๒ หน้า ๓๑๓ ในเล่มนี้ @ เทพนิกาย ในที่นี้หมายถึงเทพที่เป็นอสัญญีสัตว์ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๙/๒๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๕๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๙

๖. พระตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้กลับไปเกิดในปัจจันตชนบท อยู่ใน พวกมิลักขะผู้ไม่รู้เดียงสา ที่ไม่มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา ผ่านไปมา นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหม- จรรย์ข้อที่ ๖ ๗. พระตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท เป็น มิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์๑- ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้และโลก หน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ ก็ไม่มีในโลก นี้ก็เป็นกาล ที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๗ ๘. พระตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท เป็นคน มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นคนเซอะ ไม่สามารถจะรู้เนื้อความแห่ง สุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๘ ๙. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่เสด็จอุบัติขึ้นในโลก และไม่ทรง แสดงธรรมที่นำความสงบมาให้เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศแล้ว ถึงบุคคลนี้จะกลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท และเป็นผู้มีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เป็นคนเซอะ สามารถรู้เนื้อความแห่ง สุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๙ @เชิงอรรถ : @ โอปปาติกสัตว์ คือสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ(ตาย) ก็หายวับไป ไม่ทิ้งซากศพไว้ @เช่น เทวดาและสัตว์นรก (ที.สี.อ. ๑/๑๗๑/๑๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๕๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๙

[๓๔๓] อนุปุพพวิหารธรรม๑- (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ตามลำดับ) ๙ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะ ที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจาก สมาธิอยู่ ๓. เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย นามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ ๔. เพราะละสุขและทุกข์ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุ จตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ๕. บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดย ประการทั้งปวง ๖. ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตน- ฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ ๗. ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตน- ฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ๘. ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานา- สัญญายตนฌานอยู่ ๙. ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิต- นิโรธอยู่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๓๒/๔๙๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๕๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๑๐

[๓๔๔] อนุปุพพนิโรธ๑- (ความดับไปตามลำดับ) ๙ ๑. กามสัญญาของผู้เข้าปฐมฌานดับไป ๒. วิตก วิจารของผู้เข้าทุติยฌานดับไป ๓. ปีติของผู้เข้าตติยฌานดับไป ๔. ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกของผู้เข้าจตุตถฌานดับไป ๕. รูปสัญญาของผู้เข้าอากาสานัญจายตนฌานดับไป ๖. อากาสานัญจายตนสัญญาของผู้เข้าวิญญาณัญจายตนฌานดับไป ๗. วิญญาณัญจายตนสัญญาของผู้เข้าอากิญจัญญายตนฌานดับไป ๘. อากิญจัญญายตนสัญญาของผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานดับไป ๙. สัญญาและเวทนาของผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ๒- ดับไป ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ ๙ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
สังคีติหมวด ๙ จบ
สังคีติหมวด ๑๐
[๓๔๕] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๑๐ ประการ ที่พระผู้มี พระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้โดย ชอบแล้วมีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๓๑/๔๙๓ @ สัญญาเวทยิตนิโรธ หมายถึงสมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนามี ๒ คือ อสัญญาสมาบัติ และนิโรธสมาบัติ @ที่เป็นอสัญญาสมาบัติมีแก่ปุถุชน ที่เป็นนิโรธสมาบัติ มีเฉพาะแต่พระอนาคามีและพระอรหันต์ผู้ชำนาญ @ในสมาบัติ ๘ แล้วเท่านั้น จึงจะเข้าได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๕/๒๘๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๕๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๑๐

ธรรมหมวดละ ๑๐ ประการ คืออะไร คือ
นาถกรณธรรม๑- (ธรรมเครื่องกระทำที่พึ่ง) ๑๐ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระ (มารยาท)และโคจร(การเที่ยวไป) มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการ สังวรในพระปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัย ในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เป็นนาถ- กรณธรรม ๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลายที่มี ความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบ ถ้วน แล้วทรงจำไว้ได้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ๒- แม้การที่ ภิกษุเป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ๓. เป็นผู้มีมิตรดี๓- มีสหายดี๔- มีเพื่อนดี๕- แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ๔. เป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วย @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๗/๓๑-๓๓ @ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิหมายถึงรู้แจ้งธรรมโดยผลและเหตุด้วยปัญญา (ที.ปา.อ. ๓๔๕/๒๔๖, @องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๒/๓๐๐) @ มิตรดี หมายถึงมิตรที่มีคุณธรรม คือ ศีล เป็นต้น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒) @ สหายดี หมายถึงเพื่อนร่วมงานที่ดี (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒) @ เพื่อนดี หมายถึงเพื่อนที่รักใคร่สนิทสนม รู้ใจกัน ซื่อสัตย์ต่อกัน (ที.ปา.อ. ๓๔๕/๒๔๖, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๕๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๑๐

ธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ นี้ ก็เป็นนาถกรณธรรม ๕. เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำทั้งงานสูงและ งานต่ำ๑- ของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง พิจารณาอันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น สามารถทำได้ สามารถจัดได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะ ต้องช่วยกันทำทั้งงานสูงและงานต่ำของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ฯลฯ สามารถทำได้ สามารถจัดได้ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ๖. เป็นผู้ใคร่ธรรม๒- เป็นผู้ฟังและผู้แสดงธรรมอันเป็นที่พอใจ มีความ ปราโมทย์อย่างยิ่งในพระอภิธรรม๓- ในพระอภิวินัย๔- แม้การที่ภิกษุเป็น ผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟังและผู้แสดงธรรมอันเป็นที่พอใจ มีความปราโมทย์ อย่างยิ่งในพระอภิธรรม ในพระอภิวินัย นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ๗. เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชช- บริขารตามแต่จะได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้ นี้ก็เป็นนาถ- กรณธรรม ๘. เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความ เข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรม เกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม @เชิงอรรถ : @ งานสูง หมายถึงงานย้อมจีวร หรืองานโบกทาพระเจดีย์ ตลอดถึงงานที่จะต้องช่วยกันทำที่โรงอุโบสถ @เรือนพระเจดีย์ เรือนต้นโพธิ์ เป็นต้น งานต่ำ หมายถึงงานเล็กน้อย มีล้างเท้า และนวดเท้า เป็นต้น @(ที.ปา.อ. ๓๔๕/๒๔๖, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒) @ ผู้ใคร่ธรรม ในที่นี้หมายถึงรักพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎก (ที.ปา.อ. ๓๔๕/๒๔๗, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒) @ พระอภิธรรม หมายถึงสัตตัปปกรณธรรม คือพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ หรืออีกนัยหนึ่ง คือ มรรค ๔ และ @ผล ๔ (ที.ปา.อ. ๓๔๕/๒๔๗, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๓) @ พระอภิวินัย หมายถึงขันธกบริวาร หรืออีกนัยหนึ่ง หมายถึงธรรมที่เป็นเครื่องระงับกิเลส @(ที.ปา.อ. ๓๔๕/๒๔๗, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๖๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๑๐

๙. เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน๑- อย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำและ คำที่พูดแม้นาน นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ๑๐. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความ เกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา เห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้น ทุกข์โดยชอบ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
[๓๔๖] กสิณายตนะ๒- (บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์) ๑๐ ๑. บุคคลหนึ่งจำปฐวีกสิณ (กสิณคือดิน)ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ ๒. บุคคลหนึ่งจำอาโปกสิณ (กสิณคือน้ำ)ได้ ... ๓. บุคคลหนึ่งจำเตโชกสิณ (กสิณคือไฟ)ได้ ... ๔. บุคคลหนึ่งจำวาโยกสิณ (กสิณคือลม)ได้ ... ๕. บุคคลหนึ่งจำนีลกสิณ (กสิณคือสีเขียว)ได้ ... ๖. บุคคลหนึ่งจำปีตกสิณ (กสิณคือสีเหลือง)ได้ ... ๗. บุคคลหนึ่งจำโลหิตกสิณ (กสิณคือสีแดง)ได้ ... ๘. บุคคลหนึ่งจำโอทาตกสิณ (กสิณคือสีขาว)ได้ ... @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๓๓๑ หน้า ๓๑๓ ในเล่มนี้ @ บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์ หมายถึงที่เกิดหรือที่เป็นไปแห่งธรรมทั้งหลายโดยบริกรรมกสิณ @เป็นอารมณ์ คำว่า กสิณ หมายถึงวัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงใจให้เป็นสมาธิ (ที.ปา.อ. ๓๔๖/๒๔๗, @องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๕/๓๓๓, องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๒๕/๓๙๕) และดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๕/๕๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๖๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๑๐

๙. บุคคลหนึ่งจำอากาสกสิณ (กสิณคือความว่าง)ได้ ... ๑๐. บุคคลหนึ่งจำวิญญาณกสิณ (กสิณคือวิญญาณ)ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ
[๓๔๗] อกุศลกรรมบถ๑- (ทางแห่งอกุศลกรรม) ๑๐ ๑. ปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์) ๒. อทินนาทาน (การลักทรัพย์) ๓. กาเมสุมิจฉาจาร (การประพฤติผิดในกาม) ๔. มุสาวาท (การพูดเท็จ) ๕. ปิสุณาวาจา (การพูดส่อเสียด) ๖. ผรุสวาจา (การพูดคำหยาบ) ๗. สัมผัปปลาปะ (การพูดเพ้อเจ้อ) ๘. อภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยากได้ของของเขา) ๙. พยาบาท (ความคิดร้าย) ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด)
กุศลกรรมบถ๒- (ทางแห่งกุศลกรรม) ๑๐ ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์) ๒. อทินนาทานา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์) ๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม) ๔. มุสาวาทา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ) ๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดส่อเสียด) ๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดคำหยาบ) ๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๗๘/๓๓๐ @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๗๘/๓๓๐-๓๓๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๖๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๑๐

๘. อนภิชฌา (ความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของของเขา) ๙. อพยาบาท (ความไม่คิดร้าย) ๑๐. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)
[๓๔๘] อริยวาส๑- (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ) ๑๐ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ละองค์ ๕ ได้ ๒. เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ ๓. เป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก ๔. เป็นผู้มีอปัสเสนธรรม (ธรรมเป็นดุจพนักพิง) ๔ ประการ ๕. เป็นผู้มีปัจเจกสัจจะ๒- อันบรรเทาได้ ๖. เป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี ๗. เป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว ๘. เป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้ ๙. เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี ๑๐. เป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี ภิกษุเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละกามฉันทะ(ความพอใจในกาม) ได้ เป็นผู้ ละพยาบาท (ความคิดร้าย) ได้ เป็นผู้ละถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม)ได้ เป็นผู้ ละอุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) ได้ เป็นผู้ละวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) ได้ ภิกษุเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้ เป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๐/๓๙-๔๒ @ ปัจเจกสัจจะ หมายถึงความเห็นส่วนตัวของแต่ละคนที่แตกต่างกันไปโดยยึดถือว่า “ความเห็นนี้เท่านั้นจริง @ความเห็นนี้เท่านั้นจริง” (ที.ปา.อ. ๓๔๘/๒๕๑, องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๐/๓๒๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๖๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๑๐

ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรส ทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่ เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบด้วยใจที่รักษาด้วยสติ ภิกษุเป็นผู้มี ธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีอปัสเสนธรรม ๔ ประการ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พิจารณาแล้วเสพอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้ว อดกลั้น อย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วบรรเทาอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้นอย่างหนึ่ง๑- ภิกษุเป็น ผู้มีอปัสเสนธรรม ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีปัจเจกสัจจะอันบรรเทาได้ เป็นอย่างไร คือ ปัจเจกสัจจะเป็นอันมากของสมณพราหมณ์จำนวนมากที่มีอยู่ทั้งหมด ภิกษุ ในพระธรรมวินัยนี้บรรเทาได้ กำจัดได้ สละได้ คลายได้ ปล่อยวางได้ ละได้ สละคืนได้ ภิกษุเป็นผู้มีปัจเจกสัจจะอันบรรเทาได้ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละการแสวงหากามได้ ละการแสวงหาภพได้ ระงับการแสวงหาพรหมจรรย์ได้ ภิกษุเป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละความดำริในกามได้ เป็นผู้ละความดำริ ในพยาบาทได้ เป็นผู้ละความดำริในวิหิงสาได้ ภิกษุเป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว เป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ พิจารณาแล้วเสพ หมายถึงพิจารณาแล้วใช้สอยปัจจัย ๔ มีจีวร เป็นต้น พิจารณาแล้วอดกลั้น หมายถึง @พิจารณาแล้วอดกลั้นต่อความหนาว เป็นต้น พิจารณาแล้วบรรเทา หมายถึงพิจารณาแล้วบรรเทา @อกุศลวิตก มีกามวิตก (ความตรึกในทางกาม) เป็นต้น พิจารณาแล้วเว้น หมายถึงพิจารณาแล้วเว้นช้าง @ดุร้าย หรือคนพาล เป็นต้น (ที.ปา.อ. ๓๐๘/๒๐๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๖๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๑๐

ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส ดับไปก่อนแล้ว จึงบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ อุเบกขาอยู่ ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นจากราคะ มีจิตหลุดพ้นจาก โทสะ มีจิตหลุดพ้นจากโมหะ ภิกษุเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้ชัดว่า ‘ราคะเราละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป ไม่ได้’ รู้ชัดว่า ‘โทสะเราละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้’ รู้ชัดว่า ‘โมหะเราละได้ เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้’ ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างนี้แล
อเสขธรรม๑- (ธรรมที่เป็นอเสขะ) ๑๐ ๑. สัมมาทิฏฐิ๒- ที่เป็นอเสขะ ๒. สัมมาสังกัปปะที่เป็นอเสขะ ๓. สัมมาวาจาที่เป็นอเสขะ @เชิงอรรถ : @ อเสขธรรม หมายถึงธรรมที่เป็นผลและธรรมที่สัมปยุตด้วยธรรมเป็นผลนั้น เป็นธรรมระดับโลกุตตระของ @พระอเสขะ คือพระอรหันตขีณาสพ (ที.ปา.อ. ๓๔๘/๒๕๒, ที.ปา.ฏีกา ๓๔๘/๓๔๙, @องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๒/๓๒๐, ๓/๑๑๒/๓๗๔) และดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๑๑/๒๕๖ @ สัมมาทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงปัญญาที่ทำหน้าที่เห็นอารมณ์ของตนถูกต้อง (ที.ปา.อ. ๓๔๘/๒๕๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๖๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๑๐

๔. สัมมากัมมันตะที่เป็นอเสขะ ๕. สัมมาอาชีวะที่เป็นอเสขะ ๖. สัมมาวายามะที่เป็นอเสขะ ๗. สัมมาสติที่เป็นอเสขะ ๘. สัมมาสมาธิที่เป็นอเสขะ ๙. สัมมาญาณะ๑- ที่เป็นอเสขะ ๑๐. สัมมาวิมุตติที่เป็นอเสขะ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ ๑๐ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น เพื่อให้พรหมจรรย์นี้ ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่ คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย”
สังคีติหมวด ๑๐ จบ
[๓๔๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นแล้ว ตรัสกับท่านพระสารีบุตร ดังนี้ว่า “ดีละ ดีละ ดีแท้ สารีบุตร ที่เธอกล่าวสังคีติปริยาย(แนวทางแห่งการ สังคายนา)แก่ภิกษุทั้งหลาย” ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวสังคีติปริยายนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย และภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของท่าน พระสารีบุตรแล้วแล
สังคีติสูตรที่ ๑๐ จบ
@เชิงอรรถ : @ สัมมาญาณะ ในที่นี้หมายถึงปัญญาที่ทำหน้าที่รู้อารมณ์ของตนถูกต้อง ทั้งสัมมาทิฏฐิและสัมมาญาณะ @ในพระสูตรนี้หมายถึงปัญญาเหมือนกัน แต่ทำหน้าที่ต่างกัน @(ที.ปา.อ. ๓๔๘/๒๕๒, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๑/๓๗๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๖๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๒๔๗-๓๖๖. http://84000.org/tipitaka/_mcu/m_siri.php?B=11&siri=10              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11], [12], [13], [14], [15], [16], [17], [18], [19], [20], [21], [22], [23], [24], [25], [26], [27], [28], [29], [30], [31], [32], [33].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/_mcu/v.php?B=11&A=4501&Z=7015                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=221              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=11&item=221&items=143              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=6&A=4096              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=11&item=221&items=143              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=6&A=4096                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/dn33/en/sujato https://suttacentral.net/dn33/en/tw-caf_rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :