ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๘. ฉันนสูตร
ว่าด้วยพระฉันนะ
[๙๐] สมัยหนึ่ง พระเถระจำนวนมากอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขต กรุงพาราณสี ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระฉันนะออกจากที่หลีกเร้นแล้ว ถือลูกดาล เดินเข้าออกวิหารกล่าวว่า “ขอท่านทั้งหลาย จงตักเตือน พร่ำสอน แสดง ธรรมีกถาแก่ผม พอที่ผมจะเห็นธรรมได้” เมื่อท่านพระฉันนะกล่าวอย่างนี้แล้ว พระเถระทั้งหลายได้กล่าวกับท่านว่า “ท่านฉันนะ รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง รูปเป็นอนัตตา เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นอนัตตา สังขาร ทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๗๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๘. ฉันนสูตร

ลำดับนั้น ท่านพระฉันนะได้มีความคิดว่า “แม้เราก็มีความคิดว่า ‘รูป ไม่เที่ยง เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณไม่เที่ยง รูปเป็นอนัตตา เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นอนัตตา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา’ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละอุปธิทั้งปวง เป็นที่ สิ้นตัณหา เป็นที่สำรอกราคะ เป็นที่ดับ(ทุกข์) เป็นที่ดับ(ตัณหา) ความสะดุ้งกลัว และอุปาทานก็เกิดขึ้น ใจจึงท้อถอย เมื่อเป็นเช่นนี้ อะไรเล่าเป็นอัตตาของเรา แต่ความคิดอย่างนี้ย่อมไม่มีแก่ผู้เห็นธรรม ใครเล่าจะแสดงธรรมแก่เรา พอที่เรา จะเห็นธรรมได้” ลำดับนั้น ท่านพระฉันนะได้มีความคิดต่อไปว่า “ท่านอานนท์นี้อยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ซึ่งพระศาสดาทรงสรรเสริญและเพื่อนพรหมจารี ทั้งหลายผู้เป็นวิญญูชนก็ยกย่อง จะสามารถแสดงธรรมแก่เรา พอที่เราจะเห็นธรรมได้ อนึ่ง เราก็มีความคุ้นเคยในท่านอานนท์มาก ทางที่ดี เราควรเข้าไปหาท่านอานนท์ ถึงที่อยู่” ต่อมา ท่านพระฉันนะเก็บงำเสนาสนะแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปหาท่าน พระอานนท์ถึงโฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวว่า “ท่านอานนท์ สมัยหนึ่ง ผมอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ครั้นในเวลาเย็น ผมออกจากที่หลีกเร้น ถือลูกดาลเดินเข้าออกวิหารได้กล่าวว่า ‘ขอท่านทั้งหลาย จงตักเตือน พร่ำสอน แสดงธรรมีกถาแก่ผม พอที่ผมจะเห็น ธรรมได้’ เมื่อผมกล่าวอย่างนี้แล้ว พระเถระทั้งหลายได้กล่าวว่า ‘ฉันนะ รูปไม่เที่ยง เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณไม่เที่ยง รูปเป็นอนัตตา ฯลฯ วิญญาณเป็นอนัตตา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา’ ท่านผู้มีอายุ ผมได้มีความคิดว่า ‘แม้เราก็มีความคิดว่า ‘รูปไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง รูปเป็นอนัตตา เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เป็นอนัตตา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา’ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ จิต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๗๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๘. ฉันนสูตร

ของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สำรอกราคะ เป็นที่ดับ(ทุกข์) เป็นที่ดับ (ตัณหา) ความสะดุ้งกลัวและอุปาทานก็เกิดขึ้น ใจจึงท้อถอย เมื่อเป็นเช่นนี้ อะไรเล่าเป็น อัตตาของเรา แต่ความคิดอย่างนี้ย่อมไม่มีแก่ผู้เห็นธรรม ใครเล่าจะแสดงธรรม แก่เรา พอที่เราจะเห็นธรรมได้’ ท่านผู้มีอายุ ผมได้มีความคิดต่อไปว่า ‘ท่านอานนท์นี้อยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ซึ่งพระศาสดาทรงสรรเสริญและเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้เป็น วิญญูชนก็ยกย่อง จะสามารถแสดงธรรมแก่เรา พอที่เราจะเห็นธรรมได้ อนึ่ง เรา ก็มีความคุ้นเคยในท่านอานนท์มาก ทางที่ดี เราควรเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่’ ขอท่านอานนท์จงตักเตือน พร่ำสอน แสดงธรรมีกถาแก่ผม พอที่ผมจะเห็นธรรม ได้เถิด” ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ผมก็พอใจยินดีกับท่านฉันนะ ท่านฉันนะได้ทำความเห็นให้ชัดแจ้ง ทำลายความดื้อดึงแล้ว ท่านฉันนะ ท่านจงเงี่ย โสตลง ท่านสมควรจะรู้ธรรมได้อย่างแจ่มแจ้ง” ลำดับนั้น ปีติและปราโมทย์อย่างยิ่ง ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระฉันนะด้วยเหตุ เพียงเท่านั้นว่า “เราสมควรจะรู้ธรรมได้อย่างแจ่มแจ้ง” ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “ท่านฉันนะ ผมได้สดับคำนี้มาเฉพาะพระพักตร์ ของพระผู้มีพระภาคผู้ตรัสสอนภิกษุกัจจานโคตรอยู่ว่า ‘กัจจานะ โดยมาก โลกนี้ อาศัยที่สุด ๒ อย่าง คือ (๑) ความมี (๒) ความไม่มี ก็เมื่อบุคคลเห็นความเกิดขึ้นของโลกด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง ความไม่มีในโลกก็ไม่มี เมื่อบุคคลเห็นความดับของโลกด้วยปัญญาอันชอบตาม ความเป็นจริง ความมีในโลกก็ไม่มี กัจจานะ โดยมาก โลกนี้พัวพันอยู่ด้วยอุบายและความยึดมั่นอันเป็นเหตุ ถือมั่น แต่อริยสาวกนี้ไม่เข้าไปยึดมั่นอุบายและความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้ง มั่นถือมั่นและนอนเนื่องว่า ‘อัตตาของเรา’ ไม่เคลือบแคลง ไม่สงสัยว่า ‘ทุกข์นั่น แลเมื่อเกิดย่อมเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับย่อมดับไป’ อริยสาวกนั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่อง นี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๗๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๙. ราหุลสูตร

กัจจานะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ จัดว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ กัจจานะ ที่สุดอย่างที่ ๑ นี้ คือ สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ที่สุดอย่างที่ ๒ นี้ คือ สิ่งทั้งปวงไม่มี ตถาคตไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้ง ๒ นี้แสดงธรรมโดยสายกลางว่า ‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้ เพราะอวิชชานั่นแลดับ ไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความ ดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้” ท่านพระฉันนะกล่าวว่า “ท่านอานนท์ ข้อที่เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้เช่น กับท่านเป็นผู้อนุเคราะห์ มุ่งประโยชน์ ว่ากล่าว พร่ำสอน ย่อมเป็นอย่างนั้น และเพราะได้ฟังธรรมเทศนานี้ของท่านอานนท์ ผมจึงได้บรรลุธรรม”
ฉันนสูตรที่ ๘ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๗๑-๑๗๔. http://84000.org/tipitaka/_mcu/m_siri.php?B=17&siri=90              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/_mcu/v.php?B=17&A=2963&Z=3028                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=231              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=231&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=7643              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=231&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=7643                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i193-e.php#sutta8 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn22/sn22.090.than.html https://suttacentral.net/sn22.90/en/sujato https://suttacentral.net/sn22.90/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :