ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 1 / 1อ่านอรรถกถา 1 / 121อรรถกถา เล่มที่ 1 ข้อ 122อ่านอรรถกถา 1 / 125อ่านอรรถกถา 1 / 657
อรรถกถา ทุติยปาราชิกสิกขาบท
อาการแห่งอวหาร

               อาปตฺติเภทกถา               
               การพรรณนาบทภาชนีย์               
               บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงองค์แห่งอทินนาทานที่ตรัสไว้ด้วยอำนาจแห่งกิริยาที่ให้เคลื่อนจากฐาน ในทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในพื้นดินเป็นต้นนั้นๆ และความต่างแห่งอาบัติ กับความต่างกันแห่งวัตถุ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ปญฺจหากเรหิ ดังนี้.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจหากาเรหิ ได้แก่ ด้วยเหตุ ๕ อย่าง. มีคำอธิบายว่า ด้วยองค์ ๕.
               ในคำว่า ปญฺจหากาเรหิ เป็นต้นนั้นมีเนื้อความย่อดังต่อไปนี้ :-
               คือ ปาราชิกย่อมมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการ ๕ อย่างที่ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า ทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑ เพราะไม่ครบองค์ ๕ นั้น จึงไม่เป็นปาราชิก.
               ในคำนั้นมีอาการ ๕ อย่างเหล่านี้ คือ
                         ทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑
                         เข้าใจว่าทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑
                         ความที่บริขารเป็นครุภัณฑ์ ๑
                         มีไถยจิต ๑
                         การทำให้เคลื่อนจากฐาน ๑.
               ส่วนในบริขารที่เป็นลหุภัณฑ์ ท่านแสดงถุลลัจจัยและทุกกฏไว้โดยความต่างกันแห่งวัตถุ ด้วยวาระทั้ง ๒ อื่นจากอาการ ๕ อย่างนี้.

               [อาการ ๖ อย่างที่ให้ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก]               
               แม้ในวาระทั้ง ๓ ที่ท่านตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า ฉหากาเรหิ ก็ควรทราบอาการ ๖ อย่างนี้ คือ
                         มิใช่มีความสำคัญว่าเป็นของตน ๑
                         มิใช่ถือเอาด้วยวิสาสะ ๑
                         มิใช่ขอยืม ๑
                         ความที่บริขารเป็นครุภัณฑ์ ๑
                         มีไถยจิต ๑
                         การทำให้เคลื่อนจากฐาน ๑.
               ก็บรรดาวารทั้ง ๓ แม้นี้ในปฐมวาร ท่านปรับเป็นปาราชิก ทุติยวารและตติยวารท่านปรับเป็นถุลลัจจัยและทุกกฏ โดยความต่างกันแห่งวัตถุ.
               ส่วนในความต่างกันแห่งวัตถุ แม้ที่มีอยู่ในวารทั้ง ๓ อื่นจาก ๓ วารนั้น ท่านปรับเป็นทุกกฏอย่างเดียว เพราะเป็นวัตถุอันชนเหล่าอื่นไม่ได้หวงแหน.
               วัตถุที่ท่านกล่าวใน ๓ วารนั้นว่า มิใช่ของอันผู้อื่นหวงแหน จะเป็นวัตถุที่ยังมิได้ครอบครองก็ตาม จะเป็นของที่เขาทิ้งแล้วหมดราคา หาเจ้าของมิได้ หรือจะเป็นของๆ ตนก็ตาม, วัตถุแม้ทั้ง ๒ ย่อมถึงความนับว่า มิใช่ของอันผู้อื่นหวงแหน. ก็ในทรัพย์ ๒ อย่างนี้มีความสำคัญว่า ทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหนไว้ ๑ ถือเอาด้วยไถยจิต ๑ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงไม่กล่าวอนาบัติไว้ ฉะนี้แล.

               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ทุติยปาราชิกสิกขาบท อาการแห่งอวหาร จบ.
อ่านอรรถกถา 1 / 1อ่านอรรถกถา 1 / 121อรรถกถา เล่มที่ 1 ข้อ 122อ่านอรรถกถา 1 / 125อ่านอรรถกถา 1 / 657
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=1&A=6611&Z=6650
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=1&A=9506
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=1&A=9506
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๙  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๕
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :