ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 4 / 1อ่านอรรถกถา 4 / 136อรรถกถา เล่มที่ 4 ข้อ 139อ่านอรรถกถา 4 / 143อ่านอรรถกถา 4 / 252
อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๑ มหาขันธกะ
อุปสมบทกรรม

               อรรถกถาเอกานุสสาวนากถา               
               สองบทว่า โคตฺเตนปิอนุสฺสาเวตุํ มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุระบุโคตรสวดประกาศอย่างนี้ว่า ผู้มีชื่ออย่างนี้เพ่งอุปสมบทแก่พระมหากัสสปะ.
               สองบทว่า เทฺว เอกานุสฺสาวเน มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุทำการสวดประกาศอุปสัมปทาเปกขะ ๒ คนรวมกันได้. อธิบายว่า เราอนุญาตให้อาจารย์ ๒ รูปอย่างนี้ คือ อาจารย์รูป ๑ สำหรับอุปสัมปทาเปกขะคน ๑ อาจารย์อื่นสำหรับอุปสัมปทาเปกขะอีกคน ๑ หรืออาจารย์รูปเดียวสวดกรรมวาจาประกาศให้อุปสมบทในขณะเดียวกันได้.
               คำว่า เทฺว เทฺว ตโย เอกานุสฺสาวเน กาตุตญฺจ โข เอเกน อุปชฺฌาเยน มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุทำการสวดประกาศชน ๒ คนหรือ ๓ คนรวมกันโดยนัยก่อนนั่นแล. และเราอนุญาตอนุสสาวนกิริยานั้นแลด้วยอุปัชฌาย์รูปเดียว. เพราะเหตุนั้น อุปสัมปทาเปกขะ ๒ คนหรือ ๓ คนอันอาจารย์รูปเดียว. พึงสวดประกาศ กรรมวาจา ๒ หรือ ๓ อันอาจารย์ ๒ รูปหรือ ๓ รูป พึงสวดด้วยลงมือพร้อมกันทีเดียวอย่างนี้ คือ อาจารย์รูป ๑ พึงสวดแก่อุปสัมปทาเปกขะรูป ๑ แยกๆ กันไป.
               แต่ถ้าอาจารย์ก็ต่างรูป อุปัชฌาย์ก็ต่างรูปกัน คือพระติสสเถระสวดประกาศสัทธิวิหาริกของพระสุมนเถระ พระสุมนเถระสวดประกาศสัทธิวิหาริกของพระติสสเถระ และต่างเป็นคณปูรกะของกันและกัน อย่างนี้ควร. และถ้าอุปัชฌาย์ต่างรูปกัน อาจารย์รูปเดียว อย่างนี้ชื่อว่าไม่ควร เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามไว้ว่า แต่เราไม่อนุญาตด้วยอุปัชฌาย์ต่างรูปกันเลย ดังนี้ จริงอยู่ การห้ามนี้หมายเอาคำบาลีนี้.

               อรรถกถาอุปสัมปทายัตตวิธี               
               พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปฐมํ อุปชฺฌํ คาหาเปตพฺโพ นี้ต่อไป
               ภิกษุใดย่อมสอดส่องโทษและมิใช่โทษ เหตุนั้น ภิกษุนั้นชื่ออุปัชฌาย์. อุปสัมปทาเปกขะนั้น อันภิกษุพึงให้ว่าถืออุปัชฌาย์นั้นอย่างนี้ว่า ขอท่านเป็นอุปัชฌาย์ของข้าพเจ้าเถิดเจ้าข้า.
               บทว่า วิตฺถายนฺติ มีความว่า อุปสัมปทาเปกขะทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้มีตัวแข็งทื่อ.
               สองบทว่า อุลฺลุมฺปตุ มํ มีความว่า ขอสงฆ์ยกข้าพเจ้าขึ้นเถิด.
               ศัพท์ ตาวเทว มีความว่า ในเวลาติดต่อกับเวลาที่อุปสัมปทาเปกขะอุปสมบทแล้วทีเดียว.
               ข้อว่า ฉายา เมตพฺพา มีความว่า พึงวัดเงาว่าชั่วบุรุษ ๑ หรือว่า ๒ ชั่วบุรุษ
               ข้อว่า อุตุปฺปมาณํ อาจิกฺขิตพฺพํ มีความว่า พึงบอกประมาณฤดูอย่างนี้ว่า ฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูนั่นเองชื่อประมาณแห่งฤดูในคำนี้. ถ้าฤดูทั้งหลายมีฤดูฝนเป็นต้นยังไม่เต็ม ฤดูใดของอุปสัมบันใดยังไม่เต็มด้วยวันมีประมาณเท่าใด, พึงกำหนดวันเหล่านั้น แห่งฤดูนั้น แล้วบอกส่วนแห่งวัน แก่อุปสัมบันนั้น.
               อีกประการหนึ่ง พึงบอกประมาณฤดูอย่างนี้ว่า ฤดูชื่อนี้ทั้งฤดูนั้นแลเต็มหรือยังไม่เต็ม พึงบอกส่วนแห่งวันอย่างนี้ว่า เช้าหรือเย็น.
               บทว่า สงฺคีติ เป็นต้น มีความว่า พึงประมาณการบอกทั้งหมดมีบอกกำหนดเงาเป็นต้นนี้แลเข้าด้วยกันบอกอย่างนี้ว่า เธออันใครๆ ถามว่า ท่านได้ฤดูอะไร? เงาของท่านเท่าไร? ประมาณฤดูของท่านอย่างไร? ส่วนแห่งวันของท่านเท่าไร? ดังนี้ พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ฤดูชื่อนี้ คือฤดูฝนก็ตาม ฤดูหนาวก็ตาม ฤดูร้อนก็ตาม เงาของข้าพเจ้าเท่านี้ ประมาณฤดูเท่านี้ ส่วนแห่งวันเท่านี้.
               บทว่า โอหาย ได้แก่ ทิ้ง.
               สองบทว่า ทุติยํทาตุํ มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุให้เป็นเพื่อนแก่ภิกษุผู้อุปสมบทใหม่ ซึ่งจะไปสู่บริเวณจากโรงที่อุปสมบทและให้บอกอกรณียกิจ ๔.
               บทว่า ปณฺฑุปลาโส ได้แก่ ใบไม้มีสีเหลือง.
               สองบทว่า พนฺธนา ปมุตฺโต ได้แก่ หล่นแล้วจากขั้ว.
               สองบทว่า อภพฺโพ หริตตฺตาย มีความว่า ไม่อาจเป็นของเขียวสดอีก.
               สองบทว่า ปุถุสิลา ได้แก่ ศิลาใหญ่.
               ข้อว่า อลพฺภมานาย สามคฺคิยา อนาปตฺติ สมฺโภเค สํวาเส มีความว่า ความพร้อมเพรียงเพื่อประโยชน์แก่การทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุนั้น อันภิกษุยังไม่ได้เพียงใด ไม่เป็นอาบัติในเพราะกินร่วม๑- และอยู่ร่วมต่างโดยทำอุโบสถ และปวารณาเป็นต้นกับภิกษุนั้น เพียงนั้น.
               คำที่เหลือทุกแห่งนับว่าปรากฏแล้วแท้ เพราะเป็นคำที่จะพึงทราบได้ง่าย โดยทำนองที่กล่าวไว้แล้วในมหาวิภังค์ ด้วยประการฉะนี้.
____________________________
๑- สมฺโภเคติ ธมฺมสมฺโภเค อามิสสมฺโภเค จาติ สารตฺถทีปนี.

               คำอธิบายความแห่งมหาขันธกะ               
               อันประดับด้วย ๑๗๒ เรื่องในอรรถกถาแห่งพระวินัย               
               ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๑ มหาขันธกะ อุปสมบทกรรม จบ.
อ่านอรรถกถา 4 / 1อ่านอรรถกถา 4 / 136อรรถกถา เล่มที่ 4 ข้อ 139อ่านอรรถกถา 4 / 143อ่านอรรถกถา 4 / 252
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=4&A=3739&Z=3869
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=2313
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=2313
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๘  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๖
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :