ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 4 / 1อ่านอรรถกถา 4 / 204อรรถกถา เล่มที่ 4 ข้อ 205อ่านอรรถกถา 4 / 210อ่านอรรถกถา 4 / 252
อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๑ วัสสูปนายิกขันธกะ
เรื่องภิกษุหลายรูป การจำพรรษา ๒ อย่างเป็นต้น

               อรรถกถาวัสสูปนายิกขันธกะ               
               วินิจฉัยในเรื่องวัสสูปนายิกขันธกะ พึงทราบดังนี้ :-
               บทว่า อปฺปญฺญตฺโต ได้แก่ ยังมิได้ทรงอนุญาต หรือว่ายังมิได้ทรงจัด.
               สองบทว่า เตธ ภิกฺขู ได้แก่ ภิกษุทั้งหลายนั้น. อิธ ศัพท์ เป็นเพียงนิบาต.
               สัตว์ทั้งหลายผู้อาจไปในอากาศชื่อว่านก.
               บทว่า สงฺกาสยิสฺสนฺติ ความว่า นกทั้งหลาย ก็จักขวนขวายน้อยอยู่ประจำที่.
               สองบทว่า สงฺฆาตํ อาปาเทนฺตา ได้แก่ ให้ถึงความพินาศ.
               หลายบทว่า วสฺสาเน วสฺสํอุปคนฺตุํ ความว่า เพื่อเข้าจำพรรษาตลอด ๓ เดือนในฤดูฝน.
               หลายบทว่า กติ นุ โข วสฺสูปนายิกา ความว่า วันเข้าพรรษามีเท่าไรหนอ?
               วินิจฉัยในคำว่า อุปรชฺชุคตาย อาสาฬฺหิยา พึงทราบดังนี้ :-
               วัน ๑ แห่งดิถีเพ็ญเดือนอาสาฬหะนั้น ซึ่งล่วงไปแล้ว เพราะเหตุนั้น ดิถีเพ็ญเดือนอาสาฬหะนั้น จึงชื่อว่า มีวัน ๑ ล่วงไปแล้ว. เมื่อดิถีเพ็ญเดือนอาสาฬหะนั้นล่วงไปแล้ว คือก้าวล่วงแล้ววัน ๑. อธิบายว่า ในวันแรมค่ำ ๑
               แม้ในนัยที่ ๒ ก็มีความว่า เดือน ๑ แห่งดิถีเพ็ญเดือนอาสาฬหะนั้น ซึ่งล่วงไปแล้ว เพราะเหตุนั้น ดิถีเพ็ญเดือนอาสาฬหะนั้น จึงชื่อว่ามีเดือน ๑ ล่วงไปแล้ว. เมื่อดิถีเพ็ญเดือนอาสาฬหะนั้นล่วงไปแล้ว คือก้าวล่วงแล้วเดือน ๑.
               อธิบายว่า เมื่อเดือน ๑ เต็มบริบูรณ์. เพราะเหตุนั้น ในวันแรมค่ำ ๑ ซึ่งถัดจากวันกลางเดือน ๘ หรือในวันแรมค่ำ ๑ ซึ่งถัดจากวันกลางเดือน ๙ จากเพ็ญเดือน ๘ นั่นแล อันภิกษุผู้จะจำพรรษา พึงจัดแจงวิหารแล้วตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ พึงทำสามีจิกรรมมีกราบไหว้พระเจดีย์เป็นต้นทั้งปวงให้เสร็จแล้ว พึงเปล่งวาจาว่า อิมสฺมึ วิหาเร อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ ดังนี้ ครั้ง ๑ หรือ ๒ ครั้งแล้ว จำพรรษาเถิด.
               วินิจฉัยในคำว่า โย ปกฺกเมยฺย นี้ พึงทราบดังนี้ :-
               พึงทราบว่า ต้องอาบัติ เพราะไม่มีอาลัย หรือเพราะให้อรุณขึ้นในที่อื่น.
               วินิจฉัยในคำว่า โย อติกฺกเมยฺย นี้ พึงทราบดังนี้ :-
               พึงทราบว่า เป็นอาบัติหลายตัว ด้วยนับวัด.
               ก็ถ้าว่า ในวันนั้น เธอเข้าไปยังอุปจารวัด ๑๐๐ ตำบลแล้วเลยไปเสีย พึงทราบว่า เป็นอาบัติ ๑๐๐ ตัว แต่ถ้าว่า เลยอุปจารวัดไปแล้ว แต่ยังไม่ทันเข้าอุปจารวัดอื่น กลับมาเสีย พึงทราบว่า ต้องอาบัติตัวเดียวเท่านั้น. ภิกษุผู้ไม่จำพรรษาต้น เพราะอันตรายบางอย่างต้องจำพรรษาหลัง.
               สองบทว่า วสฺสํ อุกฺกฑฺฒิตุกาโม ความว่า มีพระประสงค์จะเลื่อนเดือนต้นฤดูฝนออกไป. อธิบายว่า มีพระประสงค์จะไม่นับเดือน ๙ จะให้นับเป็นเดือน ๘ อีก.
               สองบทว่า อาคเม ชุณฺเห มีอธิบายว่า ในเดือนอธิกมาส.
               วินิจฉัยในข้อว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว ราชูนํ อนุวตฺติตุํ นี้พึงทราบดังนี้ :-
               พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตเพื่ออนุวัตรตาม ด้วยทรงทำในพระหฤทัยว่า ชื่อว่าความเสื่อมเสียสักนิดหน่อย ย่อมไม่มีแก่ภิกษุทั้งหลาย เพราะเลื่อนกาลฝนออกไป. เพราะฉะนั้น ภิกษุควรอนุวัตรตามในกรรมที่เป็นธรรมอย่างอื่นได้ แต่ไม่ควรอนุวัตรตามแก่ใครๆ ในกรรมอันไม่เป็นธรรมฉะนี้แล.

               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๑ วัสสูปนายิกขันธกะ เรื่องภิกษุหลายรูป การจำพรรษา ๒ อย่างเป็นต้น จบ.
อ่านอรรถกถา 4 / 1อ่านอรรถกถา 4 / 204อรรถกถา เล่มที่ 4 ข้อ 205อ่านอรรถกถา 4 / 210อ่านอรรถกถา 4 / 252
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=4&A=5450&Z=5501
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=3289
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=3289
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๒  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๖
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :