ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 5 / 1อ่านอรรถกถา 5 / 146อรรถกถา เล่มที่ 5 ข้อ 147อ่านอรรถกถา 5 / 148อ่านอรรถกถา 5 / 261
อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๒ จีวรขันธกะ
พระพุทธานุญาตน้ำย้อมเป็นต้น

               ว่าด้วยน้ำย้อม               
               บทว่า ฉกเณน ได้แก่ โคมัย.
               บทว่า ปณฺฑุมตฺติกาย ได้แก่ ดินแดง.
               วินิจฉัยในน้ำย้อมเกิดแต่หัวเป็นอาทิ พึงทราบดังนี้ :-
               เว้นขมิ้นเสีย น้ำย้อมเกิดแต่หัว ควรทุกอย่าง. เว้นฝางกับแกแลเสีย น้ำย้อมเกิดแต่ลำต้น ควรทุกอย่าง. ต้นไม้มีหนามชนิดหนึ่ง ชื่อแกแล, น้ำย้อมเกิดแต่ลำต้น แห่งแกแลนั้น เป็นของมีสีคล้ายหรดาล เว้นโลดกับมะพูดเสีย น้ำย้อมเกิดแต่เปลือก ควรทุกอย่าง. เว้นใบมะเกลือกับใบครามเสีย น้ำย้อมเกิดแต่ใบไม้ ควรทุกอย่าง. แต่ผ้าที่คฤหัสถ์ใช้แล้ว สมควรย้อมด้วยใบมะเกลือครั้งหนึ่ง. เว้นดอกทองกวาวกับดอกคำเสีย น้ำย้อมเกิดแต่ดอกควรทุกอย่าง. ส่วนในน้ำย้อมเกิดแต่ผล ผลอะไรๆ จะไม่ควรหามิได้.
               น้ำย้อมที่ไม่ได้ต้ม เรียกว่าน้ำเย็น.
               ตะกร้อสำหรับกันล้นนั้น ได้แก่ เครื่องสำหรับกันกลมๆ. ความว่า เราอนุญาตให้ใส่เครื่องกั้นนั้นตั้งไว้กลางหม้อน้ำย้อมแล้ว จึงใส่น้ำย้อม. ด้วยว่า เมื่อทำอย่างนั้นแล้ว น้ำย้อมย่อมไม่ล้น.
               สองบทว่า อุทเก วานขปิฏฺฐิกาย วา มีความว่า ก็ถ้าว่า น้ำย้อมเป็นของสุกแล้ว, หยาดน้ำที่ใส่ในถาดน้ำ ย่อมไม่ซ่านไปเร็ว. แม้หยดลงบนหลังเล็บ ย่อมค้างอยู่ ไม่ซ่านออก.
               บทว่า รชนุรุงฺกํ ได้แก่ กระบวยตักน้ำย้อม.
               บทว่า ทณฺฑกถาลิกํ ได้แก่ กระบวยนั่นเอง พร้อมทั้งด้าม.
               บทว่า รชนโกลมฺพํ ได้แก่ หม้อสำหรับย้อม.
               บทว่า มทฺทนฺติ ได้แก่ ขยำกดลง.
               หลายบทว่า น จ อจฺฉินฺเน เถเวปกฺกมิตุํ มีความว่า หยาดน้ำย่อมยังไหลไม่ขาดเพียงใด, ภิกษุไม่ควรไปในที่อื่นเพียงนั้น.
               บทว่า ปตฺถินฺนํ คือจีวรเป็นของกระด้าง เพราะย้อมเกินไป. อธิบายว่า น้ำย้อมจับเกินไป.
               สองบทว่า อุทเกโอสาเทตุํ มีความว่า เพื่อแช่ไว้ในน้ำ. ก็แลเมื่อน้ำย้อมออกแล้วพึงเทน้ำนั้นทิ้งแล้วพึงบีบจีวร.
               บทว่า ทนฺตกสาวานิ ความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ ย้อมจีวรครั้งเดียวหรือสองครั้งใช้จีวรมีสีดังสีงาช้าง.

               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๒ จีวรขันธกะ พระพุทธานุญาตน้ำย้อมเป็นต้น จบ.
อ่านอรรถกถา 5 / 1อ่านอรรถกถา 5 / 146อรรถกถา เล่มที่ 5 ข้อ 147อ่านอรรถกถา 5 / 148อ่านอรรถกถา 5 / 261
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=5&A=3860&Z=3898
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=4846
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=4846
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๙  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๖
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :