ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 1 / 1อ่านอรรถกถา 1 / 25อรรถกถา เล่มที่ 1 ข้อ 30อ่านอรรถกถา 1 / 38อ่านอรรถกถา 1 / 657
อรรถกถา ปฐมปาราชิกสิกขาบท
ลักษณะสิกขาที่ไม่เป็นอันบอกคืน และที่เป็นอันบอกคืน

               อรรถาธิบายวิธีลาสิกขา               
               หลายบทว่า สิกฺขํ อปจฺจกฺขาย ทุพฺพลฺยํ อนาวิกตฺวา มีความว่า ไม่บอกคืนสิกขาด้วย ไม่ประกาศความเป็นผู้ทุรพลด้วย.
               แม้เมื่อทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลแล้ว สิกขายังไม่เป็นอันบอกลาเลย, แต่เมื่อบอกลาสิกขาแล้ว ความเป็นผู้ทุรพลย่อมเป็นอันทำให้แจ้งด้วย, เพราะเหตุนั้น ด้วยบทว่า ทุพฺพลฺยํ อนาวิกตฺวา นี้จึงไม่ได้เนื้อความพิเศษอะไรๆ. ก็เหมือนอย่างว่า ด้วยคำว่า สองคืน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า พึงสำเร็จการนอนร่วม สองสามคืน ดังนี้ บัณฑิตก็ไม่ได้เนื้อความพิเศษอะไรๆ.
               คำว่า สองคืนนี้ พระองค์ตรัสโดยความเป็นคำสละสลวยด้วยพยัญชนะ โดยความเป็นคำติดพระโอษฐ์ ด้วยอำนาจโลกโวหารอย่างเดียว ข้อนี้ฉันใด, แม้คำว่า ไม่ได้ทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล นี้ก็ฉันนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยความเป็นคำกล่าวสะดวก โดยความเป็นคำสละสลวยด้วยพยัญชนะ โดยความเป็นคำติดพระโอษฐ์.
               อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงธรรมพร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ เพราะฉะนั้นจึงทรงยังอรรถให้ถึงพร้อมด้วยบทว่า ไม่บอกคืนสิกขานี้ ยังพยัญชนะให้ถึงพร้อมด้วยบท ไม่ทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล นี้.
               จริงอยู่ บทใจความที่กล่าวเฉพาะบทเดียว ปราศจากบทแวดล้อมเสียแล้ว ย่อมไม่ไพเราะ เปรียบเหมือนพระราชาผู้ปราศจากบริวาร และบุรุษผู้ปราศจากผ้าและอลังการ ย่อมไม่งดงาม ฉะนั้น. แต่บทใจความนั้นย่อมไพเราะพร้อมด้วยบทเคียงอันเป็นบทห้อมล้อม พอเหมาะแก่ใจความ.
               อีกประการหนึ่ง ความทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลบางอย่าง ย่อมเป็นใจความแห่งการบอกลาสิกขา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาความทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลบางอย่าง ซึ่งเป็นใจความได้นั้น เมื่อจะทรงไขความบทว่า ไม่บอกลาสิกขา จึงตรัสว่า ไม่ได้ทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล.
               ในคำว่า ไม่บอกลาสิกขา ไม่ได้ทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล นั้น หากจะพึงมีคำท้วงว่า การทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลทั้งหมด ยังไม่เป็นการบอกลาสิกขา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าควรตรัสบทว่า ไม่ได้ทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล ดังนี้เสียก่อน แล้วจึงตรัสบทว่า ไม่บอกลาสิกขา เพื่อจำกัดใจความแห่งบทว่า ไม่ทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล นั้น.
               เฉลยว่า ก็คำนั้นหาควรกล่าวไม่ เพราะเหตุไร? เพราะไม่มีลำดับแห่งเนื้อความ.
               จริงอยู่ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า สิกฺขาสาชีวสมาปนฺโน ดังนี้ เนื้อความย่อมเป็นอันพระองค์ตรัสแล้วตามลำดับ ในเมื่อตรัสว่า ตนถึงพร้อมซึ่งสิกขาใด, ไม่บอกลาสิกขานั้น หาใช่โดยประการอื่นไม่ เพราะหตุนั้น คำว่า สิกฺขํ อปจฺจกฺขาย นี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสก่อน.
               อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบเนื้อความในสองบทว่า ไม่บอกลาสิกขา, ไม่ทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล นี้ ตามสมควรแก่ลำดับบ้าง.
               พึงทราบอย่างไร?
               พึงทราบอย่างนี้ ในบทว่า ถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพ นี้ ภิกษุถึงพร้อมซึ่งสิกขาใด, ไม่บอกคืนสิกขานั้น และถึงพร้อมซึ่งสาชีพใด, ไม่ทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลในสาชีพนั้น.
               บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความแปลกกันและความไม่แปลกกันแห่งการบอกลาสิกขา และความทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล และลักษณะแห่งการบอกลาสิกขา จึงตรัสคำว่า อตฺถิ ภิกฺขเว เป็นอาทิ.
               ในคำนั้น ๒ บทว่า อตฺถิ ภิกฺขเว เป็นต้น เป็นบทมาติกา. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกบทมาติกา ๒ นั้นจึงตรัสคำว่า กถญฺจ ภิกฺขเว เป็นต้น.
               ในคำว่า กถญฺจ เป็นต้นนั้น มีการพรรณนาบทที่ยังไม่ชัดเจนดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า กถํ ได้แก่ ด้วยอาการไร?
               บทว่า ทุพฺพลฺยาวิกมฺมญฺจ ได้แก่ ความทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลด้วย.
               บทว่า อิธ คือในศาสนานี้.
               บทว่า อุกฺกณฺฐิโต ความว่า ผู้ถึงความเป็นผู้อยู่ยากในศาสนานี้ เพราะความเบื่อหน่าย.
               อีกประการหนึ่ง มีคำอธิบายว่า ผู้มีจิตฟุ้งซ่านไม่มีอารมณ์แน่วแน่ ชูคออยู่ด้วยคิดว่า เราจะไปวันนี้ เราจะไปพรุ่งนี้ เราจะไปจากนี้ เราจะไป ณ ที่นี้.
               บทว่า อนภิรโตได้แก่ ผู้ปราศจากความเพลินใจในศาสนา.
               สองบทว่า สามญฺญา จวิตุกาโม ได้แก่ ผู้อยากจะหลีกออกไปจากความเป็นสมณะ.
               บทว่า ภิกฺขุภาวํ คือ ด้วยความเป็นภิกษุ.
               บทว่า ภิกฺขุภาวํ นี้เป็นทุติยาวิภัตติ เป็นไปในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ. ส่วนลักษณะที่สมควร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยตติยาวิภัตติทีเดียว ในคำว่า พึงสะอิดสะเอียนด้วยซากศพอันคล้องไว้ที่คอ ดังนี้เป็นต้น.
               บทว่า หรายมาโน ได้แก่ กระดากอยู่.
               บทว่า ชิคุจฺฉมาโน ได้แก่ ผู้เกลียดชังความเป็นภิกษุนั้น เหมือนเกลียดของสกปรก ฉะนั้น.
               บทว่า คิหิภาวํ ปฏฺฐยมาโน เป็นต้น มีใจความชุดเจนทีเดียว.
               ศัพท์ว่า ยนฺนูน ในคำว่า ยนฺนูนาหํ พุทฺธํ ปจฺจกฺเขยฺยํ นี้ เป็นนิบาตแสดงความรำพึง. มีคำอธิบายดังนี้ว่า หากเราพึงบอกคืนพระพุทธเจ้าเสีย, การบอกคืนพระพุทธเจ้านี้ พึงเป็นความดีของเราหนอ.
               สองบทว่า วทติวิญฺญาเปติ มีความว่า ภิกษุมีความกระสันนั้น ลั่นวาจากล่าวเนื้อความนี้ด้วยพยัญชนะเหล่านี้หรือเหล่าอื่น และยังบุคคลซึ่งตนบอกให้รู้แจ้ง คือให้เข้าใจ.
               ปิ อักษรในบทว่า เอวมฺปิ นี้ มีอันประมวลเนื้อความข้างบนมาเป็นอรรถ. การทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล และสิกขาไม่เป็นอันบอกลา ย่อมมีแม้ด้วยประการอย่างนี้, การทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลและสิกขาไม่เป็นอันบอกลา แม้ด้วยประการอื่นก็ยังมีอีก.
               บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล และการไม่บอกลาสิกขา แม้ด้วยประการอย่างอื่นนั้น จึงตรัสคำว่า อถวา ปน เป็นอาทิ.
               คำนั้นทั้งหมด โดยเนื้อความชัดเจนทีเดียว.
               แต่พึงทราบวินิจฉัยโดยบทดังนี้ :-
               ตั้งแต่ต้นไป ๑๔ บทเหล่านี้ คือ :-
               พุทฺธํปจฺจกฺเขยฺยํ  ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า
               ธมฺมํ""พระธรรม
               สงฺฆํ""พระสงฆ์
               สิกฺขํ""สิกขา
               วินยํ""วินัย
               ปาฏิโมกฺขํ""ปาฏิโมกข์
               อุทฺเทสํ""อุทเทส
               อุปชฺฌายํ""พระอุปัชฌายะ
               อาจริยํ""พระอาจารย์
               สทฺธิวิหาริกํ""พระสัทธิวิหาริก
               อนฺเตวาสิกํ""พระอันเตวาสิก
               สมานูปชฺฌายกํ""พระผู้ร่วมอุปัชฌายะ
               สมานาจริยกํ""พระผู้ร่วมอาจารย์
               สพฺรหฺมจารึ""พระเพื่อนพรหมจรรย์
               พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในวาระว่าด้วยทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลนี้ ด้วยอาการคือ การบอกลา.
               ๘ บทเหล่านี้ คือ :-
               คิหี   อสฺสํ  ข้าพเจ้าพึงเป็นคฤหัสถ์
               อุปาสโก  "  ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก
               อารามิโก  "  ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิกะ
               สามเณโร  "  ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร
               ติตฺถิโย  "  ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์
               ติตฺถิยสาวโก  "  ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์
               อสฺสมโณ  "  ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ
               อสกฺยปุตฺติโย  "  ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร
               พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอาการคือกำหนดภาวะ ด้วยบทว่า อสฺสํ นี้ แห่งบรรดาบททั้งหลายมีบทว่า คิหี อสฺสํ เป็นต้น.
               ๒๒ บทที่ประกอบด้วยบทว่า ยนฺนูนาหํ นี้ พระองค์ตรัสแล้ว ดังพรรณนามาฉะนี้. เหมือนอย่างว่า ๒๒ บทที่ประกอบด้วยบทว่า ยนฺนูนาหํ นี้ พระองค์ตรัสแล้วฉันใด ๒๒ บทที่ประกอบด้วยบทหนึ่งๆ ในบรรดาบทเหล่านี้คือ :-
               ยทิ ปนาหํ พุทฺธํ ปจฺจกฺเขยฺยํก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า ฯลฯ๑-
               อถาหํ พุทฺธํ ปจฺจกฺเขยฺยํหากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า ฯลฯ๑-
               หนฺทาหํ พุทฺธํ ปจฺจกฺเขยฺยํผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า ฯลฯ๑-
               โหติ เม พุทฺธํ ปจฺจกฺเขยฺยํข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า ฯลฯ๑-

               พระองค์ก็ตรัสแล้วฉันนั้น, รวมทั้งหมดจึงเป็น ๑๑๐ บท ด้วยประการฉะนี้.
____________________________
๑- ที่เปยยาลไว้ทั้ง ๔ แห่งนั้น ให้เติมเหมือนในบาลีวินัยปิฎก มหาวิภังค์
๑- ๑/๔๔-๔๕ ดังนี้ คือ :- ยทิ ปนาหํ พุทฺธํ ปจฺจกฺเขยฺยํ, ยทิ ปนาหํ ธมฺมํ
๑- ปจฺจกฺเขยฺยํ จนถึง ยทิ ปนาหํ อสกฺยปุตฺติโย อสฺสํ (๒๒ บท) อถาหํ
๑- พุทฺธํ ปจฺจกฺเขยฺยํ, อถาหํ ธมฺมํ ปจฺจกฺเขยฺยํ จนถึง อถาหํ อสกฺยปุตฺติโย
๑- อสฺสํ (๒๒ บท) หนฺทาหํ พุทฺธํ ปจฺจกฺเขยฺยํ, หนฺทาหํ ธมฺมํ ปจฺจกฺเขยฺยํ
๑- จนถึง หนฺทาหํ อสกฺยปุตฺติโย อสฺสํ (๒๒ บท) โหติ เม พุทฺธํ ปจฺจกฺเขยฺยํ,
๑- โหติ เม ธมฺมํ ปจฺจกฺเขยฺยํ จนถึง โหติ เม อสกฺยปตฺติโย อสฺสํ (๒๒ บท).
____________________________

               ต่อจากบทว่า โหติ เม เป็นต้นนั้นไปมี ๑๗ บทมีอาทิว่า มาตรํ สรามิ ข้าพเจ้าระลึกถึงมารดา ซึ่งเป็นไปโดยนัยแสดงวัตถุที่ตนควรระลึกถึง.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เขตฺตํ ได้แก่ ไร่ข้าวสาลีเป็นต้น.
               บทว่า วตฺถุ ได้แก่ สถานที่เกิดขึ้นแห่งหญ้า ใบไม้ ผักดองและผลไม้น้อยใหญ่.
               บทว่า สิปฺปํ ได้แก่ ศิลปะของช่างหม้อและช่างหูกเป็นต้น.
               ต่อจาก ๑๗ บทนั้นไปมี ๙ บทมีอาทิว่า มาตา เม อตฺถิ, สา มยา โปเสตพฺพา มารดาของข้าพเจ้ามีอยู่, มารดานั้น ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจแสดงความเป็นผู้มีกังวลและมีความเกี่ยวข้อง.
               ต่อจาก ๙ บทนั้นไปมี ๑๖ บทมีอาทิว่า มาตา เม อตฺถิ, สา มํ โปเสสฺสติ มารดาของข้าพเจ้ามีอยู่, มารดานั้นจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจแสดงถึงบุคคลผู้เป็นที่อาศัยและผู้เป็นที่พำนัก.
               ต่อจาก ๑๖ บทนั้นไปมี ๘ บทมีอาทิว่า ทุกฺกรํ พรหมจรรย์เป็นภาวะที่ทำได้ยาก ซึ่งเป็นไปด้วยการแสดงถึงความที่พรหมจรรย์มีการฉันหนเดียวและนอนหนเดียวเป็นภาวะที่ทำได้ยาก.
               บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า ทุกฺกรํ ภิกษุกระสันนั้นย่อมแสดงความที่พรหมจรรย์ทำได้ยาก เพราะทำกิจวัตรทั้งหลายมีการฉันหนเดียวเป็นต้น.
               ด้วยบทว่า น สุกรํ ย่อมค้านความที่พรหมจรรย์เป็นภาวะที่ทำได้ง่าย.
               ในสองคำว่า ทุจฺจรํ น สุจรํ นี้ พึงทราบนัยอย่างนั้น.
               ด้วยบทว่า น อุสฺสหามิ ย่อมแสดงความที่ตนไม่มีความอุตสาหะ คือข้อที่ตนไม่มีความสามารถในการทำกิจวัตรมีการฉันหนเดียวเป็นต้นนั้น.
               ด้วยบทว่า น วิสหามิ ย่อมแสดงถึงข้อที่ตนไม่มีความอดทน (ในเพราะทำกิจวัตรมีการฉันหนเดียวเป็นต้นนั้น).
               ด้วยบทว่า น รมามิ ย่อมแสดงความไม่มีแห่งความยินดี.
               ด้วยบทว่า นาภิรมามิ ย่อมแสดงความไม่มีแห่งความเพลินใจ.
               ก็ ๕๐ บทเหล่านี้และ ๑๑๐ บทเบื้องต้นจึงรวมเป็น ๑๖๐ บท พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในวาระว่าด้วยทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลโดยนัยดังกล่าวมาแล้วนั้น.
               คำว่า กถญฺจ ภิกฺขเว เป็นต้นทั้งหมด แม้ในวาระว่าด้วยการบอกลาสิกขา โดยเนื้อความชัดเจนแล้วทีเดียว แต่ควรทราบวินิจฉัยโดยบทดังนี้ :-
               ๑๔ บทที่เป็นไปกับด้วยความสัมพันธ์คำบอกลาสิกขาเหล่านี้ คือ :-
               พุทฺธํ  ปจฺจกฺขามิ  ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้า
               ธมฺมํ  "  ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรม
               สงฺฆํ  "  ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์
               สิกฺขํ  "  ข้าพเจ้าบอกคืนสิกขา
               วินยํ  "  ข้าพเจ้าบอกคืนวินัย
               ปาฏิโมกฺขํ  "  ข้าพเจ้าบอกคืนปาฏิโมกข์
               อุทฺเทสํ  "  ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศ
               อุปชฺฌายํ  "  ข้าพเจ้าบอกคืนพระอุปัชฌายะ
               อาจริยํ  "  ข้าพเจ้าบอกคืนพระอาจารย์
               สทฺธิวิหาริกํ  "  ข้าพเจ้าบอกคืนพระอันเตวาสิก
               อนฺเตวาสิกํ  "  ข้าพเจ้าบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ
               สมานาจริยกํ  "  ข้าพเจ้าบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์
               สพฺรหฺมจารึ  "  ข้าพเจ้าบอกคืนพระเพื่อนพรหมจรรย์

               พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว แม้ในวาระว่าด้วยการบอกสิกขานี้.
               อนึ่ง คำว่า วทติวิญฺญาเปติ ในทุกๆ บท มีเนื้อความดังต่อไปนี้ :-
               ภิกษุผู้กระสันนั้นลั่นวาจากล่าว และยังบุคคลซึ่งตนบอกให้รู้แจ้งคือประกาศให้ได้ยิน ได้แก่ให้เข้าใจ ด้วยการลั่นวาจานั้นนั่นเองว่า ภิกษุนี้มีความประสงค์จะละศาสนา จะพ้นจากศาสนาจะละความเป็นภิกษุ จึงเปล่งถ้อยคำนี้.
               ก็ถ้าภิกษุนี้มีความประสงค์จะกล่าวว่า พุทฺธํ ปจฺจกฺขามิ แต่ทำบทกลับกันเสียแล้ว พึงกล่าวว่า ปจฺจกฺขามิ พุทฺธํ หรือพึงกล่าวเนื้อความนั้นด้วยบรรดาภาษาของชนชาวมิลักขะภาษาใดภาษาหนึ่ง, หรือมีความประสงค์จะกล่าวว่า พุทฺธํ ปจฺจกฺขามิ แต่พึงกล่าวโดยข้ามลำดับว่า ธมฺมํ ปจฺจกฺขามิ หรือว่า สพฺรหฺมจารึ ปจฺจกฺขามิ ข้อนี้เปรียบเหมือนในวิภังค์แห่งอุตตริมนุษยธรรม คือภิกษุผู้มีความประสงค์จะกล่าวว่า ปฐมํ ฌานํ สมาปชฺชามิ ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน แต่กล่าวเสียว่า ทุติยํ ฌานํ สมาปชฺชามิ ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌาน ดังนี้ แม้ฉันใด,
               ถ้าภิกษุผู้กระสันนั้นจะบอกแก่ผู้ใด, ผู้นั้นย่อมรู้คำพูดแม้มีประมาณเท่านี้ว่า ภิกษุนี้มีความประสงค์จะละความเป็นภิกษุจึงได้กล่าวเนื้อความนี้, ขึ้นชื่อว่า การกล่าวผิดพลาด ย่อมไม่มี, การกล่าวเช่นนั้น ก็หยั่งลงสู่เขตทีเดียว, สิกขาก็ย่อมเป็นอันบอกลาแล้ว ฉันนั้น.
               ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้เคลื่อนจากศาสนาทีเดียว เหมือนสัตว์ผู้เคลื่อนจากความเป็นท้าวสักกะหรือจากความเป็นพรหม ฉะนั้น.
               อนึ่ง ถ้าภิกษุกล่าวด้วยคำกำหนดอดีตกาล และอนาคตกาลว่า พุทฺธํ ปจฺจกฺขึ ก็ดี พุทฺธํ ปจฺจกฺขิสฺสามิ ก็ดี พุทฺธํ ปจฺจกฺเขยฺยํ ก็ดี ส่งทูตไปก็ดี ส่งข่าวสาสน์ไปก็ดี สลัก (เขียน) อักษรไว้ก็ดี บอกใจความนั้นด้วยหัวแม่มือก็ดี สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกลา.
               ส่วนการอวดอุตตริมนุษยธรรมย่อมถึงที่สุดแม้ด้วยหัวแม่มือ.
               การบอกลาสิกขาย่อมถึงที่สุด ก็ต่อเมื่อภิกษุผู้ลั่นวาจา ซึ่งสัมปยุตด้วยจิตในสำนักของสัตว์ผู้เป็นชาติมนุษย์เท่านั้น.
               อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุ เมื่อลั่นวาจาประกาศให้คนอื่นรู้ ถ้าเจาะจงบอกเฉพาะบุคคลคนหนึ่งว่า บุคคลนี้เท่านั้นจงรู้ และบุคคลนั้นนั่นเองรู้ความประสงค์ของเธอนั้นไซร้, สิกขาย่อมเป็นอันบอกลา.
               ถ้าบุคคลนั้นไม่รู้, แต่คนอื่นซึ่งยืนอยู่ในที่ใกล้รู้, สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกลา.
               ถ้าว่า ภิกษุนั้นเจาะจงบอกเฉพาะแม้บุคคลสองคนในที่ที่คนสองคนยืนอยู่ว่า ข้าพเจ้าบอกแก่คนสองคนนี้ ดังนี้, บรรดาคนทั้งสองนั้น เมื่อคนหนึ่งรู้ก็ตาม รู้ทั้งสองคนก็ตาม สิกขาย่อมเป็นอันบอกลา.
               การบอกลาสิกขาแม้ในบุคคลมากหลาย บัณฑิตก็ควรทราบดังอธิบายมาแล้วนั้น.

               [ภิกษุตะโกนบอกลาสิกขาก็ได้]               
               อนึ่ง ถ้าว่าภิกษุผู้ถูกความไม่เพลินใจบีบคั้น ระแวงสงสัยภิกษุทั้งหลายผู้คุ้นเคยกันกล่าวว่า พุทฺธํ ปจฺจกฺขามิ ตะโกนเสียงดังด้วยหวังว่า ใครๆ จงรู้,
               ถ้าว่า มีคนทำงานอยู่ในป่า หรือบุรุษคนอื่นผู้รู้ลัทธิศาสนา ยืนอยู่ในที่ไม่ไกล ได้ยินเสียงของภิกษุนั้น ก็เข้าใจว่า สมณะผู้กระสันรูปนี้ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์เคลื่อนจากศาสนาแล้ว ดังนี้, สิกขาย่อมเป็นอันบอกลาแท้.
               แต่ว่าในขณะนั้นนั่นเอง การบอกลาสิกขาไม่ก่อนไม่หลัง เป็นข้อที่รู้ได้ยาก. เหมือนเหล่ามนุษย์ในโลก โดยปกติธรรมดา ฟังคำพูดแล้ว ย่อมรู้ได้ฉันใด,
               ถ้าว่าคนที่ทำงานอยู่ในป่าเป็นต้นนั้น ย่อมรู้ได้โดยสมัยที่คิดนึกอยู่ไซร้, สิกขาก็ย่อมเป็นอันบอกลาแล้วฉันนั้น.
               ถ้าในกาลภายหลังเขาสงสัยอยู่ว่า ภิกษุรูปนี้พูดอะไร? คิดนานๆ จึงเข้าใจ, สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกลา.
               จริงอยู่ การบอกลาสิกขานี้ด้วย อภูตาโรจนสิกขาบท ทุฏฐุลวาจสิกขาบท อัตกามสิกขาบท ทุฏโทสสิกขาบท และภูตาโรจนสิกขาบททั้งหลายที่จะกล่าวต่อไปด้วย มีกำหนดความอย่างเดียวกัน ย่อมถึงที่สุด ในเมื่อผู้ฟังรู้ใจความได้ โดยสมัยที่นึกคิดนั่นเอง.
               เมื่อคนฟังสงสัยอยู่ว่า ภิกษุรูปนี้ พูดอะไร? คิดนานๆ จึงเข้าใจความได้, สิกขาบททั้ง ๕ นั้นยังไม่ถึงที่สุด.
               เหมือนอย่างว่า วินิจฉัยนี้ท่านกล่าวไว้ในบทว่า พุทฺธํ ปจฺจกฺขามิ ฉันใด, ในทุกๆ บท ก็ควรทราบวินิจฉัย ฉันนั้น. ก็เพราะสิกขาย่อมเป็นอันภิกษุบอกลาในกาลใด, ในกาลนั้น แม้ภิกษุไม่กล่าวคำเป็นต้นว่า ยนฺนูนาหํ พุทฺธํ ปจฺจกฺเขยฺยํ ความเป็นผู้ทุรพล ก็ย่อมเป็นอันทำให้แจ้งแล้ว เหตุฉะนั้น ในที่สุดแห่งบทแม้ทั้งหมด พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล และสิกขาเป็นอันบอกลา ย่อมมีแม้ด้วยอาการอย่างนี้.
               ถัดจาก ๑๔ บทนั้นไป ในบทว่า คิหีติ มํ ธาเรหิ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
               ถ้าว่าภิกษุผู้กระสันนั้นกล่าวว่า
               คิหี ภวิสฺสามิ  ข้าพเจ้าจักเป็นคฤหัสถ์ ดังนี้ก็ดี
               คิหี โหมิ  ข้าพเจ้าจะเป็นคฤหัสถ์ ดังนี้ก็ดี
               คิหี ชาโตมฺหิ  ข้าพเจ้าเกิดเป็นคฤหัสถ์แล้ว ดังนี้ก็ดี
               คิหิมฺหิ  ข้าพเจ้าย่อมเป็นคฤหัสถ์ ดังนี้ก็ดี
               สิกขาย่อมเป็นอันไม่บอกลา.
               ก็ถ้ากล่าวว่า
               อชฺช ปฏฺฐาย คิหีติ มํ
ธาเรหิ
ตั้งแต่วันนี้ไป ขอท่านจงทรงจำข้าพเจ้าว่าเป็นคฤหัสถ์ ดังนี้ก็ดี
               อชฺช ปฏฺฐาย คิหีติ มํ
ชานาหิ
ตั้งแต่วันนี้ไป ขอท่านจงรู้ ข้าพเจ้าว่าเป็นคฤหัสถ์ ดังนี้ก็ดี
               อชฺช ปฏฺฐาย คิหีติ มํ
สญฺชานาหิ
ตั้งแต่วันนี้ไป ขอท่านจงจำหมายข้าพเจ้าว่าเป็นคฤหัสถ์ ดังนี้ก็ดี
               อชฺช ปฏฺฐาย คิหีติ มํ
มนสิกโรหิ
ตั้งแต่วันนี้ไป ขอท่านจงใฝ่ใจ ข้าพเจ้าว่าเป็นคฤหัสถ์ ดังนี้ก็ดี
               หรือกล่าวโดยโวหารของชาวอริยกะหรือโวหารของชาวมิลักขะก็ดี เมื่อเธอกล่าวเนื้อความนั้นอย่างนี้แล้ว ถ้าผู้ที่ตนบอกเข้าใจ, สิกขาก็ย่อมเป็นอันบอกลา.
               ใน ๗ บท มีว่า อุปาสโก เป็นต้นแม้ที่เหลือ ก็นัยนั่น.
               ก็ ๘ บทเหล่านี้และ ๑๔ บทเบื้องต้นจึงรวมเป็น ๒๒ บท ฉะนี้แล.
               ถัดจาก ๘ บทนั้นไป ท่านกล่าวประมวล ๑๔ บทเบื้องต้นนั่นแลเข้าด้วย ๔ บทเหล่านี้ คือ อลมฺเม, กินฺนุเม, น มมตฺโถ, สุมุตฺตาหํ, จึงเป็น ๕๖ บท.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลํ แปลว่า ช่างเถิด, อธิบายว่า พอละ.
               บทว่า กินฺนุเม ความว่า กิจอะไรของข้าพเจ้า? คือกิจอะไรที่ข้าพเจ้าควรทำ? อธิบายว่า กิจอะไร ที่ข้าพเจ้าจะพึงทำให้สำเร็จ?
               บทว่า น มมตฺโถ ความว่า ข้าพเจ้าไม่มีความต้องการ.
               บทว่า สุมุตฺตาหํ ตัดเป็น สุมุตฺโต อหํ แปลว่า ข้าพเจ้าพ้นดีแล้ว (จากพระพุทธเจ้า).
               คำที่เหลือใน ๕๖ บทนี้มีนัยดังกล่าวมาแล้วทีเดียว.
               ก็ ๕๖ บทเหล่านี้และ ๒๒ บทข้างต้นจึงรวมเป็น ๗๘ บท ท่านกล่าวไว้โดยสรุปเท่านั้นด้วยประการอย่างนี้. ก็เพราะการบอกลาสิกขาย่อมมีได้แม้ด้วยคำเป็นไวพจน์แห่งบทอันเป็นเขตเหล่านั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า ยานิ วาปนญฺญานิปิ เป็นต้น.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยานิ วาปนญฺญานิปิ ความว่ายกเว้นบทซึ่งมาในบาลีว่า พุทฺธํ เป็นต้นเสียแล้ว คำไวพจน์เหล่าอื่นใดเล่ายังมีอยู่อีก.
               บทว่า พุทฺธเววจนานิ วา ได้แก่ พระนามโดยปริยายแห่งพระพุทธเจ้า ฯลฯ หรือนามโดยปริยายแห่งผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร.
               บรรดาพระนามที่เป็นไวพจน์แห่งพระพุทธเจ้าเป็นต้นเหล่านั้น พระนามตั้งพันมาแล้วในวรรณปัฏฐาน๑- พระนามร้อยหนึ่งมาแล้วในอุบาลีคาถา๒- และพระนามอย่างอื่นที่ได้อยู่โดยพระคุณ พึงทราบว่าเป็นไวพจน์แห่งพระพุทธเจ้า.
               ชื่อแห่งพระธรรมแม้ทั้งหมด พึงทราบว่าเป็นไวพจน์แห่งพระธรรม.
               ในไวพจน์แห่งพระสงฆ์เป็นต้นทั้งหมดก็นัยนั่น.
____________________________
๑- วรรณปัฏฐาน เป็นคัมภีร์แสดงพุทธคุณฝ่ายมหาสังฆิก พวกมหายาน.
๒- อุบาลีวาทสูตร ม. ม. เล่ม ๑๓/ข้อ ๑๗-๑๘/หน้า ๗๗-๗๘.

               [การบอกลาสิกขาระบุพระนามที่เป็นไวพจน์ของพระพุทธเจ้า]               
               ก็ในพระนามที่เป็นไวพจน์แห่งพระพุทธเจ้าเป็นต้นนี้ มีโยชนาดังต่อไปนี้:-
               การบอกลาด้วยคำว่า พุทธํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยไวพจน์ตามที่กล่าวเลย. การบอกลาเป็นต้นอย่างนี้ คือ:-
               สมฺมาสมฺพุทฺธํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง.
               อนนฺตพุทฺธึ  "  ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้าผู้มีความตรัสรู้ไม่มีที่สุด.
               อโนมพุทฺธึ  "  ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้าผู้มีความตรัสรู้ไม่ต่ำทราม.
               โพธิปฺปญฺญาณํ  "  ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้าผู้มีความตรัสรู้เป็นเครื่องปรากฏ.
               ธีรํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้าผู้มีปัญญาเป็นเครื่องทรงจำ.
               วิคตโมหํ  "  ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากโมหะ.
               ปภินฺนขีลํ  "  ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้าผู้ทรงทำลายตะปูใจ.
               วิชิตวิชยํ  "  ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้าผู้ทรงชำนะวิเศษ.

               จัดเป็นการบอกลาสิกขาด้วยคำไวพจน์แห่งพระพุทธเจ้า.

               [วิธีลาสิกขาระบุคำไวพจน์พระธรรม]               
               การบอกลาด้วยคำว่า ธมฺมํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยไวพจน์ตามที่กล่าวเลย.
               ชื่อแม้แห่งพระธรรมขันธ์ๆ หนึ่ง ในบรรดาแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ (เหล่านี้) คือ :-
               สฺวากฺขาตํ ธมฺมํปจฺจกฺขามิข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว.
               สนฺทิฏฺฐิกํ ธมฺมํ " ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรมอันผู้ได้บรรลุพึงเห็นเอง.
               อกาลิกํ ธมฺมํ " ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรมอันไม่ประกอบด้วยกาล.
               เอหิปสฺสิกํ ธมฺมํปจฺจกฺขามิข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรมที่ควรเรียกให้มาดู.
               โอปนยิกํ ธมฺมํ " ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรมอันควรน้อมเข้ามาใส่ใจ.
               ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺพํวิญฺญูหิ
ธมฺมํ
ปจฺจกฺขามิข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรมอันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน.
               อสงฺขตํ ธมฺมํ " ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรมอันปัจจัยมิได้ปรุงแต่ง.
               วิราคํ ธมฺมํ " ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรมอันปราศจากราคะ.
               นิโรธํ ธมฺมํ " ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรมอันดับสนิท.
               อมตํ ธมฺมํ " ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรมอันเป็นอมตะ.
               ทีฆนิกายํ " ข้าพเจ้าบอกคืนทีฆนิกาย.
               พฺรหฺมชาลํ " ข้าพเจ้าบอกคืนพรหมชาลสูตร
               มชฺฌิมนิกายํ " ข้าพเจ้าบอกคืนมัชฌิมนิกาย.
               มูลปริยายํ " ข้าพเจ้าบอกคืนมูลปริยายสูตร.
               สํยุตฺตนิกายํ " ข้าพเจ้าบอกคืนสังยุตนิกาย.
               องฺคุตฺตรนิกายํ " ข้าพเจ้าบอกคืนอังคุตตรนิกาย.
               ชาตกนิกายํ " ข้าพเจ้าบอกคืนชาดกนิกาย.
               อภิธมฺมํปจฺจกฺขามิข้าพเจ้าบอกคืนพระอภิธรรม
               กุสลํ ธมฺมํ " ข้าพเจ้าบอกคืนกุศลธรรม
               อกุสลํ ธมฺมํ " ข้าพเจ้าบอกคืนอกุศลธรรม
               อพฺยากตํ ธมฺมํ " ข้าพเจ้าบอกคืนอัพยากตธรรม
               สติปฏฐานํ " ข้าพเจ้าบอกคืนสติปัฏฐาน
               สมฺมปฺปธานํ " ข้าพเจ้าบอกคืนสัมมัปธาน
               อิทฺธิปาทํ " ข้าพเจ้าบอกคืนอิทธิบาท
               อินฺทฺริยํ " ข้าพเจ้าบอกคืนอินทรีย์
               พลํ " ข้าพเจ้าบอกคืนพละ
               โพชฺฌงฺคํ " ข้าพเจ้าบอกคืนโพชฌงค์
               มคฺคํ " ข้าพเจ้าบอกคืนมรรค
               ผลํ " ข้าพเจ้าบอกคืนผล
               นิพฺพานํ " ข้าพเจ้าบอกคืนพระนิพพาน

               จัดเป็นไวพจน์แห่งพระธรรมแท้ทีเดียว.
               การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งพระธรรมดังพรรณนามาฉะนี้.

               [วิธีลาสิกขาระบุคำไวพจน์พระสงฆ์]               
               การบอกลาด้วยคำว่า สงฺฆํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่การบอกลาด้วยคำไวพจน์.
               การบอกลาสิกขาย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งพระสงฆ์อย่างนี้คือ :-
               สุปฏิปนฺนํ สงฺฆํปจฺจกฺขามิข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี
               อุชุปฏิปนฺนํ " ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติตรง
               ญายปฏิปนฺนํ สงฺฆํปจฺจกฺขามิข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติเป็นธรรม
               สามีจิปฏิปนฺนํ " ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติสมควร
               จตุปฺปุริสยุคํ " ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์คู่บุรุษสี่
               อฏฺฐปุริสปุคฺคลํ " ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์คือบุรุษบุคคลแปด
               อาหุเนยฺยํ " ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ผู้ควรคำนับ
               ปาหุเนยฺยํ " ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ผู้ควรของทำบุญ
               ทกฺขิเณยฺยํ " ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ผู้ควรของทำบุญ
               อญฺชลิกรณียํ " ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ผู้ควรทำอัญชลี
               อนุตฺตรํปุญฺญกฺเขตฺตํ สงฺฆํปจฺจกฺขามิข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ผู้เป็นนาบุญ (ของโลก) ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

               [อรรถาธิบายวิธีบอกลาสิกขาทั่วไป]               
               การบอกลาด้วยคำว่า สิกฺขํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคำไวพจน์.
               การบอกลาสิกขาย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งสิกขาอย่างนี้ คือ :-
               ภิกฺขุสิกฺขํปจฺจกฺขามิข้าพเจ้าบอกคืนสิกขาของภิกษุ
               ภิกฺขุนีสิกฺขํ " ข้าพเจ้าบอกคืนสิกขาของภิกษุณี
               อธิสีลสิกฺขํ " ข้าพเจ้าบอกคืนอธิสีลสิกขา
               อธิจิตฺตสิกฺขํ " ข้าพเจ้าบอกคืนอธิจิตสิกขา
               อธิปญฺญาสิกฺขํ " ข้าพเจ้าบอกคืนอธิปัญญาสิกขา.

               การบอกลาด้วยคำว่า วินยํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคำไวพจน์.
               การบอกลาสิกขาย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งวินัย มีอาทิอย่างนี้คือ :-
               ภิกฺขุวินยํปจฺจกฺขามิข้าพเจ้าบอกคืนวินัยของภิกษุ
               ภิกฺขุนีวินยํ " ข้าพเจ้าบอกคืนวินัยของนางภิกษุณี
               ปฐมํปาราชิกํ " ข้าพเจ้าบอกคืนปฐมปาราชิก
               ทุติยํ" " ข้าพเจ้าบอกคืนทุติยปาราชิก
               ตติยํ" " ข้าพเจ้าบอกคืนตติยปาราชิก
               จตุตฺถํ" " ข้าพเจ้าบอกคืนจตุตถปาราชิก
               สงฺฆาทิเสสํ " ข้าพเจ้าบอกคืนสังฆาทิเสส
               ถุลฺลจฺจยํ " ข้าพเจ้าบอกคืนถุลลัจจัย
               ปาจิตฺติยํ " ข้าพเจ้าบอกคืนปาจิตติยะ
               ปาฏิเทสนียํ " ข้าพเจ้าบอกคืนปาฏิเทสนียะ
               ทุกฺกฏํ " ข้าพเจ้าบอกคืนทุกกฎ
               ทุพฺภาสิตํ " ข้าพเจ้าบอกคืนทุพภาษิต.

               การบอกลาด้วยคำว่า ปาฏิโมกฺขํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคำไวพจน์.
               การบอกลาสิกขาย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งปาฏิโมกข์อย่างนี้คือ :-
               ภิกฺขุปาฏิโมกฺขํปจฺจกฺขามิข้าพเจ้าบอกคืนภิกขุปาฏิโมกข์
               ภิกฺขุนีปาฏิโมกฺขํ " ข้าพเจ้าบอกคืนภิกขุนีปาฏิโมกข์.

               การบอกลาด้วยคำว่า อุทฺเทสํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคำไวพจน์ การบอกลาสิกขาย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งอุเทศ มีอาทิอย่างนี้คือ :-
               ภิกฺขุปาฏิโมกฺขุทฺเทสํปจฺจกฺขามิข้าพเจ้าบอกคืนภิกขุปาฏฺโมกขุทเทส
               ปฐมํปาฏิโมกฺขุทฺเทสํ " ข้าพเจ้าบอกคืนปาฏิโมกขุทเทสที่ ๑
               ทุติยํ" " ข้าพเจ้าบอกคืนปาฏิโมกขุนเทสที่ ๒
               ตติยํ" " ข้าพเจ้าบอกคืนปาฏิโมกขุทเทสที่ ๓
               จตุตฺถํ" " ข้าพเจ้าบอกคืนปาฏิโมกขุทเทสที่ ๔
               ปญฺจมํ" " ข้าพเจ้าบอกคืนปาฏิโมกขุทเทสที่ ๕
               สมฺมาสมฺพุทฺธุทฺเทสํ " ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
               อนนฺตพุทฺธิอุทฺเทสํ " ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศแห่งพระอนันตพุทธิเจ้า
               อโนมพุทฺธิอุทฺเทสํ " ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศแห่งพระอโนมพุทธิเจ้า
               โพธิปฺปญฺญาณุทฺเทสํ " ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศแห่งพระโพธิปัญญาณเจ้า
               ธีรุทฺเทสํ " ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศแห่งพระธีรเจ้า
               วิคตโมหุทฺเทสํ " ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศแห่งพระวิคตโมหเจ้า
               ปภินฺนขีลุทฺเทสํ " ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศแห่งพระปภินขีลเจ้า
               วิชิตวิชยุทฺเทสํ " ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศแห่งพระวิชิตวิชัยเจ้า.

               การบอกลาด้วยคำว่า อุปชฺฌายํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิกขาย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งอุปัชฌายะอย่างนี้คือ :-
               ภิกษุใดให้ข้าพเจ้าบรรพชา ภิกษุใดให้ข้าพเจ้าอุปสมบท ข้าพเจ้าบรรพชาแล้ว เพราะมีภิกษุใดเป็นประธาน ข้าพเจ้าอุปสมบทแล้ว เพราะมีภิกษุใดเป็นประธาน บรรพชาของข้าพเจ้ามีภิกษุใดเป็นประธาน อุปสมบทของข้าพเจ้ามีภิกษุใดเป็นประธาน ข้าพเจ้าบอกคืนภิกษุนั้น.
               การบอกลาด้วยคำว่า อาจริยํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิกขาย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งอาจารย์อย่างนี้คือ :-
               ภิกษุใดให้ข้าพเจ้าบรรพชา ภิกษุใดสวดประกาศข้าพเจ้า ข้าพเจ้าอาศัยภิกษุใดอยู่ ข้าพเจ้าให้ภิกษุใดแสดงอุเทศให้ ข้าพเจ้าสอบถามอุเทศกะภิกษุใด ภิกษุใดแสดงอุเทศแก่ข้าพเจ้า ภิกษุใดอนุญาตให้ข้าพเจ้าถามอุเทศ ข้าพเจ้าบอกคืนภิกษุนั้น.
               การบอกลาด้วยคำว่า สทฺธิวิหาริกํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคำไวพจน์ การบอกลาสิกขาย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งสัทธิวิหาริกอย่างนี้ คือ :-
               ข้าพเจ้าให้สามเณรใดบรรพชา ข้าพเจ้าให้ภิกษุใดอุปสมบท สามเณรใดบรรพชาแล้ว เพราะมีข้าพเจ้าเป็นประธาน ภิกษุใดอุปสมบทแล้ว เพราะมีข้าพเจ้าเป็นประธาน บรรพชาของสามเณรใด มีข้าพเจ้าเป็นประธาน อุปสมบทของภิกษุใด มีข้าพเจ้าเป็นประธาน ข้าพเจ้าบอกคืนสามเณรและภิกษุนั้น.
               การบอกลาด้วยคำว่า อนฺเตวาสิกํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิกขาย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งอันเตวาสิกอย่างนี้คือ :-
               ข้าพเจ้าให้สามเณรใดบรรพชา ข้าพเจ้าสวดประกาศให้ภิกษุใด ภิกษุใดอาศัยข้าพเจ้าอยู่ ภิกษุใดให้ข้าพเจ้าแสดงอุเทศให้ ภิกษุใดสอบถามอุเทศกะข้าพเจ้า ข้าพเจ้าแสดงอุเทศแก่ภิกษุใด ข้าพเจ้าอนุญาตให้ภิกษุใดสอบถามอุเทศ ข้าพเจ้าบอกคืนภิกษุนั้น.
               การบอกลาด้วยคำว่า สมานูปชฺฌายกํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิกขาย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งพระผู้ร่วมอุปัชฌายะอย่างนี้ คือ :-
               อุปัชฌายะของข้าพเจ้าให้สามเณรใดบรรพชาแล้ว ให้ภิกษุใดอุปสมบทแล้ว สามเณรใดบรรพชาแล้วในสำนักของอุปัชฌายะนั้น ภิกษุใดอุปสมบทแล้วในสำนักของอุปัชฌายะนั้น บรรพชาของสามเณรใดมีอุปัชฌายะนั้นเป็นประธาน อุปสมบทของภิกษุใดมีอุปัชฌายะนั้นเป็นประธาน ข้าพเจ้าบอกคืนภิกษุนั้น. การบอกลาด้วยคำว่า สมานาจริยกํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิกขาย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งพระผู้ร่วมอาจารย์อย่างนี้ คือ :-
               อาจารย์ของข้าพเจ้าให้สามเณรใดบรรพชา สวดประกาศให้ภิกษุใด ภิกษุใดอาศัยอาจารย์นั้นอยู่ ภิกษุใดให้อาจารย์นั้นแสดงอุเทศให้สอบถามอุเทศ อาจารย์ของข้าพเจ้าแสดงอุเทศแก่ภิกษุใด อนุญาตให้ภิกษุใดสอบถามอุเทศ ข้าพเจ้าบอกคืนภิกษุนั้น.
               การบอกลาด้วยคำว่า สพฺรหฺมจารึ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคำไวพจน์.
               การบอกลาสิกขาย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งพระเพื่อนพรหมจรรย์อย่างนี้ คือ :-
               ข้าพเจ้าศึกษาอธิศีล ศึกษาอธิจิต ศึกษาอธิปัญญา ร่วมกับภิกษุใด ข้าพเจ้าบอกคืนพระเพื่อนพรหมจรรย์นั้น.
               การบอกลาด้วยคำว่า คิหีติ มํ ธาเรหิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคำไวพจน์.
               การบอกลาสิกขาย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งคฤหัสถ์อย่างนี้ คือ :-
               อาคาริโกติมํ ธาเรหิท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้ครองเรือน
               กสโกติ " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นชาวนา
               วาณิโชติมํ ธาเรหิท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นพ่อค้า
               โครกฺโขติ " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้เลี้ยงโค
               โอคลฺลโกติ " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นคนกำพร้า
               โมลิพทฺโธติ " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้ไว้ผมจุก
               กามคุณิโกติ " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้รักกามคุณ.

               การบอกลาด้วยคำว่า อุปาสโกติ มํ ธาเรหิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคำไวพจน์.
               การบอกลาสิกขาย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งอุบาสกอย่างนี้คือ :-
               เทฺววาจิโกอุปาสโกติ มํ ธาเรหิท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นอุบาสกผู้มีวาจา ๒
               เตวาจิโกติ "      " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นอุบาสกผู้มีวาจา ๓
               พุทฺธํ สรณคมนิโก "      " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นอุบาสกผู้เข้าถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง
               ธมฺมํ สรณคมนิโก "      " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงพระธรรมว่าเป็นที่พึ่ง
               สงฺฆํ สรณคมนิโกอุปาสโกติ มํ ธาเรหิท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง,
               ปญฺจสิกฺขาปทิโกอุปาสโกติ มํ ธาเรหิท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นอุบาสกผู้รักษาสิกขาบท ๕
               ทสสิกฺขาปทิโกอุปาสโกติ มํ ธาเรหิท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นอุบาสกผู้รักษาสิกขาบท ๑๐.

               การบอกลาด้วยคำว่า อารามิโกติ มํ ธาเรหิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคำไวพจน์.
               การบอกลาสิกขาย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งอารามิกะ (ผู้รักษาวัดหรือผู้รักษาสวน) อย่างนี้คือ :-
               กปฺปิยการโกติมํ ธาเรหิท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นกัปปิยการก,
               เวยฺยาวจฺจกโรติ " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นไวยาวัจกร,
               อปหริตการโกติ " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้ทิ้งของสดเขียว, (ผู้ดายหญ้า)
               ยาคุภาชโกติ " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้แจกข้าวต้ม,
               ผลภาชโกติมํ ธาเรหิท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้แจกผลไม้,
               ขชฺชกภาชโกติ " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้แจกของขบเคี้ยว,

               การบอกลาด้วยคำว่า สามเณโรติ มํ ธาเรหิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคำไวพจน์.
               การบอกลาสิกขาย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งสามเณรอย่างนี้คือ :-
               กุมารโกติมํ ธาเรหิท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นสามเณรน้อย,
               เจฏโกติ " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นสามเณรเล็ก,
               เปฏโกติ " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นสามเณรปานกลาง,
               โมณิคลฺโลติ " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นสามเณรโค่ง,
               สมณุทฺเทโสติ " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นสมณุทเทส,
(คือสามเณรมีอายุมากหรือเถร)

               การบอกลาด้วยคำว่า ติตฺถิโยติ มํ ธาเรห ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคำไวพจน์.
               การบอกลาสิกขาย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งเดียรถีย์อย่างนี้คือ :-
               นิคฺคณฺโฐติมํ ธาเรหิท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นนิครณฐ์,
               อาชีวโกติ " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นเป็นอาชีวก,
               ตาปโสติ " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นดาบส,
               ปริพฺพาชโกติ " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นปริพาชก,
               ปณฺฑรงฺโคติ  " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นตาปะขาว,

               การบอกลาด้วยคำว่า ติตฺถิยสาวโกติ มํ ธาเรหิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคำไวพจน์.
               การบอกลาสิกขาย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งสาวกเดียรถีย์อย่างนี้ คือ :-
               นิคฺคณฺฐสาวโกติ มํ ธาเรหิท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นสาวกของ
นิครณฐ์.
               อาชีวกตาปสปริพฺพาชก
ปณฺฑรงฺคสาวโกติ มํ ธาเรหิ
ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นสาวกของ
อาชีวกดาบส ปริพาชกและตาปะขาว.

               การบอกลาด้วยคำว่า อสฺสมโณติ มํ ธาเรหิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคำไวพจน์.
               การบอกลาสิกขาย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งผู้มิใช่สมณะอย่างนี้ คือ :-
               ทุสฺสีโลติมํ ธาเรหิท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้ทุศีล.
               ปาปธมฺโมติ"ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้มีธรรมลามก,
               อสุจิสงฺกสฺสรสมาจาโรติ"ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้ไม่สะอาดและมีสมาจารที่ตามระลึกด้วยความรังเกียจ,
               ปฏิจฺฉนฺนกมฺมนฺโตติ"ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้มีงานปกปิด,
               อสฺสมโณ
สมณปฏิญฺโญติ
"ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้มิใช่สมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ,
               อพฺรหฺมจารี
พฺรหฺมจาริปฏิญฺโญติ
"ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นผู้ประพฤติไม่ประเสริฐ ก็ปฏิญญาว่า เป็นผู้ประพฤติประเสริฐ,
               อนฺโตปูตีติ"ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้บูดเน่าภายใน,
               อวสฺสุโตติ"ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้อันราคะให้ชุ่มแล้ว,
               กสมฺพุชาโตติ"ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้ดุจขยะมูลฝอย,
               โกณฺโฑติมํ ธาเรหิท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นคนชั่ว,

               การบอกลาด้วยคำว่า อสกฺยปุตฺติโยติ มํ ธาเรหิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วยคำไวพจน์.
               การบอกลาสิกขาย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร มีอาทิอย่างนี้ คือ :-
               น สมฺมาสมฺพุทฺธปุตฺโตติ
มํ ธาเรหิ
ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า ไม่เป็นบุตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า,
               น อนนฺตพุทฺธิปุตฺโตติ
มํ ธาเรหิ
ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า ไม่เป็นบุตรของพระอนันตพุทธิเจ้า,
               น อโนมพุทฺธิปุตฺโตติ
มํ ธาเรหิ
ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า ไม่เป็นบุตรของพระอโนมพุทธิเจ้า,
               นโพธิปฺปญฺญาณปุตฺโตติ
มํ ธาเรหิ
ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า ไม่เป็นบุตรของโพธิปัญญาณเจ้า,
               น ธีรปุตฺโตติ มํ ธาเรหิท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า ไม่เป็นบุตรของพระธีรเจ้า,
               น วิคตโมหปุตฺโตติ
มํ ธาเรหิ
ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า ไม่เป็นบุตรของพระวิคตโมหเจ้า,
               น ปภินฺนขีลปุตฺโตติ
มํ ธาเรหิ
ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า ไม่เป็นบุตรของพระปภินนขีลเจ้า,
               น วิชิตวิชยปุตฺโตยิ
มํ ธาเรหิ
ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า ไม่เป็นบุตรของพระวิชิตวิชัยเจ้า,

               หลายบทว่า เตหิ อากาเรหิ เตหิ ลิงฺเคหิ เตหิ นิมิตฺเตหิ ความว่า (ภิกษุย่อมกล่าวให้ผู้อื่นรู้) ด้วยคำไวพจน์แห่งพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นเหล่านั้น คือที่ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า คำไวพจน์แห่งพระพุทธเจ้าก็ดี.
               จริงอยู่ คำไวพจน์ทั้งหลาย ท่านเรียกว่า อาการ เพราะเป็นเหตุแห่งการบอกลาสิกขา, เรียกว่า เพศ เพราะแสดงทรวดทรงแห่งพระพุทธเจ้าเป็นต้น หรือเพราะความเหมาะสมแก่การบอกลาสิกขานั่นเอง, เรียกว่า นิมิต เพราะเป็นเหตุให้รู้การบอกลาสิกขา เหมือนจุดดำทั้งหลายมีมูลแมลงวันเป็นต้น (ไฝ) ของพวกมนุษย์ฉะนั้น.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกำหนดแน่นอนลงไปว่า เอวํ โข ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น เพราะเหตุแห่งการบอกลาสิกขาอย่างอื่น นอกจากเหตุที่กล่าวแล้วนี้ไม่มี.
               จริงอยู่ ในคำว่า เอวํ โข นี้ มีอธิบายดังนี้ว่า ความทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล และการบอกลาสิกขาย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล เหตุอื่นนอกจากนี้ หามีไม่.

               ลาสิกขากับคนวิกลจริตเป็นต้นไม่เป็นอันบอกลา               
               พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงลักษณะแห่งการบอกลาสิกขาอย่างนี้แล้ว เพื่อความไม่เลอะเลือนในการไม่บอกลา และเพื่อแสดงความวิบัติแห่งลักษณะการบอกลาสิกขานั้นนั่นเอง ด้วยอำนาจแห่งบุคคลเป็นต้น จึงตรัสคำว่า กถญฺจ ภิกฺขเว อปจฺจกฺขาตา ดังนี้เป็นต้น.
               ในคำว่า อปจฺจกฺขาตา เป็นต้นนั้นมีวินิจฉัยดังนี้ :-
               คำว่า เยหิ อากาเรหิ เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นเอง.
               บทว่า อุมฺมตฺตโก ได้แก่ ภิกษุบ้าเพราะถูกยักษ์เข้าสิง หรือบ้าเพราะดีกำเริบ คือ ภิกษุผู้มีสัญญาวิปริตรูปใดรูปหนึ่ง. ภิกษุบ้านั้น ถ้าบอกลา (สิกขา) ไซร้, สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกลา.
               บทว่า อุมฺมตฺตกสฺส ได้แก่ ภิกษุบ้าเช่นนั้นเหมือนกัน.
               จริงอยู่ ถ้าปกตัตตภิกษุบอกลาสิกขาในสำนักของภิกษุบ้าเช่นนั้นไซร้, ภิกษุบ้าไม่เข้าใจ, สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกลา.
               ภิกษุบ้าเพราะถูกยักษ์เข้าสิง ท่านเรียกว่า ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน.
               อนึ่ง คำว่า ภิกษุบ้าเพราะถูกยักษ์เข้าสิง หรือภิกษุบ้าเพราะดีกำเริบ ท่านกล่าวไว้แล้วในบทต้น โดยความเป็นภิกษุบ้าเสมอกัน.
               ความแปลกกันแห่งภิกษุบ้า แม้ทั้งสองจักมีแจ้งในอนาปัตติวาร.
               ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่านอย่างนั้นบอกลา (สิกขา) สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกลาเลย. สิกขาแม้อันปกตัตตภิกษุบอกลาแล้วในสำนักของภิกษุบ้าเพราะถูกยักษ์เข้าสิงนั้น เมื่อภิกษุบ้านั้นไม่เข้าใจ ก็ไม่เป็นอันบอกลา.
               บทว่า เวทนฏฺโฏ ได้แก่ ภิกษุผู้อันทุกขเวทนาที่มีกำลังถูกต้องแล้ว คือ ผู้ถูกความสยบครอบงำแล้ว. สิกขาที่ภิกษุผู้ถูกเวทนาเบียดเบียนบ่นเพ้ออยู่นั้น แม้บอกลาแล้ว ก็ย่อมไม่เป็นอันบอกลา. สิกขา แม้อันภิกษุบอกลาแล้วในสำนักของภิกษุผู้ถูกเวทนาครอบงำนั้น เมื่อภิกษุผู้ถูกเวทนาครอบงำนั้นไม่เข้าใจ ก็ไม่เป็นอันบอกลา.
               สองบทว่า เทวตาย สนฺติเก ความว่า สิกขาที่ภิกษุบอกลาแล้วในสำนักของเทวดาเริ่มต้นแต่ภุมเทวดาไปจนถึงอกนิฏเทวดา ย่อมไม่เป็นอันบอกลา.
               บทว่า ติรจฺฉานคตสฺส ความว่า สิกขาที่ภิกษุบอกลาแล้วในสำนักของนาคมาณพก็ดี สุบรรณมาณพก็ดี หรือในสำนักของเทวดาเหล่ากินนร ช้างและลิงเป็นต้นพวกใดพวกหนึ่งก็ดี ย่อมไม่เป็นอันบอกลาเลย.
               สิกขาที่ภิกษุบอกลาในสำนักของบรรดาภิกษุบ้าเป็นต้นเหล่านั้น ย่อมไม่เป็นอันบอกลาแท้ เพราะ (ภิกษุบ้าเป็นต้นนั้น) ไม่เข้าใจ.
               ที่บอกลาในสำนักของเทวดา ก็ย่อมไม่เป็นอันบอกลา (เหมือนกัน) เพราะ (เทวดา) เข้าใจเร็วเกินไป.
               ชื่อว่าเทวดาพวกที่มีปฏิสนธิเป็นไตรเหตุ มีปัญญามาก ย่อมรู้อะไรเร็วเกินไป. ก็ขึ้นชื่อว่าจิตนี้ ย่อมเป็นธรรมชาติเป็นไปเร็ว เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงใฝ่พระทัยว่า ความพินาศของบุคคล (ภิกษุ) ผู้มีจิตกลับกลอก อย่าได้มีเร็วนัก เพราะอำนาจจิตนั่นเลย จึงทรงห้ามการลาสิกขาในสำนักของเทวดาไว้.
               ส่วนในหมู่มนุษย์ไม่มีกำหนดไว้,
               สิกขาที่ภิกษุบอกลาในสำนักของคนใดคนหนึ่งผู้เป็นสภาคกัน (คือบุรุษ) ก็ตาม ผู้เป็นวิสภาคกัน (คือมาตุคาม) ก็ตาม เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม ซึ่งเข้าใจ (ผู้รู้เดียงสา) ย่อมเป็นอันบอกลาแล้วแท้.
               ถ้าว่าคนนั้นไม่เข้าใจไซร้, สิกขาก็ย่อมไม่เป็นอันบอกลาเลย.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแสดงใจความนั่น จึงตรัสคำว่า อริยเกน เป็นต้น.
               ในคำว่า อริยเกน เป็นต้นนั้นมีวินิจฉัยดังนี้ :-
               โวหารของชาวอริยะ ชื่ออริยกะ ได้แก่ ภาษาของชาวมคธ. โวหารที่ไม่ใช่ของชาวอริยะอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อมิลักขกะ ได้แก่ โวหารของชาวอันธทมิฬ (คนดำ) เป็นต้น.
               หลายบทว่า โส เจ น ปฏิวิชานาติ ความว่า (ถ้าชนชาวมิลักขะนั้น) ไม่เข้าใจว่า ภิกษุนั่นพูดเนื้อความชื่อนี้ เพราะความที่ตนไม่รู้ในภาษาอื่นหรือเพราะความที่ตนไม่ฉลาดในพุทธสมัยสิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกลา.
               บทว่า ทวาย๑- ความว่า ภิกษุผู้มีความประสงค์จะพูดอย่างหนึ่งโดยเร็ว แต่พูดไปโดยเร็วว่า ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้า ดังนี้ (ชื่อว่า ภิกษุบอกคืนสิกขา โดยกล่าวเล่นหรือกล่าวเร็ว).
               บทว่า รวาย แปลว่า โดยการพูดพลาด.
               หากจะมีผู้ถาม ถามว่า ภิกษุคิดว่า เราจักพูดอย่างหนึ่ง ดังนี้ แต่พูดไปอีกอย่างหนึ่ง คือพูดว่า เราบอกคือพระพุทธเจ้า๒- ดังนี้ คำพูดที่พูดนี้กับคำพูดที่มีอยู่ก่อน๓- มีความแปลกกันอย่างไร?
               แก้ว่า แม้ผู้ฉลาดพูดคำก่อนพลาดไปเป็นคำอื่น ก็ด้วยอำนาจความเร็ว แต่บุคคลผู้พลั้งพลาดตั้งใจว่า เราจักพูดอย่างหนึ่งพลาดไปพูดอย่างหนึ่งนี้ ก็เพราะความที่ตนเป็นคนทึบ เป็นคนหลงงมงาย.
               สองบทว่า อสฺสาเวตุกาโม สาเวติ ความว่า ภิกษุบอก สอบถาม เล่าเรียน ทำการสาธยาย พรรณนาบาลีแห่งสิกขาบทนี้ ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ไม่ประสงค์จะประกาศ แต่ประกาศให้ได้ยิน.
               หลายบทว่า สาเวตุกาโม น สาเวติ ความว่า ภิกษุผู้ทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลแล้วบอกคืนสิกขา แต่ไม่ลั่นวาจา ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ประสงค์จะประกาศ แต่ไม่ประกาศให้ได้ยิน.
               สองบทว่า อวิญฺญุสฺส สาเวติ ความว่า ประกาศแก่คนชราผู้เป็นเช่นกับด้วยรูปปั้นหรือผู้มีปัญญาทึบ ซึ่งไม่ฉลาดในลัทธิ (ศาสนา) หรือพวกเด็กชาวบ้านผู้ยังไม่บรรลุเดียงสา.
               สองบทว่า วิญฺญุสฺส น สาเวติ ความว่า ไม่ประกาศแก่ผู้ฉลาดซึ่งสามารถจะเข้าใจได้.
               หลายบทว่า สพฺพโส วา ปน ความว่า สิกขาย่อมเป็นอันบอกลาแล้ว โดยปริยายใด ในบรรดาคำว่า พุทฺธํ ปจฺจกฺขามิ เป็นต้น แต่เธอหาได้ทำแม้ปริยายอย่างหนึ่งจากปริยายนั้น คือลั่นวาจาประกาศให้ได้ยินไม่.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงกำหนดลักษณะแห่งการไม่บอกลาไว้ ด้วยคำว่า เอวํ โข เป็นต้น.
               จริงอยู่ ในคำว่า เอวํ โข เป็นต้นนี้ มีอธิบายดังนี้ว่า สิกขาย่อมเป็นอันภิกษุไม่บอกลา ด้วยอาการอย่างนี้แล หามีได้ด้วยเหตุอย่างอื่นไม่.
____________________________
๑- ฎีกาสารัตถทีปนี้. ๒/๑๒๕. แก้ไว้ว่า ทวาติ สหสา แปลว่า บทว่า ทวะ แปลว่า โดยเร็ว.
๒- อญฺญํ ภณิสสฺสามีติ อญฺญํ ภณนฺโต พุทฺธํ ปจฺจกฺขามีติ ภณติ สารัตถทีปนี. ๒/๑๒๕
๓- ปุริเมน ภณเนน สทฺธึ อิมสฺส ภณนสฺส โก วิเสโสติ ปุจฺฉโก เจ ปจฺฉติ. อตฺถโยชนา ๑/๒๕๓

               สิกฺขาปจฺจกฺขานวิภงฺคํ นิฏฺฐิตํ ฯ               

               มูลปฺปญฺญตฺติวณฺณนา               
               [อรรถาธิบายความหมายแห่งเมถุนธรรม]               
               บัดนี้ เพื่อทรงแสดงใจความแห่งบทว่า เมถุนํ ธมฺมํ ปฏิเสเวยฺย เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า เมถุนธมฺโม นาม เป็นต้น.
               ในคำว่า เมถุนธมฺโม นาม เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-
               คำว่า เมถุนธมฺโม นาม นี้ เป็นบทอุเทศแห่งเมถุนธรรมที่ควรอธิบาย.
               ธรรมของพวกอสัตบุรุษทั้งหลาย คือคนต่ำช้า ชื่อว่าอสัทธรรม. ธรรมเป็นที่เสพของพวกชาวบ้าน ชื่อว่าคามธรรม. ธรรมของพวกคนถ่อย ชื่อวสลธรรม.
               อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชื่อว่าถ่อยเองนั่นแล เพราะเป็นที่ไหลออกแห่งกิเลส เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า วสลธรรม.
               บทว่า ทุฏฺฐุลฺลํ มีความว่า ชื่อว่าเป็นธรรมชั่ว เพราะเป็นธรรมอันกิเลสทั้งหลายประทุษร้ายแล้ว และชื่อว่าเป็นธรรมหยาบ เพราะเป็นธรรมไม่ละเอียด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าธรรมชั่วหยาบ.
               อนึ่ง ตั้งแต่นี้ไปพึงเปลี่ยนสองบทว่า โย โส นี้ ทำให้เป็น ยนฺตํ ประกอบใน ๓ บทว่า ยนฺตํทุฏฺฐุลฺลํ ยนฺตํ โอทกนฺติกํ ยนฺตํ รหสฺสํ.
               ก็แลพึงทราบโยชนาใน ๓ บทนี้ อย่างนี้ว่า
               การเห็นก็ดี การจับก็ดี การลูบคลำก็ดี การถูกต้องก็ดี การเบียดสีก็ดี ซึ่งเป็นบริวารของกรรมนั้น จัดเป็นกรรมชั่วหยาบ แม้เพราะเหตุนั้น กรรมนั้นจึงจัดเป็นกรรมชั่วหยาบ. กรรมชั่วหยาบนั้น ชื่อว่าเมถุนธรรม น้ำอันบุคคลย่อมถือเอา เพื่อความสะอาดในที่สุดแห่งกรรมนั้น เหตุนั้น กรรมนั้นจึงชื่อว่ามีน้ำเป็นที่สุด. กรรมมีน้ำเป็นที่สุดนั่นแล ชื่อว่าโอทกันติกะ กรรมมีน้ำเป็นที่สุดนั้นชื่อว่า เมถุนธรรม
               กรรมนั้นชื่อว่าเป็นกรรมลับ เพราะความเป็นกรรมที่ต้องทำในที่ลับ คือ ในโอกาสอันปิดบัง กรรมนั้นชื่อว่า เมถุนธรรม.
               กรรมนั้นชื่ออันคนเป็นคู่ๆ พึงถึงร่วมกัน เพราะความเป็นกรรมอันบุคคลพึงร่วมเป็นคู่ๆ กัน. ในบทว่า ทฺวยทฺวยสมาปตฺติ นั้นพึงทราบโยชนาว่า กรรมอันคนเป็นคู่ๆ พึงถึงรวมกันนั้น ชื่อว่า เมถุนธรรม.
               ก็แล ในอธิการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงชักธรรมทั้งปวงมีอสัทธรรมเป็นต้นนั้นมารวมในที่เดียวกัน จึงตรัสว่า นี้ชื่อว่า เมถุนธรรม.
               ถามว่า เพราะเหตุไร อสัทธรรมจึงเรียกว่า เมถุนธรรม?
               แก้ว่า อสัทธรรมนั้นเป็นของคนคู่ผู้กำหนัดแล้ว ผู้กำหนัดจัดแล้ว ผู้อันราคะชุ่มใจแล้ว คือผู้อันราคะกลุ้มรุมแล้ว ได้แก่เป็นธรรมของคนคู่ผู้ปานกัน เพราะเหตุนั้นจึงเรียกว่า เมถุนธรรม.
               บทว่า ปฏิเสวติ นาม นี้ เป็นบทมาติกา เพื่อแสดงอาการซึ่งเป็นเหตุอันพระองค์ตรัสเรียกบุคคลว่า พึงเสพเฉพาะ ในบทว่า ปฏิเสเวยฺย นี้.
               ในบทว่า โย นิมิตฺเตน นิมิตฺตํ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-
               ภิกษุใดให้นิมิตของตนเข้าไปทางนิมิตของหญิง คือให้องคชาตของตนเข้าไปทางองคชาตของหญิง ในโอกาสอันชุ่มซึ่งลมถูกต้องไม่ได้ โดยประมาณอย่างต่ำที่สุด แม้เพียงเมล็ดงาหนึ่ง ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมเสพเฉพาะ ด้วยอาการเพียงเท่านี้ เธอย่อมถึงความทำลายแห่งศีล คือเป็นปาราชิก.

               [สตรีนิมิตได้ฐาน ๕ ปุริสนิมิตได้ฐาน ๖]               
               ก็บรรดานิมิตของสตรีและบุรุษนี้ ในนิมิตของสตรีได้ฐาน ๕ คือข้างทั้ง ๔ และท่ามกลาง. ในนิมิตของบุรุษได้ฐาน ๖ คือข้างทั้ง ๔ ตรงกลางปลาย. เพราะเหตุนั้น ในนิมิตของสตรี แม้สอดองคชาตเข้าไปทางใต้ ย่อมเป็นปาราชิก สอดเข้าไปจากข้างบนก็ดี สอดเข้าไปทางข้างทั้งสองก็ดี สอดเข้าไปตรงกลาง พ้นฐานทั้ง ๔ ก็ดี ย่อมเป็นปาราชิก (ทั้งนั้น).
               ส่วนนิมิตแห่งบุรุษ แม้ภิกษุสอดเข้าไปให้ถูกทางส่วนล่าง ย่อมเป็นปาราชิก สอดเข้าไปให้ถูกทางส่วนบนก็ดี สอดเข้าไปให้ถูกทางข้างทั้งสองก็ดี สอดเข้าไปให้ถูกเฉพาะตรงกลาง เหมือนให้นิ้วมือที่งอเข้าแล้ว จดเข้าด้วยหลังข้อกลางก็ดี สอดเข้าไปให้ถูกทางส่วนปลายก็ดี ย่อมเป็นปาราชิก (ทั้งนั้น).
               บรรดานิมิตของสตรีและบุรุษนั้น แม้เมื่อภิกษุสอดองคชาตเข้าไปให้เหมือนกับคนชั่ง ได้ฐาน ๕ คือ ข้างทั้ง ๔ และตรงกลาง. แม้เมื่อสอดให้งอเข้าไป ก็ได้ฐาน ๕ คือ ข้างทั้ง ๔ ส่วนปลายและตรงกลาง. ฐานแม้ทั้งหมดในนิมิตของบุรุษมี ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.
               ภิกษุสอดหัวติ่ง๑- หรือปมหนัง ซึ่งมีกายประสาทยังดีที่เกิดอยู่ในนิมิต (ของตน) เข้าไป (ในนิมิตของสตรี) เป็นอาบัติปาราชิก. สอดติ่งหนังที่ตายแล้ว หรือปมหนังที่แห้ง ที่มีกายประสาทเสียแล้วเข้าไป (ในนิมิตของสตรี) เป็นอาบัติทุกกฏ. แม้เมื่อสอดขน หรือปลายนิ้วมือและนิ้วหัวแม่มือเข้าไป (ในนิมิตของสตรี) ด้วยความยินดีในเมถุน เป็นทุกกฎเหมือนกัน.
____________________________
๑- จมฺมขีลนฺติ นิมิตฺเตอุฏฺฐิตจมฺมเมว. อุณฺณิคณฺโฑติปิ วทนฺติ.
๑- สารัตถทีปนี. ๒/๑๒๙. หมายถึงหัวที่เป็นติ่ง หรือตุ่มพอก ซึ่งเกิดอยู่ที่องคชาต.

               [ภิกษุเมื่อจะพรรณนาเมถุนกถาควรระลึกถึงพระพุทธคุณ]               
               ก็ขึ้นชื่อว่า เมถุนกถานี้ ก็คือกถาที่ชั่วหยาบอันเป็นกถาของพวกอสัตบุรุษ เพราะฉะนั้น ภิกษุเมื่อจะกล่าวถึงฐานะนั่นก็ดี ฐานะอื่นก็ดี หรือฐานะเช่นนี้ในพระวินัย ก็ควรให้ปฏิกูลมนสิการ สมณสัญญาและหิริโอตตัปปะตั้งขึ้นเฉพาะหน้า แล้วให้ความเคารพเกิดขึ้นในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รำพึงถึงพระกรุณาของพระโลกนาถผู้มีพระกรุณาหาผู้เสมอมิได้ แล้วกล่าวเถิด.
               ควรรำพึงถึงพระกรุณาคุณของพระโลกนาถอย่างนี้ว่า
               อันที่จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้มีพระมนัสหมุนกลับแล้วจากกามทั้งหลายโดยประการทั้งปวง ทรงอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย เพื่อความเอ็นดูเหล่าสัตว์ เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก ได้ตรัสกถาเช่นนี้ไว้ เพื่อต้องการบัญญัติสิกขาบท พระศาสดามีพระกรุณาคุณจริงหนอ ดังนี้แล้ว พึงกล่าวเถิด.
               อีกประการหนึ่ง ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่พึงตรัสกถาเช่นนี้โดยประการทั้งปวงไซร้ ใครเล่าจะพึงรู้ได้ว่า ในฐานะประมาณเท่านี้ เป็นปาราชิก ในฐานะประมาณเท่านี้ เป็นถุลลัจจัย ในฐานะประมาณเท่านี้ เป็นทุกกฏ. เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้ว่าความ สดับอยู่ก็ดี กล่าวอยู่ก็ดี (ซึ่งเมถุนกถานั้น) หาควรเปิดปากนั่งหัวเราะแยกฟันกันอยู่ไม่ ใคร่ครวญว่า ถึงฐานะเช่นนี้ แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก้ได้ตรัสแล้ว ดังนี้ เป็นผู้ไม่กลัวเพราะเหตุเช่นนั้น ถึงพร้อมด้วยหิริและโอตตัปปะ มีส่วนเปรียบดังพระศาสดา แล้วพึงกล่าวเถิดฉะนี้แล.

               จบมูลบัญญัติสิกขาบท               

               อนุปัญญัติวาร               
               [กำหนดสัตว์ที่เป็นวัตถุแห่งปาราชิกเป็นต้น]               
               ในวาระแห่งอนุบัญญัติ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
               บทว่า อนฺตมโส แปลว่า โดยกำหนดอย่างต่ำที่สุดทั้งหมด.
               บทว่า ติรจฺฉานคตายปิ ความว่า ในประชาสัตว์ผู้ไปแล้ว (คือผู้เกิดแล้ว) ในเหล่าสัตว์ดิรัจฉาน ด้วยอำนาจปฏิสนธิ.
               สองบทว่า ปเคว มนุสฺสิตฺถิยา ความว่า (ภิกษุเสพเมถุนธรรม) ในหญิงผู้เป็นชาติมนุษย์ก่อนกว่า. ก็สัตว์ดิรัจฉานตัวเมียซึ่งเป็นวัตถุแห่งปาราชิกนั่นแล ควรถือเอาว่า สัตว์ดิรัจฉานในปฐมปาราชิกนี้ ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวเมียทั้งหมด (สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ไม่ใช่วัตถุแห่งปาราชิกทั้งหมด).
               ในคำว่า สัตว์ดิรัจฉาน นั้นมีกำหนด (ประเภทสัตว์) ดังนี้
                         บรรดาพวกสัตว์ไม่มีเท้า ได้แก่ งู
               และปลา, และบรรดาพวกสัตว์มีสองเท้า
               ได้แก่ แม่ไก่, บรรดาพวกสัตว์มีสี่เท้า ได้แก่
               แมวตัวเมีย, สัตว์ดิรัจฉานตัวเมียเหล่านี้
               เป็นวัตถุแห่งปาราชิก.

               [อรรถาธิบายประเภทสัตว์ต่างๆ]               
               บรรดาสัตว์มีงูเป็นต้นนั้น ทีฆชาติต่างโดยประเภทมีงูเหลือมและงูขว้างค้อนเป็นต้นแม้ทั้งหมด ท่านสงเคราะห์เข้าด้วย อหิ ศัพท์. เพราะฉะนั้น บรรดาทีฆชาติทั้งหลาย ทีฆชาติที่ภิกษุอาจสอดองคชาตเข้าไปในบรรดามรรคทั้ง ๓ มรรคใดมรรคหนึ่ง ประมาณเท่าเมล็ดงา เป็นวัตถุแห่งปาราชิก, ที่เหลือพึงทราบว่า เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ.
               สัตว์ที่เกิดในน้ำ ต่างโดยประเภทมีปลา เต่าและกบเป็นต้นแม้ทั้งหมด ท่านสงเคราะห์เข้าด้วย มัจฉะ ศัพท์. ในสัตว์ที่เกิดในน้ำแม้นั้น พึงทราบว่า เป็นวัตถุแห่งปาราชิก และเป็นวัตถุแห่งทุกกฏ โดยนัยดังกล่าวไว้แล้วในทีฆชาตินั่นเอง.
               ส่วนความแปลกกันมีดังต่อไปนี้ :-
               ขึ้นชื่อว่ากบเป็นสัตว์มีปากแข็ง, กบเหล่านั้น มีสัณฐานปากกว้างแต่มีช่องปากแคบ ในสัณฐานปากนั้น จึงไม่เพียงพอที่จะสอดองคชาตเข้าไปได้, แต่สัณฐานปาก ย่อมถึงความนับว่าแผล, เพราะฉะนั้น พึงทราบมุขสัณฐานนั้นว่า เป็นวัตถุแห่งถุลลัจจัย.
               ปักษีชาติต่างโดยประเภทมีกาก์และลูกนกสาลิกาเป็นต้นแม้ทั้งหมด ท่านสงเคราะห์เข้าด้วย กุกกุฏี ศัพท์. ในปักษีชาติแม้นั้น พึงทราบว่า เป็นวัตถุแห่งปาราชิกและวัตถุแห่งทุกกฏ โดยนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแล.
               จตุปทชาติ (สัตว์มีสี่เท้า) ต่างโดยประเภทมีกระแต๑- พังพอน และเหี้ยเป็นต้นแม้ทั้งหมด ท่านสงเคราะห์เข้าด้วย มัชชารี ศัพท์. ในจตุปทชาติ แม้นั้นก็พึงทราบว่า เป็นวัตถุแห่งปาราชิก และเป็นวัตถุแห่งทุกกฏ โดยนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแล.
____________________________
๑- บางท่านว่า สุนัขต้นไม้, มีชุกทางอินเดียภาคเหนือ.

               [ปาราชิกศัพท์เป็นไปในสิกขาบทเป็นต้น]               
               บทว่า ปาราชิโก แปลว่า พ่ายแพ้แล้ว คือ ถึงแล้วซึ่งความพ่ายแพ้.
               จริงอยู่ ปาราชิก ศัพท์นี้ ย่อมเป็นไปทั้งในสิกขาบท อาบัติและบุคคล.
               ใน ๓ อย่างนั้น ปาราชิกศัพท์ที่เป็นไปในสิกขาบท พึงทราบ (ในที่มา) อย่างนี้ว่า
               ดูก่อนอานนท์ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ที่ตถาคตจะพึงถอนปาราชิกสิกขาบทที่ได้บัญญัติไว้แล้วเพื่อสาวกทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งพวกภิกษุชาววัชชี หรือพวกวัชชีบุตรเลย.๑-
               ที่เป็นไปในอาบัติ พึงทราบ (ในที่มา) อย่างนี้ว่า ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.๒-
               ที่เป็นไปในบุคคล พึงทราบ (ในที่มา) อย่างนี้ว่า พวกเรามิได้เป็นปาราชิก, ผู้ใดลัก ผู้นั้นเป็นปารากชิก.
               แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ปาราชิกศัพท์นี้ยังเป็นไปในธรรมได้อีก เช่นในที่มามีคำว่า (ภิกษุ) ตามกำจัด (ภิกษุ) ด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิก ดังนี้เป็นต้น.๓-
               แต่เพราะเหตุที่ในอาบัติและสิกขาบททั้ง ๒ นั้น ในที่บางแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระประสงค์อาบัติว่า ธรรม บางแห่งก็ทรงพระประสงค์สิกขาบททีเดียว เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรจะกล่าวธรรมนั้นไว้อีกแผนกหนึ่ง.
               บรรดาสิกขาบท อาบัติและบุคคลนั้น, สิกขาบท พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ปาราชิก เพราะเหตุที่ยังบุคคลผู้ละเมิดให้พ่าย, ส่วนอาบัติตรัสว่าปาราชิก เพราะเหตุที่ยังบุคคลผู้ต้องให้พ่าย, บุคคลตรัสว่า เป็นปาราชิก เพราะเหตุที่เป็นผู้พ่าย คือถึงความแพ้.
               จริงอยู่ แม้ในคัมภีร์บริวาร พระผู้มีพระภาคเจ้าก็หมายเฉพาะเนื้อความนี้ ตรัสว่า
                         อาบัติใด เราเรียกว่าปาราชิก, ท่าน
               จงฟังอาบัตินั้นตามที่กล่าว, บุคคลผู้ต้อง
               ปาราชิก ย่อมเป็นผู้เคลื่อน ผิด ตกไป
               และเหินห่างจากสัทธรรมแล, แม้ธรรมเป็น
               ที่อยู่ร่วมกันในบุคคลนั้น ย่อมไม่มี, ด้วย
               เหตุนั้น อาบัตินั้น เราจึงเรียกอย่างนั้น.๔-
____________________________
๑- วิ. มหา. เล่ม ๑/ข้อ ๒๓/หน้า ๔๑
๒- วิ. มหา. เล่ม ๑/ข้อ ๔๙/หน้า ๖๒
๓- วิ. มหา. เล่ม ๑/ข้อ ๕๔๙/หน้า ๓๗๖
๔- วิ. ปริวาร. เล่ม ๘/ข้อ ๑๐๓๕/หน้า ๓๖๘.

               [อรรถาธิบายความในพระคาถา]               
               ก็ในปริวารคาถานี้ มีเนื้อความดังต่อไปนี้ :-
               บุคคลผู้ละเมิดสิกขาบทนั้นและต้องอาบัตินั้น ย่อมเป็นผู้เคลื่อน (จากสัทธรรม), คำทั้งปวงอันบัณฑิตพึงประกอบอย่างนี้.
               สองบทว่า เตน วุจฺจติ มีความว่า บุคคลย่อมเป็นผู้ไม่ใช่สมณะ ไม่ใช่เหล่ากอแห่งศากยบุตร พลัดตกไป ขาดไป คือพ่ายแพ้จากศาสนา ด้วยเหตุใด, ด้วยเหตุนั้น บุคคลนั้น เราจึงกล่าว.
               ถามว่า กล่าวว่าอย่างไร?
               แก้ว่า กล่าวว่าเป็นผู้พ่าย.
               ภิกษุทั้งหลายย่อมอยู่ร่วมกันในธรรมนี้ เหตุนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าสังวาส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สํวาโส นาม ดังนี้แล้ว จึงตรัสคำเป็นต้นว่า เอกกมฺมํ ก็เพื่อแสดงสังวาสนั้น.
               ในคำว่า เอกกมฺมํ เป็นต้นนั้น มีคำอธิบายพร้อมทั้งโยชนา ดังต่อไปนี้ :-
               สังฆกรรมทั้ง ๔ อย่าง ชื่อว่ากรรมอันเดียวกัน เพราะความเป็นกรรมที่ภิกษุทั้งหลายผู้ปกตัตตะกำหนดด้วยสีมา จะพึงทำร่วมกัน.
               อนึ่ง ปาฏิโมกขุทเทสทั้ง ๕ อย่าง ชื่อว่าอุเทศเดียวกัน เพราะความเป็นอุเทศที่จะพึงสวดด้วยกัน. ส่วนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติแล้ว ชื่อว่า สมสิกขาตา เพราะความเป็นสิกขาที่ลัชชีบุคคลแม้ทั้งปวงจะพึงศึกษาเท่ากัน. ลัชชีบุคคลแม้ทั้งปวงย่อมอยู่ร่วมกันในกรรมเป็นต้นเหล่านี้, บุคคลแม้ผู้เดียวจะปรากฏในภายนอก จากกรรมเป็นต้นนั้นหามิได้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงรวมเอาสิ่งเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ตรัสว่า นี้ชื่อว่า สังวาส ในพระบาลีนี้.
               ก็แลสังวาสมีประการดังกล่าวแล้วนั้นไม่มีกับบุคคลนั้น เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้พ่าย พระองค์จึงตรัสว่า ผู้หาสังวาสมิได้ ฉะนี้แล.

               ------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ปฐมปาราชิกสิกขาบท ลักษณะสิกขาที่ไม่เป็นอันบอกคืน และที่เป็นอันบอกคืน จบ.
อ่านอรรถกถา 1 / 1อ่านอรรถกถา 1 / 25อรรถกถา เล่มที่ 1 ข้อ 30อ่านอรรถกถา 1 / 38อ่านอรรถกถา 1 / 657
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=1&A=803&Z=1253
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=1&A=6144
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=1&A=6144
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๙  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๕๔
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :