ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 13 / 1อ่านอรรถกถา 13 / 646อรรถกถา เล่มที่ 13 ข้อ 661อ่านอรรถกถา 13 / 672อ่านอรรถกถา 13 / 734
อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พราหมณวรรค
เอสุการีสูตร เรื่องเอสุการีพราหมณ์

               ๖. อรรถกถาเอสุการีสูตร               
               เอสุการีสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
               บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า พึงแขวนส่วน คือพึงให้แขวนส่วน. ทรงแสดงชื่อว่า สัตถธรรม คือธรรมของพ่อค้าเกวียนด้วยคำนี้.
               ได้ยินว่า พ่อค้าเกวียนเดินทางกันดารมาก. เมื่อโคตายในระหว่างทาง ก็ถือเอาเนื้อมันมาแล้ว แขวนไว้สำหรับผู้ต้องการเนื้อทั้งปวงว่า ใครๆ เคี้ยวกินเนื้อนี้ จงให้ราคาเท่านี้. ธรรมดาว่าเนื้อโค คนกินได้ก็มี กินไม่ได้ก็มี ผู้สามารถให้ต้นทุนก็มี ผู้ไม่สามารถก็มี. พ่อค้าเกวียนซื้อโคมาด้วยราคาใด เพื่อให้ราคานั้น จึงให้ส่วนแก่คนทั้งปวงโดยพลการแล้ว เอาแต่ต้นทุน. นี้เป็นธรรมของพ่อค้าเกวียน. เพื่อแสดงว่า แม้พราหมณ์ทั้งหลายก็อย่างนั้นเหมือนกัน ถือเอาปฏิญญาของชาวโลกแล้วบัญญัติการบำเรอ ๔ ประการ โดยธรรมดาของตนเอง ดังนี้ จึงตรัสว่า อย่างนั้นเหมือนกันแล ดังนี้เป็นต้น.
               คำว่า พึงมีแต่ความชั่ว คือ พึงเป็นความชั่วช้าอย่างยิ่ง.
               คำว่า พึงมีแต่ความดี คือ พึงมีแต่ประโยชน์เกื้อกูล.
               อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ชั่ว คือ พึงเป็นอัตตภาพชั่ว คือลามก.
               บทว่า ดี คือ ประเสริฐสุด ได้แก่สูงสุด.
               บทว่า ประเสริฐ คือ ประเสริฐกว่า.
               บทว่า เพราะความเป็นผู้เกิดในตระกูลสูง คือประเสริฐ เพราะความเป็นผู้เกิดในตระกูลสูง.
               บทว่า ชั่วช้า คือ เลวทราม. ความเป็นผู้เกิดในตระกูลสูงเทียว ย่อมควรในตระกูลทั้งสอง คือตระกูลกษัตริย์และตระกูลพราหมณ์. ความเป็นผู้มีวรรณะอันยิ่ง ย่อมควรในตระกูลทั้งสาม. เพราะแม้แพศย์ก็ย่อมเป็นผู้มีวรรณะอันยิ่งได้. ความเป็นผู้มีโภคะมากย่อมควรแม้ในตระกูลทั้ง ๔. เพราะแม้ศูทรจนชั้นที่สุดแม้คนจัณฑาล ก็ย่อมเป็นผู้มีโภคะมากได้เหมือนกัน.
               บทว่า เที่ยวไปเพื่อภิกษา ความว่า อันพราหมณ์แม้มีทรัพย์เป็นโกฏิก็ต้องเที่ยวขอภิกขา. พราหมณ์แต่เก่าก่อนแม้มีทรัพย์ตั้ง ๘๐ โกฏิก็ย่อมเที่ยวภิกขาเพลาหนึ่ง.
               ถามว่า เพราะเหตุไร.
               ตอบว่า ข้อครหาว่า เดี๋ยวนี้เริ่มเที่ยวขอภิกษา ดังนี้ จักไม่มีแก่โปราณกพราหมณ์ทั้งหลายในเวลาเข็ญใจ.
               บทว่า ดูหมิ่น ความว่า พราหมณ์ละวงศ์การเที่ยวภิกษาแล้ว เลี้ยงชีวิตด้วยสัตถาชีพ (อาชีพขายศัสตรา) กสิกรรมและพาณิชกรรมเป็นต้นนี้ ชื่อว่าดูหมิ่น.
               บทว่า เหมือนคนเลี้ยงโค ความว่า เหมือนคนเลี้ยงโคลักของที่ตนต้องรักษา เป็นผู้ทำในสิ่งที่มิใช่หน้าที่ฉะนั้น. พึงทราบเนื้อความในวาระทั้งปวงโดยนัยนี้.
               บทว่า มีดและไม้คาน คือ มีดสำหรับเกี่ยวหญ้า (คือเคียว) และไม้คาน.
               บทว่า ระลึกถึง ความว่า ระลึกถึงวงศ์ตระกูลเก่าอันเป็นของมารดาบิดาที่ตนเกิดนั้น.
               คำที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

               จบอรรถกถาเอสุการีสูตรที่ ๖               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พราหมณวรรค เอสุการีสูตร เรื่องเอสุการีพราหมณ์ จบ.
อ่านอรรถกถา 13 / 1อ่านอรรถกถา 13 / 646อรรถกถา เล่มที่ 13 ข้อ 661อ่านอรรถกถา 13 / 672อ่านอรรถกถา 13 / 734
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=10535&Z=10724
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=9&A=7726
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=9&A=7726
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๗  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :