ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 14 / 1อ่านอรรถกถา 14 / 766อรรถกถา เล่มที่ 14 ข้อ 795อ่านอรรถกถา 14 / 810อ่านอรรถกถา 14 / 853
อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรค
จูฬราหุโลวาทสูตร

               ๕. อรรถกถาราหุโลวาทสูตร               
               ราหุโลวาทสูตร๑- ขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
____________________________
๑- จูฬราหุโลวาทสูตฺตํ

               ในพระสูตรนั้น คำว่า บ่มวิมุตติ มีวิเคราะห์ว่า ที่ชื่อว่าบ่มวิมุตติ ก็เพราะทำวิมุตติให้สุกงอม. คำว่า ธรรม ได้แก่ ธรรม ๑๕ อย่าง. ธรรมเหล่านั้น พึงทราบด้วยอำนาจแห่งของความหมดจดแห่งอินทรีย์มีความเชื่อเป็นต้น.
               สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า
               (๑) อินทรีย์คือความเชื่อย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างเหล่านี้คือ
                         ก. เว้นบุคคลผู้ไม่มีความเชื่อ.
                         ข. เสพ คบ เข้านั่งใกล้ บุคคลผู้มีความเชื่อ.
                         ค. พิจารณาสูตรที่เป็นเหตุให้เกิดความเลื่อมใส.
               (๒) อินทรีย์คือความเพียรย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างเหล่านี้ คือ
                         ก. เว้นบุคคลเกียจคร้าน.
                         ข. เสพ คบ เข้านั่งใกล้บุคคลผู้ปรารภความเพียร.
                         ค. พิจารณาถึงความเพียรชอบ.
               (๓) อินทรีย์คือความระลึกย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างเหล่านี้ คือ
                         ก. เว้นบุคคลผู้หลงลืมสติ.
                         ข. เสพ คบ เข้านั่งใกล้บุคคลผู้ตั้งสติมั่น.
                         ค. พิจารณาหลักการตั้งสติ (สติปัฏฐาน).
               (๔) อินทรีย์คือความตั้งใจมั่นย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างเหล่านี้ คือ
                         ก. เว้นบุคคลผู้ไม่ตั้งใจมั่น.
                         ข. เสพ คบ เข้านั่งใกล้บุคคลผู้ตั้งใจมั่น.
                         ค. พิจารณาฌานและวิโมกข์.
               (๕) อินทรีย์คือความรู้ชัดย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างเหล่านี้ คือ
                         ก. เว้นบุคคลผู้มีปัญญาทราม.
                         ข. เสพ คบ เข้านั่งใกล้บุคคลผู้มีปัญญา.
                         ค. พิจารณาญาณจริยาที่ลึกซึ้ง.
               เมื่อเว้นบุคคล ๕ พวก เสพ คบ เข้านั่งใกล้บุคคล ๕ พวก พิจารณากองสูตร ๕ กองเหล่านี้ ดังว่ามานี้ ด้วยอาการ ๑๕ อย่างเหล่านี้ อินทรีย์ทั้ง ๕ อย่างก็ย่อมหมดจด. ยังมีธรรมสำหรับบ่มวิมุตติอีก ๑๕ อย่างคือ อินทรีย์มีความเชื่อเป็นต้นเหล่านี้ ๕ อย่าง ความสำคัญอันเป็นส่วนแห่งการแทงตลอด (นิพเพธภาคิยสัญญา) ๕ อย่างเหล่านี้คือ ความสำคัญว่าไม่เที่ยง ความสำคัญว่า เป็นทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง ความสำคัญว่าไม่ใช่ตัวตนในสิ่งที่เป็นทุกข์ ความสำคัญในการละ ความสำคัญในวิราคะ และธรรมอีก ๕ อย่างมีความเป็นผู้มีมิตรดีงามเป็นต้น ที่ตรัสแก่พระเมฆิยเถระ.
               ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระดำริอย่างนี้ในเวลาใดเล่า.
               ตอบว่า เมื่อพระองค์ทรงตรวจดูโลก ในสมัยใกล้สว่าง ก็ทรงมีพระดำริอย่างนี้.
               คำว่า เทวดาหลายพันองค์ ความว่า ท่านพระราหุลตั้งความปรารถนาไว้แทบบาทมูลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ ในครั้งที่เป็นพญานาคชื่อปาลิต พร้อมกับเทวดาที่ตั้งความปรารถนาไว้เหมือนกัน. ก็แหละ บรรดาเทวดาเหล่านั้น บางพวกก็เป็นเทวดาอยู่บนแผ่นดิน. บางพวกก็เกิดในอากาศ. บางพวกก็อยู่จาตุมหาราชิกา. บางพวกก็อยู่ในเทวโลก. บางพวกก็เกิดในพรหมโลก. แต่ในวันนี้ เทวดาทั้งหมดมาประชุมกันในป่าอันธวันนั่นแลในที่เดียวกัน.
               คำว่า ดวงตาเห็นธรรม ความว่า ปฐมมรรค (โสดาปัตติมรรค) ท่านเรียกว่า ดวงตาเห็นธรรม ในอุปาลีโอวาทสูตรและทีฆนขสูตร. ผลทั้งสามท่านเรียกว่า ดวงตาเห็นธรรม ในพรหมายุสูตร. ในสูตรนี้ มรรค ๔ ผล ๔ พึงทราบว่าเป็นดวงตาเห็นธรรม.
               ก็แหละ ในบรรดาเทวดาเหล่านั้น เทวดาบางพวกได้เป็นพระโสดาบัน. บางพวกเป็นพระสกทาคามี บางพวกก็เป็นอนาคามี บางพวกก็เป็นพระขีณาสพ. และก็การกำหนดด้วยอำนาจนับจำนวนเทวดาเหล่านั้นว่าเท่านั้น เท่านี้ไม่มี.
               คำที่เหลือในที่ทุกแห่งตื้นทั้งนั้นแล.

               จบอรรถกถาราหุโลวาทสูตรที่ ๕               
               -------------------------------------               

.. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรค จูฬราหุโลวาทสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 14 / 1อ่านอรรถกถา 14 / 766อรรถกถา เล่มที่ 14 ข้อ 795อ่านอรรถกถา 14 / 810อ่านอรรถกถา 14 / 853
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=10191&Z=10323
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=10&A=6333
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=10&A=6333
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๙  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :