ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 14 / 1อ่านอรรถกถา 14 / 810อรรถกถา เล่มที่ 14 ข้อ 825อ่านอรรถกถา 14 / 832อ่านอรรถกถา 14 / 853
อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรค
สฬายตนวิภังคสูตร

               ๗. อรรถกถามหาสฬายตนสูตร๑-               
๑- บาลีเป็นสฬายตนวิภังคสูตร

               มหาสฬายตนสูตร ขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
               ในพระสูตรนั้น คำว่า มหาสฬายตนิกํ เป็นธรรมบรรยายส่องถึงอายตนะที่สำคัญทั้ง ๖ อย่าง.
               คำว่า เมื่อไม่รู้ คือ ไม่รู้ด้วยมรรคที่พร้อมกับวิปัสสนา. คำว่า ถึงความพอกพูน คือ ย่อมถึงความเจริญ หมายความว่า ย่อมถึงความชำนิชำนาญ.
               คำว่า ทางกาย ได้แก่ ความกระสับกระส่ายทางทวารทั้ง ๕.
               คำว่า ทางใจ ได้แก่ ความกระสับกระส่ายทางมโนทวาร.
               แม้ในคำว่า ความเร่าร้อน เป็นต้น ก็ทำนองเดียวกันนี้เหมือนกัน.
               บทว่า สุขทางกาย ได้แก่ สุขทางทวาร ๕. คำว่า สุขทางใจ ได้แก่สุขทางมโนทวาร.
               และในคำว่า สุขทางใจ นี้ ไม่มีการเข้าหรือการออกด้วยชวนะทางทวาร ๕. คือความสุขทางใจนี้สักว่าเกิดขึ้นเท่านั้นเอง. ทุกอย่างย่อมมีได้ทางมโนทวาร. ก็แหละวิปัสสนาที่มีกำลังนี้ย่อมเป็นปัจจัยแก่มรรควุฏฐาน. วิปัสสนาที่มีกำลังนั้นจึงมีได้ทางมโนทวารเหมือนกัน.
               คำว่า ตถาภูตสฺส คือ เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยความสุขทางใจ ที่ประกอบพร้อมด้วยกุศลจิต.
               คำว่า ปุพฺเพว โข ปนสฺส คือ วาจา การงานและอาชีพของภิกษุนั้น ชื่อว่าสะอาดมาก่อนแล้ว คือย่อมเป็นของหมดจดตั้งแต่เริ่มต้น ส่วนอีก ๕ องค์ คือความเห็น ความดำริ ความพยายาม ความระลึก ความตั้งมั่น ชื่อว่าเป็นองค์ที่สนับสนุนในทุกกรณี. ด้วยประการฉะนี้ โลกุตตรมรรคจึงมีองค์ ๘ หรือองค์ ๗ ก็ได้.
               ส่วนผู้ที่ชอบพูดเคาะ (แซว) จับเอาเนื้อพระสูตรนี้แหละว่า ความเห็นของภิกษุผู้เป็นอย่างนั้นใด แล้วกล่าวว่า โลกุตตรมรรคมีองค์ ๕ ก็ไม่มี. พึงคัดค้านผู้ชอบพูดเคาะนั้นด้วยคำพูดสวนทันควันนี้ว่า อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ของเธอนี้ ย่อมถึงความบริบูรณ์แห่งการอบรมด้วยอาการอย่างนี้. และก็พึงให้ตกลงยิ่งๆ ขึ้นไปอย่างนี้. ขึ้นชื่อว่าโลกุตตรมรรคนั้นมีองค์ ๕ ไม่มีหรอก ส่วนองค์ที่สนับสนุนในทุกกรณีเหล่านี้ ย่อมให้เต็มด้วยอำนาจวิรติเจตสิกในขณะแห่งมรรค. เพราะว่า วิรติเจตสิกในวิรติเจตสิกที่กล่าวอย่างนี้ว่า ความงดเว้นจากวจีทุจริตทั้ง ๔ อันใด ย่อมละการพูดผิด ทำการพูดชอบให้เจริญ. เมื่ออบรมวาจาชอบอยู่อย่างนี้ องค์ทั้ง ๕ ก็ไม่ขาดตกบกพร่อง ย่อมบริบูรณ์พร้อมกับความงดเว้นนั่นเอง. แม้ในการงานชอบและในการเลี้ยงชีพชอบก็ทำนองนี้แหละ. ด้วยประการฉะนี้ วจีกรรมเป็นต้นก็เป็นของหมดจดตั้งแต่แรกเริ่มทีเดียว.
               ส่วนองค์ที่สนับสนุนในทุกกรณีทั้ง ๕ เหล่านี้ย่อมบริบูรณ์ด้วยอำนาจวิรติเจตสิก จึงเป็นอันว่า มรรคที่มีองค์ ๕ ไม่มี. และแม้ในสุภัททสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสอย่างนี้ว่า สุภัททะในธรรมวินัยใดแล มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘. และพระสูตรอื่นทั้งหลายร้อยสูตร ก็มาแล้วแต่มรรคที่มีองค์ ๘ เท่านั้น.
               คำว่า สติปัฏฐานแม้ ๔ อย่าง คือ สติปัฏฐาน ๔ ที่ประกอบพร้อมด้วยมรรคนั่นเอง. แม้ในความพยายามชอบเป็นต้น ก็ทำนองเดียวกันนี้แหละ.
               คำว่า ยุคนทฺธา คือ คู่เคียง ประกอบด้วยขณะเดียวกัน. ธรรมะเหล่านั้นแม้จะมีขณะต่างกันอย่างนี้ คือในขณะหนึ่งเป็นสมาบัติ ในขณะอื่นเป็นวิปัสสนา แต่ในอริยมรรค ธรรมเหล่านั้นประกอบในขณะเดียวกัน.
               คำว่า วิชชาและวิมุตติ ได้แก่ วิชชาในอรหัตตมรรค และผลวิมุตติ.
               คำที่เหลือทุกแห่งตื้นทั้งนั้นแล.

               จบอรรถกถามหาสฬายตนสูตรที่ ๗               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรค สฬายตนวิภังคสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 14 / 1อ่านอรรถกถา 14 / 810อรรถกถา เล่มที่ 14 ข้อ 825อ่านอรรถกถา 14 / 832อ่านอรรถกถา 14 / 853
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=10555&Z=10674
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=10&A=6438
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=10&A=6438
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๙  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :