ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 14 / 1อ่านอรรถกถา 14 / 832อรรถกถา เล่มที่ 14 ข้อ 837อ่านอรรถกถา 14 / 853อ่านอรรถกถา 14 / 853
อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรค
ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร

               ๙. อรรถกถาปิณฑปาตปาริสุทธิ               
               ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
               ในบทเหล่านั้น คำว่า จากการหลีกเร้น คือ จากผลสมาบัติ.
               คำว่า ผ่องใสแล้วนี้ ท่านกล่าวด้วยอำนาจโอภาส.
               จริงอยู่ ภิกษุที่ออกจากผลสมาบัติมีโอกาสที่ประสาททั้ง ๕ ตั้งอยู่ผ่องใส ผิวพรรณก็หมดจด เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนั้น.
               คำว่า ด้วยสุญญตวิหาร คือ ด้วยธรรมเครื่องอยู่ คือผลสมาบัติที่มีความว่างเปล่าเป็นอารมณ์.
               คำว่า มหาปุริสวิหาร ได้แก่ ธรรมเครื่องอยู่ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกผู้ใหญ่ของพระตถาคตเจ้าผู้เป็นมหาบุรุษ.
               ในคำเป็นต้นว่า เยน จาหํ มคฺเคน ได้แก่ ทางที่เริ่มตั้งแต่วัดไปจนถึงเสาเขื่อนแห่งบ้าน นี้ชื่อว่าทางเข้า. ประเทศที่เข้าไปภายในหมู่บ้านเที่ยวไปตามลำดับเรือนจนถึงออกทางประตูเมือง นี้ชื่อว่าประเทศที่พึงเที่ยวไป. ตั้งแต่นอกเสาเขื่อนมาจนถึงวัด นี้ชื่อว่าทางกลับ.
               คำว่า หรือแม้ความกระทบกระทั่งทางใจ ความว่า อะไรๆ ที่เกิดจากกิเลส เหตุให้กระทบกระทั่งจิต มีหรือไม่มี.
               คำว่า ผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน คือ ผู้ตามศึกษาอยู่ตลอดวันตลอดคืน.
               ในคำเป็นต้นว่า เราละกามคุณ ๕ แล้วหรือหนอแล ความว่า การพิจารณาของภิกษุรูปหนึ่งก็แตกต่างกันไป. การพิจารณาของภิกษุอื่นๆ ก็ไม่เหมือนกัน.
               อย่างไร.
               จริงอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งกลับมาจากบิณฑบาต ในปัจฉาภัตเก็บบาตรจีวรมานั่งในโอกาสอันเงียบสงัด แล้วพิจารณาอยู่ว่า เราได้ละกามคุณ ๕ แล้วหรือหนอแล. เธอทราบว่ายังละไม่ได้ จึงประคองความเพียรถอนราคะที่เกี่ยวกับกามคุณทั้ง ๕ ด้วยอนาคามิมรรค ออกจากนั้นแล้วก็พิจารณาผลถัดจากมรรค พิจารณามรรคถัดจากผลอยู่ รู้ดีว่า ละได้แล้ว.
               แม้ในนีวรณ์เป็นต้น ก็นัยเดียวกันนี้แหละ.
               แต่การละนีวรณ์เหล่านี้เป็นต้น ย่อมมีด้วยอรหัตมรรค. การพิจารณาต่างๆ ของภิกษุรูปหนึ่ง ย่อมมีด้วยวิธีนี้. สำหรับในการพิจารณาเหล่านี้ ภิกษุรูปอื่นย่อมพิจารณาหลักสำหรับพิจารณาอย่างหนึ่ง ภิกษุรูปอื่นก็อีกอย่างหนึ่ง ดังกล่าวมานี้. การพิจารณาต่างๆ ของภิกษุต่างรูปกัน ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.
               คำที่เหลือทุกแห่งตื้นแล.

               จบอรรถกถาปิณฑปาตปาริสุทธิสูตรที่ ๙               
               ----------------------------------------------               

.. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรค ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 14 / 1อ่านอรรถกถา 14 / 832อรรถกถา เล่มที่ 14 ข้อ 837อ่านอรรถกถา 14 / 853อ่านอรรถกถา 14 / 853
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=10783&Z=10911
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=10&A=6492
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=10&A=6492
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๙  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :