ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 145อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 147อ่านอรรถกถา 15 / 148อ่านอรรถกถา 15 / 956
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต อาทิตตวรรคที่ ๕
เชตวนสูตรที่ ๘

               อรรถกถาเชตวนสูตรที่ ๘               
               พึงทราบวินิจฉัยในเชตวนสูตรที่ ๘ ต่อไป :-
               ในบทว่า อิทํ หิ ตํ เชตวนํ ความว่า อนาถบิณฑิกเทวบุตรมากล่าวอย่างนี้ เพื่อชมเชยพระเชตวันและพระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น.
               บทว่า อิสิสํฆนิเสวิตํ ได้แก่ อันหมู่แห่งภิกษุอยู่อาศัยแล้ว.
               อนาถบิณฑิกเทวบุตรนั้น ครั้นกล่าวชมเชยพระเชตวันด้วยคาถาที่หนึ่งอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะกล่าวถึงอริยมรรค จึงกล่าวคำว่า กมฺมํ วิชฺชา เป็นต้น
               แปลความว่า
                         กรรม ๑ วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอันอุดม ๑
                         สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยคุณธรรม ๕ นี้
                         หาได้บริสุทธิ์ด้วยโคตร หรือด้วยทรัพย์ไม่.
                         เหตุนั้นแหละ คนผู้ฉลาด เมื่อเห็นประโยชน์
                         ของตนควรเลือกเฟ้นธรรมโดยอุบายอันแยบคาย
                         เลือกเฟ้นเช่นนี้ ย่อมหมดจดในธรรมเหล่านั้น.

               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กมฺมํ ได้แก่ มรรคเจตนา.
               บทว่า วิชฺชา ได้แก่ มรรคปัญญา.
               บทว่า ธมฺโม ได้แก่ ธรรมทั้งหลายอันเป็นฝ่ายสมาธิ.
               บทว่า สีลํ ชีวิตมุตฺตมํ อธิบายว่า เทวดานั้นย่อมแสดงชีวิตอันสูงสุดของบุคคลผู้ตั้งอยู่ในศีล.
               อีกอย่างหนึ่ง บทว่า วิชฺชา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ.
               บทว่า ธมฺโม ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติและสัมมาสมาธิ.
               บทว่า สีลํ ได้แก่ สัมมาวาจาและสัมมากัมมันตะ.
               บทว่า ชีวิตมุตฺตมํ ได้แก่ ชีวิตของผู้ตั้งอยู่ในศีลนี้เป็นชีวิตสูงสุด.
               บทว่า เอเตน มจฺจา สุชฺฌนฺติ ความว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดนี้.
               บทว่า ตสฺมา ความว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยมรรค เหตุใด เพราะเหตุนั้น สัตว์ทั้งหลายย่อมไม่บริสุทธิ์ได้ด้วยโคตร และด้วยทรัพย์.
               บทว่า โยนิโส วิจิเน ธมฺมํ อธิบายว่า พึงวินิจฉัยธรรมอันเป็นฝ่ายสมาธิโดยอุบาย.
               บทว่า เอวํ ตตฺถ วิสุชฺฌติ ได้แก่ เลือกธรรมนั้นอย่างนี้ ย่อมหมดจดได้ด้วยอริยมรรค.
               อีกอย่างหนึ่ง บทว่า โยนิโส วิจิเน ธมฺมํ ได้แก่ พึงวินิจฉัยธรรม ๕ กองโดยอุบาย.
               บทว่า เอวํ ตตฺถ วิสุชฺฌติ ได้แก่ ย่อมบริสุทธิ์ในสัจจะ ๔ เหล่านั้นได้อย่างไร.
               บัดนี้ อนาถบิณฑิกเทวบุตรนั้น เมื่อจะกล่าวชมเชยพระสารีบุตรเถระ จึงกล่าวคำว่า สาริปุตฺโตว เป็นต้น.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาริปุตฺโตว นี้เป็นคำกล่าวถึงตำแหน่ง.
               อธิบายว่า อนาถบิณฑิกเทวบุตรนั้นย่อมกล่าวว่า พระสารีบุตรเท่านั้นเป็นผู้ประเสริฐสุดด้วยธรรมเหล่านี้มีปัญญาเป็นต้น.
               บทว่า อุปสเมน ได้แก่ ความสงบจากกิเลส.
               บทว่า ปารคโต แปลว่า ผู้ถึงพระนิพพาน. อธิบายว่า เทวดานั้นย่อมกล่าวว่า ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งบรรลุพระนิพพาน ภิกษุนั้นเป็นเยี่ยม คือ ชื่อว่าเยี่ยมกว่าพระสารีบุตรเถระย่อมไม่มี ดังนี้.
               คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

               จบอรรถกถาเชตวนสูตรที่ ๘               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต อาทิตตวรรคที่ ๕ เชตวนสูตรที่ ๘ จบ.
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 145อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 147อ่านอรรถกถา 15 / 148อ่านอรรถกถา 15 / 956
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=977&Z=989
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=2273
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=2273
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๘  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :