ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 281อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 282อ่านอรรถกถา 15 / 287อ่านอรรถกถา 15 / 956
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวปุตตสังยุต นานาติตถิยวรรคที่ ๓
เสรีสูตรที่ ๓

               อรรถกถาเสรีสูตรที่ ๓               
               พึงทราบวินิจฉัยในเสรีสูตรที่ ๓ ต่อไป :-
               บทว่า ทายโก แปลว่า ผู้ให้ทานเป็นปกติ.
               บทว่า ทานปติ ได้แก่ เป็นเจ้าแห่งทานที่ให้แล้วให้ ไม่ใช่เป็นทาส ไม่ใช่เป็นสหาย.
               จริงอยู่ ผู้ใดบริโภคของอร่อยด้วยตนเอง และให้ของไม่อร่อยแก่คนอื่น ผู้นั้นชื่อว่าเป็นทาสแห่งไทยธรรม กล่าวคือทาสให้ทาน [ทาสทาน]. ก็ผู้ใดบริโภคของใดด้วยตนเองให้ของนั้นนั่นแหละ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นสหายให้ทาน [สหายทาน]. ส่วนผู้ใดดำรงชีวิตด้วยของนั้นใดด้วยตนเอง และให้ของอร่อยแก่ผู้อื่น ผู้นั้นชื่อว่าเป็นเจ้า เป็นใหญ่ เป็นนายให้ทาน [ทานบดี].
               เสรีเทพบุตรนั้นกล่าวว่า ข้าพระองค์ได้เป็นเช่นนั้น.
               บทว่า จตูสุ ทฺวาเรสุ ความว่า ได้ยินว่า พระราชาพระองค์นั้นได้มีรัฐ ๒ รัฐ คือ สินธวรัฐและโสวีรกรัฐ. มีนครชื่อโรรุวนครที่ประตูแต่ละประตูแห่งนครนั้น เกิดทรัพย์แสนหนึ่งทุกๆ วัน ณ สถานที่วินิจฉัยคดีภายในนคร ก็เกิดทรัพย์แสนหนึ่ง.
               ท้าวเธอทอดพระเนตรเห็นกองเงินกองทองเป็นอันมาก ทำให้เกิดกัมมัสสกตาญาณ โปรดให้สร้างโรงทานทั้ง ๔ ประตู แต่งตั้งอมาตย์เจ้าหน้าที่ไว้สั่งว่า พวกเจ้าจงเอารายได้ที่เกิดขึ้น ณ ประตูนั้นๆ ให้ทาน ด้วยเหตุนั้น เสรีเทพบุตรนั้นจึงกล่าวว่า ให้ทานทั้ง ๔ ประตู.
               ในคำว่า สมณพฺราหฺมณกปณทฺธิกวณิพฺพกยาจกานํ นี้ ผู้ถือบวชชื่อว่าสมณะ ผู้มีปกติทูลว่าผู้เจริญ ชื่อว่าพราหมณ์ แต่สมณพราหมณ์ที่ว่านี้ ไม่ได้ในสมณพราหมณ์ผู้สงบบาปและผู้ลอยบาป. คนเข็ญใจ คนยากจนมีคนตาบอด คนง่อยเป็นต้น ชื่อว่ากปณะ. คนกำพร้า คนเดินทาง ชื่อว่าอัทธิกะ. คนเหล่าใดเที่ยวสรรเสริญทานโดยนัยว่า ให้ทานที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ให้ตามกาลให้ทานที่ไม่มีโทษ ทำจิตให้ผ่องใส ท่านผู้เจริญก็จะไปพรหมโลกดังนี้เป็นต้น ชนเหล่านั้น ชื่อว่าวณิพก. ชนเหล่าใดกล่าวว่า โปรดให้สักฟายมือเถิด โปรดให้สักขันจอกเกิด ดังนี้เป็นต้น เที่ยวขอไป ชนเหล่านั้นชื่อว่ายาจก.
               บทว่า อิฏฺฐาคารสฺส ทานํ ทิยิตฺถ ความว่า พวกฝ่ายในได้ให้ทานมากกว่าทานที่พระราชาพระราชทาน เพราะเติมทรัพย์แม้ส่วนอื่นลงในทรัพย์แสนหนึ่ง ซึ่งเกิดที่ประตูนั้น เพราะได้รับประตูแรก ถอนอมาตย์ของพระราชาเสียตั้งอมาตย์ของตนทำหน้าที่แทน.
               เสรีเทพบุตรหมายเอาข้อนั้น จึงกล่าวอย่างนี้.
               บทว่า มม ทานํ ปฏิกฺกมิ ความว่า ทานของข้าพระองค์ที่ให้ ณ ประตูนั้น ก็เปลี่ยนไป แม้ในประตูที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.
               บทว่า โกจิ แปลว่า ในที่ไหนๆ .
               บทว่า ทีฆรตฺตํ ได้แก่ ๘๐,๐๐๐ ปี ได้ยินว่า ทานของพระราชาพระองค์นั้นปรากฏตลอดกาลประมาณเท่านั้น.

               จบอรรถกถาเสรีสูตรที่ ๓               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวปุตตสังยุต นานาติตถิยวรรคที่ ๓ เสรีสูตรที่ ๓ จบ.
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 281อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 282อ่านอรรถกถา 15 / 287อ่านอรรถกถา 15 / 956
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1837&Z=1903
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=2847
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=2847
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๘  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :