ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 28อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 30อ่านอรรถกถา 15 / 32อ่านอรรถกถา 15 / 956
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต นันทนวรรคที่ ๒
ขัตติยสูตรที่ ๔

               อรรถกถาขัตติยสูตรที่ ๔               
               พึงทราบวินิจฉัยในขัตติยสูตรที่ ๔ ต่อไป :-
               บทว่า ขตฺติโย ทิปทํ แปลว่า พระราชาประเสริฐสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้า.
               บทว่า โกมารี ความว่า เทวดากล่าวว่า ภรรยาที่เป็นกุมารีประเสริฐสุดกว่าภรรยาทั้งหลาย เพราะถือเอาในเวลาที่เธอเป็นกุมารี (หญิงสาว).
               บทว่า ปุพฺพโช ความว่า บุตรคนใดเกิดก่อนเป็นคนบอดข้างเดียวก็ตาม หรือบุตรที่เป็นง่อยเป็นต้นก็ตาม คนใดเกิดก่อน คนนี้แหละชื่อว่าประเสริฐสุด ในวาทะของเทวดานี้ ก็เพราะสัตว์ ๒ เท้าทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นนี้ พระพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้าทั้งหมด ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระคาถาตอบ.
               พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๒ ว่า
               พระผู้มีพระภาคเจ้าประเสริฐสุดกว่าสัตว์ทั้งหมดทั้งสัตว์มีเท้าและไม่มีเท้า แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น พระองค์เมื่อจะทรงอุบัติย่อมทรงอุบัติในสัตว์ ๒ เท้าเท่านั้น. เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า สมฺมาสมฺพุทฺโธ ทิปทํ เสฏฺโฐ แปลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเสริฐกว่าสัตว์ ๒ เท้า ดังนี้.
               ความที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นเป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้าทั้งหมดนั้น ไม่คลาดเคลื่อนแล้ว.
               บทว่า อาชานีโย อธิบายว่า ช้างหรือสัตว์ทั้งหลายมีม้าเป็นต้นก็ตามที สัตว์ตัวใดตัวหนึ่งย่อมรู้ซึ่งเหตุ สัตว์อาชาไนยนี้จัดเป็นสัตว์ประเสริฐสุดกว่าสัตว์ ๔ เท้า เหมือนม้าชื่อว่าคุฬวรรณ ของพระราชาพระนามว่ากูฎกรรม.
               ได้ยินว่า พระราชาเสด็จออกทางทวารด้านปราจีน ทรงดำริว่า เราจักไปเจติยบรรพต พอเสด็จมาถึงฝั่งแม่น้ำกลัมพะ. ม้าหยุดอยู่ที่ฝั่ง ไม่ปรารถนาเพื่อจะข้ามน้ำไป. พระราชาตรัสเรียกนายอัสสาจารย์มาแล้วตรัสว่า โอหนอ ม้าอันท่านฝึกดีแล้ว ไม่ปรารถนาจะข้ามน้ำ ดังนี้.
               นายอัสสาจารย์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ม้าอันข้าพระองค์ฝึกดีแล้ว ก็เพราะม้านั้นคิดว่า ถ้าเราจักข้ามน้ำไป ขนหางจักเปียก เมื่อขนหางเปียกแล้ว ก็พึงทำน้ำให้ตกไปที่พระราชา ดังนี้จึงไม่ข้ามไป เพราะกลัวน้ำจะตกไปที่สรีระของพระองค์ด้วยอาการอย่างนี้ ขอพระองค์จงให้ราชบุรุษถือขนหางม้าเถิด.
               พระราชาได้ให้กระทำแล้วอย่างนั้น ม้าจึงข้ามไปโดยเร็วจนถึงฝั่งแล้วแล.
               บทว่า สุสฺสูสา ความว่า เชื่อฟังด้วยดี.
               อธิบายว่า ภรรยาที่ถือเอาแม้ในเวลาที่เป็นกุมารีหรือภายหลัง มีรูปงามหรือไม่งามจงยกไว้ ภรรยาใดเชื่อฟังสามี ย่อมบำเรอ (รับใช้) ย่อมให้สามีชอบใจ ภรรยานั้นประเสริฐสุดกว่าภรรยาทั้งหลาย.
               บทว่า อสฺสโว แปลว่า เชื่อฟัง.
               อธิบายว่า บุตรคนใดพี่ก็ตาม น้องก็ตาม คนใดย่อมฟัง ย่อมรับคำของมารดาบิดา เป็นผู้สนองตามโอวาท บุตรนี้ประเสริฐกว่าบุตรทั้งหลาย. ดูก่อนเทวดา ประโยชน์อะไรเล่าด้วยบุตรอื่นที่เป็นโจรมีการกระทำตัดช่องย่องเบาเป็นต้น ดังนี้แล.

               จบอรรถกถาขัตติยสูตรที่ ๔               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต นันทนวรรคที่ ๒ ขัตติยสูตรที่ ๔ จบ.
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 28อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 30อ่านอรรถกถา 15 / 32อ่านอรรถกถา 15 / 956
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=180&Z=191
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=860
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=860
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๘  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :