ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 425อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 428อ่านอรรถกถา 15 / 431อ่านอรรถกถา 15 / 956
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค มารสังยุต ปฐมวรรคที่ ๑
ทุติยปาสสูตรที่ ๕

               อรรถกถาทุติยปาสสูตรที่ ๕               
               พึงทราบวินิจฉัยในทุติยปาสสูตรที่ ๕ ต่อไป :-
               บทว่า มุตฺตาหํ แปลว่า เราพ้นแล้ว.
               สูตรต้นตรัสภายในพรรษา ส่วนสูตรนี้ตรัสในเวลาปวารณาออกพรรษาแล้ว.
               บทว่า จาริกํ ได้แก่ จาริกไปตามลำดับ. ตรัสว่า พวกเธอจงจาริกไปวันละหนึ่งโยชน์เป็นอย่างยิ่ง.
               บทว่า มา เอเกน เทฺว แปลว่า อย่าไปทางเดียวกัน ๒ รูป. ด้วยว่า เมื่อไปทางเดียวกัน ๒ รูป เมื่อรูปหนึ่งกล่าวธรรม อีกรูปหนึ่งก็จำต้องยืนนิ่ง เพราะฉะนั้น จึงตรัสอย่างนี้.
               บทว่า กลฺยาณํ ในบทว่า อาทิกลฺยาณํ เป็นต้น แปลว่า ดี เจริญในเบื้องต้น ในท่ามกลางและในที่สุดก็เหมือนกัน ก็ชื่อว่าเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดนี้มี ๒ คือ ศาสนาและเทศนา.
               ใน ๒ อย่างนั้น ศีลเป็นเบื้องต้นของศาสนา สมถวิปัสสนาและมรรคเป็นท่ามกลาง ผลนิพพานเป็นที่สุด. อีกนัยหนึ่ง ศีลและสมาธิเป็นเบื้องต้น วิปัสสนาและมรรคเป็นท่ามกลาง ผลนิพพานเป็นที่สุด. อีกนัยหนึ่ง ศีลสมาธิวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น มรรคเป็นท่ามกลาง ผลนิพพานเป็นที่สุด.
               ส่วนเทศนา สำหรับคาถา ๔ บทก่อน บทที่ ๑ เป็นเบื้องต้น บทที่ ๒-๓ เป็นท่ามกลาง บทที่ ๔ เป็นที่สุด. สำหรับ ๕ บทหรือ ๖ บท บทแรกเป็นเบื้องต้น บทสุดท้ายเป็นที่สุด ที่เหลือเป็นท่ามกลาง. สำหรับพระสูตรมีอนุสนธิเดียว คำนิทานเริ่มต้นเป็นเบื้องต้น คำนิคมลงท้ายว่า อิทมโวจ เป็นที่สุด คำที่เหลือเป็นท่ามกลาง. สำหรับพระสูตรที่มีอนุสนธิมาก แม้จะมากตรงกลาง ก็จัดเป็นอนุสนธิเดียวเท่านั้น คำนิทานเป็นเบื้องต้น คำลงท้ายว่า อิทมโวจ เป็นที่สุด.
               บทว่า สาตฺถํ ได้แก่ แสดงให้พร้อมอรรถ.
               บทว่า สพฺยญฺชนํ ได้แก่ จงแสดงให้บริบูรณ์ด้วยพยัญชนะและบท.
               บทว่า เกวลปริปุณฺณํ แปลว่า บริบูรณ์สิ้นเชิง.
               บทว่า ปริสุทฺธํ ได้แก่ ปราศจากอุปกิเลส.
               บทว่า พฺรหฺมจริยํ ได้แก่ ศาสนพรหมจรรย์ที่สงเคราะห์ด้วยสิกขา ๓.
               บทว่า ปกาเสถ ได้แก่ กระทำให้แจ้ง.
               บทว่า อปฺปรชกฺขชาติกา ได้แก่ มีสภาพธุลีคือกิเลสน้อย ในจักษุคือปัญญา.
               อธิบายว่า เหล่าสัตว์ที่สามารถบรรลุพระอรหัต เมื่อจบคาถา ๔ บท ประหนึ่งปิดไว้ด้วยม่านผ้าเนื้อละเอียด มีอยู่.
               บทว่า อสฺสวนตา แปลว่า เพราะไม่ได้ฟังธรรม.
               บทว่า ปริหายนฺติ ได้แก่ ย่อมเสื่อมจากธรรม โดยไม่เสื่อมจากลาภ.
               บทว่า เสนานิคโม ได้แก่ หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในโอกาสที่ตั้งกองทัพของเหล่ามนุษย์ต้นกัป.
               อีกนัยหนึ่ง ได้แก่ หมู่บ้านเสนานิคมของบิดานางสุชาดา.
               บทว่า เตนุปสงฺกมิสฺสามิ ความว่า เราส่งพวกเธอไปให้สร้างสถานที่มีบริเวณเป็นต้น ถูกพวกอุปัฏฐากเป็นต้นบำเรออยู่หามิได้. แต่เราครั้นแสดงยมกปาฏิหาริย์ ๑,๕๐๐ แก่ชฏิลสามพี่น้องแล้วเข้าไปก็เพื่อแสดงธรรมอย่างเดียว.
               บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า มารคิดว่า พระสมณโคดมนี้ส่งพระภิกษุ ๖๐ รูปไปด้วยกล่าวว่า พวกเธออย่าไปทางเดียวกัน ๒ รูป จงแสดงธรรม ประหนึ่งทำการรบใหญ่ ก็เมื่อพระสมณโคดมนี้แม้องค์เดียวแสดงธรรมอยู่ เรายังไม่มีความสบายใจเลย เมื่อภิกษุเป็นอันมากแสดงอยู่อย่างนี้ เราจักมีความสบายใจได้แต่ไหนเล่า จำเราจักห้ามกันพระสมณโคดมนั้นเสีย ดังนี้แล้วจึงเข้าไปเฝ้า.

               จบอรรถกถาทุติยปาสสูตรที่ ๕               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค มารสังยุต ปฐมวรรคที่ ๑ ทุติยปาสสูตรที่ ๕ จบ.
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 425อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 428อ่านอรรถกถา 15 / 431อ่านอรรถกถา 15 / 956
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=3392&Z=3422
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=4266
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=4266
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๘  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :