ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 428อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 431อ่านอรรถกถา 15 / 434อ่านอรรถกถา 15 / 956
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค มารสังยุต ปฐมวรรคที่ ๑
สัปปสูตรที่ ๖

               อรรถกถาสัปปสูตรที่ ๖               
               พึงทราบวินิจฉัยในสัปปสูตรที่ ๖ ต่อไป :-
               บทว่า โสณฺฑิกา กิลญฺชํ ได้แก่ เสื่อลำแพนสำหรับเกลี่ยแป้งของพวกทำสุรา.
               บทว่า โกสลิกา กํสจาฏิ ได้แก่ ภาชนะใส่ของเสวยขนาดล้อรถของพระเจ้าโกศล.
               บทว่า คฬคฬายนฺเต ได้แก่ ออกเสียงดัง.
               บทว่า กมฺมารคคฺคริยา ได้แก่ สูบเตาไฟของช่างทอง.
               บทว่า ธมมานาย ได้แก่ ให้เต็มด้วยลมในกระสอบหนัง.
               บทว่า อิติ วิทิตฺวา ความว่า มารคิดว่า พระสมณโคดมประกอบความเพียรเนืองๆ นั่งเป็นสุข จำเราจักกระทบกระเทียบเขาดู แล้วเนรมิตอัตภาพมีประการดังกล่าวแล้วจึงเดินด้อมๆ ณ ที่ทรงทำความเพียร. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นด้วยแสงฟ้าแลบ ทรงนึกว่า สัตว์ผู้นี้เป็นใครกันหนอ ก็ทรงทราบว่า ผู้นี้เป็นมาร ดังนี้.
               บทว่า สุญฺญเคหานิ แปลว่า เรือนว่าง.
               บทว่า เสยฺยา ความว่า ผู้ใดเสพเรือนว่างทั้งหลาย เพื่อจะนอน คือเพื่อต้องการอย่างนี้ว่า เราจักยืนจักเดินจักนั่งจักนอน.
               บทว่า โส มุนิ อตฺตสญฺญโต ความว่า พุทธมุนีใดสำรวมตัวแล้ว เพราะไม่มีการคะนองมือและเท้า.
               บทว่า โวสฺสชฺช จเรยฺย ตตฺถ โส ความว่า พุทธมุนีนั้นสละความอาลัยเยื่อใยในอัตภาพนั้น พึงจาริกไป.
               บทว่า ปฏิรูปํ หิ ตถาวิธสฺส ตํ ความว่า ความสละความเยื่อใยในอัตภาพนั้นจาริกไปของพุทธมุนีผู้เช่นนั้น คือผู้ดำรงอยู่อย่างนั้น ก็เหมาะ ก็ชอบ ก็สมควร.
               บทว่า จรกา ได้แก่ สัตว์ผู้สัญจรไปมีสีหะและเสือเป็นต้น.
               บทว่า เภรวา ได้แก่ สภาพที่น่ากลัว ทั้งมีวิญญาณและไม่มีวิญญาณ
               บรรดาสภาพที่น่ากลัวเหล่านั้น สัตว์มีสีหะและเสือเป็นต้น ชื่อว่าสภาพที่น่ากลัวมีวิญญาณ. ตอไม้และจอมปลวกเป็นต้น ในเวลากลางคืน ชื่อว่าสภาพที่น่ากลัวไม่มีวิญญาณ.
               เป็นความจริง สภาพที่น่ากลัวแม้เหล่านั้น ย่อมปรากฏเป็นประหนึ่งยักษ์ในเวลานั้น เชือกและเถาวัลย์เป็นต้น ก็ปรากฏประหนึ่งงู.
               บทว่า ตตฺถ ความว่า พุทธมุนีเข้าไปสู่เรือนว่าง ไม่ทำอาการแม้เพียงขนลุก ในสภาพที่น่ากลัวเหล่านั้น.
               บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงการกำหนดสิ่งที่มิใช่ฐานะ จึงตรัสว่า นภํ ผเลยฺย เป็นต้น.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผเลยฺย ได้แก่ ท้องฟ้าจะพึงแตกเป็นริ้วๆ ประหนึ่งตีนกา.
               บทว่า จเลยฺย ได้แก่ แผ่นดินจะพึงไหว เหมือนหยาดน้ำบนใบบัวที่ต้องลม.
               บทว่า สลฺลมฺปิ เจ อุรสกํ ปสฺเสยฺยุํ ความว่า แม้ว่าคนทั้งหลายจะพึงจ่อหอกและหลาวอันคมไว้ตรงอก.
               บทว่า อุปธีสุ ได้แก่ ในเพราะอุปธิ คือขันธ์ทั้งหลาย.
               บทว่า ตาณํ น กโรนฺติ ความว่า คนทั้งหลาย เมื่อเขาจ่อหลาวอันคมไว้ตรงอก ก็หนีเข้าระหว่างที่กำบังและภายในกระท่อมเป็นต้น เพราะความกลัว ชื่อว่ากระทำการป้องกัน.
               แต่พระพุทธะทั้งหลายไม่กระทำการป้องกันเห็นปานนั้น เพราะท่านเพิกถอนความกลัวหมดทุกอย่างแล้ว.

               จบอรรถกถาสัปปสูตรที่ ๖               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค มารสังยุต ปฐมวรรคที่ ๑ สัปปสูตรที่ ๖ จบ.
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 428อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 431อ่านอรรถกถา 15 / 434อ่านอรรถกถา 15 / 956
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=3423&Z=3451
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=4303
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=4303
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๘  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :