ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 626อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 631อ่านอรรถกถา 15 / 635อ่านอรรถกถา 15 / 956
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค พราหมณสังยุตต์ อรหันตวรรคที่ ๑
อักโกสกสูตรที่ ๒

               อรรถกถาอักโกสกสูตรที่ ๒               
               ในอักโกสกสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ : -
               บทว่า อกฺโกสกภารทฺวาโช ได้แก่ พราหมณ์นั้น ชื่อว่าภารทวาชะ.
               ก็พราหมณ์นั้นได้มาด่าพระตถาคตด้วยคาถาประมาณ ๕๐๐ เพราะเหตุนั้น พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงตั้งชื่อว่า อักโกสกภารทวาชะ.
               บทว่า กุปิโต อนตฺตมโน ความว่า โกรธและไม่พอใจด้วยเคืองว่า พระสมณโคดมให้พี่ชายของเราบวช ทำให้เสื่อมเสียให้แตกเป็นฝักฝ่าย.
               บทว่า อกฺโกสติ ความว่า ด่าด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐ คือ เจ้าเป็นโจร เป็นคนโง่ เป็นคนหลง เป็นอูฐ เป็นโค เป็นลา เป็นสัตว์นรก เป็นสัตว์เดรัจฉาน เจ้าไม่มีสุคติ เจ้าหวังแต่ทุคติเท่านั้น.
               บทว่า ปริภาสติ ความว่า เมื่อกล่าวคำเป็นต้นว่า สมณะโล้น ข้อนั้นจงยกไว้ เจ้ายังทำว่า ข้าไม่มีโทษ บัดนี้ ข้าไปสู่ราชสกุลแล้วจะบอกเขาให้ลงอาชญาแก่เจ้า ดังนี้ ชื่อว่าบริภาษ.
               บทว่า สมฺภุญฺชติ ได้แก่ บริโภคร่วมกัน.
               บทว่า วีติหรติ ได้แก่ ทำคืนการที่ทำมาแล้ว.
               บทว่า ภวนฺตํ โข โคตมํ ถามว่า เพราะเหตุไร พราหมณ์จึงกล่าวอย่างนี้.
               ตอบว่า เพราะพราหมณ์ได้ฟังคำของพระสมณโคดมนั้นว่า ดูก่อนพราหมณ์ นั่นเป็นของท่านผู้เดียว ดูก่อนพราหมณ์ นั่นเป็นของท่านผู้เดียว โดยได้ฟังกันสืบๆ มาว่า ขึ้นชื่อว่าฤาษีทั้งหลายโกรธแล้ว ย่อมสาปให้เป็นเหมือนลูกโคผอมเป็นต้น จึงเกิดความกลัวแต่คำสาปว่า พระสมณโคดมเห็นทีจะสาปเราก็ได้ เพราะฉะนั้น พราหมณ์จึงได้กล่าวอย่างนี้.
               บทว่า ทนฺตสฺส ได้แก่ ผู้หมดพยศ.
               บทว่า ตาทิโน ได้แก่ ผู้ถึงลักษณะผู้คงที่.
               บทว่า ตสฺเสว เตน ปาปิโย ความว่า บุคคลนั้นแลเป็นผู้เลวกว่าบุคคลผู้โกรธนั้น.
               บทว่า สโต อุปสงฺกมติ ความว่า บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยสติย่อมอดกลั้นไว้ได้.
               บทว่า อุภินฺนํ ติกิจฺฉนฺตานํ ได้แก่ ผู้อดกลั้นทั้ง ๒ ฝ่าย.
               อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน.
               บุคคลใดมีสติเข้าไปสงบ ประพฤติประโยชน์อดกลั้นให้สำเร็จประโยชน์ทั้งสองฝ่าย. ชนทั้งหลายย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่าเป็นชนพาล ชนทั้งหลายเป็นเช่นไร คือเป็นผู้ไม่ฉลาดในธรรม.
               บทว่า ธมฺมสฺส ได้แก่ ธรรม คือเบญจขันธ์หรือสัจธรรม ๔.
               บทว่า อโกวิทา ได้แก่ ผู้ไม่ฉลาดในธรรม คือเป็นปุถุชนอันธพาล.

               จบอรรถกถาอักโกสกสูตรที่ ๒               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค พราหมณสังยุตต์ อรหันตวรรคที่ ๑ อักโกสกสูตรที่ ๒ จบ.
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 626อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 631อ่านอรรถกถา 15 / 635อ่านอรรถกถา 15 / 956
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=5185&Z=5246
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=5632
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=5632
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๘  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :