ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 62อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 64อ่านอรรถกถา 15 / 68อ่านอรรถกถา 15 / 956
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต สัตติวรรคที่ ๓
อรหันตสูตรที่ ๕

               อรรถกถาอรหันตสูตรที่ ๕               
               พึงทราบวินิจฉัยในอรหันตสูตรที่ ๕ ต่อไป :-
               บทว่า กตาวี แปลว่า มีกิจทำเสร็จแล้ว คือมีกิจอันมรรค ๔ ทำแล้ว.
               บทว่า อหํ วทามิ ความว่า เทวดาผู้อยู่ในไพรสณฑ์นี้นั้น ฟังโวหารของพวกภิกษุอยู่ป่าพูดกันว่า เราฉันอาหาร เรานั่ง บาตรของเรา จีวรของเราเป็นต้น จึงคิดว่า เราสำคัญว่าภิกษุเหล่านี้เป็นพระขีณาสพ ก็แต่ถ้อยคำอิงอาศัยความเห็นว่าเป็นคนเป็นสัตว์ชื่อเห็นปานนี้ของพระขีณาสพทั้งหลาย มีอยู่หรือไม่หนอ ดังนี้ เพื่อจะทราบความเป็นไปนั้น จึงได้กราบทูลถามแล้วอย่างนี้.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ภิกษุใด เป็นผู้ไกลจากกิเลส มีกิจทำเสร็จแล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุนั้นพึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บ้าง บุคคลอื่นๆ พูดกะเราดังนี้บ้าง ภิกษุนั้นฉลาด ทราบคำพูดในโลก พึงกล่าวตามสมมติที่พูดกัน.
               บทว่า สมญฺญํ แปลว่า คำพูดถือเป็นภาษาของชาวโลก เป็นโวหารของชาวโลก.
               บทว่า กุสโล แปลว่า ฉลาด คือฉลาดในธรรมมีขันธ์เป็นต้น.
               บทว่า โวหารมตฺเตน แปลว่า กล่าวตามสมมติที่พูดกัน ได้แก่เมื่อละเว้นถ้อยคำอันอิงอาศัยความเห็นเป็นคนเป็นสัตว์แล้ว ไม่นำคำที่พูดให้แตกต่างกัน จึงสมควรที่จะกล่าวว่า เรา ของเรา ดังนี้.
               จริงอยู่ เมื่อเขากล่าวว่า ขันธ์ทั้งหลายย่อมบริโภค ขันธ์ทั้งหลายย่อมนั่ง บาตรของขันธ์ทั้งหลาย จีวรของขันธ์ทั้งหลาย ดังนี้ ความแตกต่างกันแห่งคำพูดมีอยู่ แต่ใครๆ ก็ทราบไม่ได้ เพราะฉะนั้น พระขีณาสพจึงไม่พูดเช่นนั้น ย่อมพูดไปตามโวหารของชาวโลกนั่นแหละ.
               ลำดับนั้น เทวดาจึงคิดว่า ถ้าภิกษุนี้ไม่พูดด้วยทิฐิ ก็ต้องพูดด้วยอำนาจแห่งมานะแน่ จึงทูลถามอีกว่า โย โหติ เป็นต้น แปลว่า ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ มีกิจทำเสร็จแล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุนั้นยังติดมานะหรือหนอ จึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บ้าง คนอื่นๆ พูดกะเราดังนี้บ้าง.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยังติดมานะหรือหนอ ได้แก่ ภิกษุนั้นยังติดมานะ พึงกล่าวด้วยสามารถแห่งมานะ หรือหนอ.
               ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า เทวดานี้ย่อมทำพระขีณาสพเหมือนบุคคลมีมานะ ดังนี้ เมื่อจะทรงแสดงว่า มานะแม้ทั้ง ๙ อย่าง พระขีณาสพละได้หมดแล้ว จึงตรัสพระคาถาตอบว่า
                         กิเลสเป็นเครื่องผูกทั้งหลาย มิได้มีแก่ภิกษุที่ละ
                         มานะเสียแล้ว มานะและคันถะทั้งปวงอันภิกษุ
                         นั้นกำจัดเสียแล้ว ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาดี ล่วงเสีย
                         แล้วซึ่งความสำคัญตน ภิกษุนั้นพึงกล่าวว่า เรา
                         พูดดังนี้บ้าง บุคคลทั้งหลายอื่นพูดกะเราดังนี้
                         บ้าง ภิกษุนั้นฉลาดทราบคำพูดในโลก พึงกล่าว
                         ตามสมมติที่พูดกัน.

               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิธูปิตา แปลว่า กำจัดเสียแล้ว.
               บทว่า มานคนฺถสฺส แปลว่า มานะและคันถะ...อันภิกษุนั้น.
               คำว่า สมญฺญํ หมายถึง คำพูดที่สำคัญตน.
               อธิบายว่า พระขีณาสพนั้นเป็นผู้ครอบงำได้แล้ว คือก้าวล่วงแล้วซึ่งความสำคัญตนในตัณหาทิฐิและมานะ.
               คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

               จบอรรถกถาอรหันตสูตรที่ ๕               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต สัตติวรรคที่ ๓ อรหันตสูตรที่ ๕ จบ.
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 62อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 64อ่านอรรถกถา 15 / 68อ่านอรรถกถา 15 / 956
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=411&Z=430
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=1344
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=1344
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๘  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :