ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 74อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 76อ่านอรรถกถา 15 / 78อ่านอรรถกถา 15 / 956
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต สัตติวรรคที่ ๓
เอณิชังคสูตรที่ ๑๐

               อรรถกถาเอณิชังฆสูตรที่ ๑๐               
               พึงทราบวินิจฉัยในเอณิชังฆสูตรที่ ๑๐ ต่อไป :-
               บทว่า เอณิชงฺฆํ แปลว่า มีพระชงฆ์ (แข้ง) กลมเรียวเรียบ ดังแข้งเนื้อทราย.
               บทว่า กีสํ ได้แก่ มีพระสรีระสม่ำเสมอ ไม่อ้วน.
               อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า มีพระตจะ (หนัง) มิได้เหี่ยวแห้ง คือมีพระสรีระงามโดยมิต้องพอกพูนด้วยกลิ่นดอกไม้ และเครื่องลูบไล้ทั้งหลาย.
               บทว่า วีรํ แปลว่า มีความเพียร.
               บทว่า อปฺปาหารํ ได้แก่ มีอาหารน้อย เพราะความเป็นผู้รู้จักประมาณในการเสวยพระกระยาหาร. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่ามีอาหารน้อย เพราะมิได้เสวยในเวลาวิกาล.
               บทว่า อโลลุปฺปํ แปลว่า ไม่มีความโลภ ได้แก่ทรงปราศจากความอยากในปัจจัย ๔. อีกอย่างหนึ่ง ความไม่มีความโลภนี้ คือมิได้มีรสตัณหา.
               บทว่า สีหํเวกจรํ นาคํ ได้แก่ เป็นเหมือนราชสีห์และช้างตัวประเสริฐเที่ยวไปโดดเดียว. เพราะว่าบุคคลผู้อยู่เป็นหมู่ ย่อมเป็นผู้ประมาท ผู้เที่ยวไปแต่ผู้เดียว ย่อมเป็นผู้ไม่ประมาท. เพราะฉะนั้น ความเป็นผู้ไม่ประมาท ท่านจึงถือเอาว่า ผู้เที่ยวไปผู้เดียวนั่นแหละ.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
                         ปญฺจ กามคุณา โลเก    มโนฉฏฺฐา ปเวทิตา
                         เอตฺถ ฉนฺทํ วิราชิตฺวา    เอวํ ทุกฺขา ปมุจฺจติ.
                         กามคุณ ๕ มีใจเป็นที่ ๖ บัณฑิตประกาศแล้ว
                         ในโลก บุคคลเลิกความพอใจในนามรูปนี้ได้
                         แล้ว ก็พ้นจากทุกข์ได้อย่างนี้.

               บทว่า ปเวทิตา แปลว่า ประกาศแล้ว คือบอกแล้ว.
               บทว่า เอตฺถ แปลว่า ในนามรูปนี้.
               จริงอยู่ รูปท่านถือเอาด้วยสามารถแห่งกามคุณ ๕ ส่วนนาม ท่านถือเอาใจ.
               ก็แล บัณฑิตควรถือเอานามและรูปทั้งสองโดยไม่แยกจากกัน แล้วพึงประกอบพื้นฐานในนามและรูปนี้ ด้วยสามารถแห่งธรรมมีขันธ์ ๕ เป็นต้นเถิด.

               จบอรรถกถาเอณิชังฆสูตรที่ ๑๐               
               จบอรรถกถาสัตติวรรคที่ ๓               
               -----------------------------------------------------               

               สูตรที่กล่าวในสัตติวรรคนั้น
                         สัตติสูตร
                         ผุสติสูตร
                         ชฏาสูตร
                         มโนนิวารณสูตร
                         อรหันตสูตร
                         ปัชโชตสูตร
                         สรสูตร
                         มหัทธนสูตร
                         จตุจักกสูตร
                         เอณิชังคสูตร
               ครบ ๑๐ ฉะนี้แล ฯ
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต สัตติวรรคที่ ๓ เอณิชังคสูตรที่ ๑๐ จบ.
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 74อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 76อ่านอรรถกถา 15 / 78อ่านอรรถกถา 15 / 956
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=466&Z=479
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=1397
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=1397
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๘  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :