ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 761อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 763อ่านอรรถกถา 15 / 766อ่านอรรถกถา 15 / 956
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค วนสังยุต
อุปัฏฐานสูตรที่ ๒

               อรรถกถาอุปัฏฐานสูตรที่ ๒               
               พึงทราบวินิจฉัยในอุปัฏฐานสูตรที่ ๒ ต่อไปนี้ :-
               บทว่า สุปติ ความว่า ได้ยินว่า ภิกษุนี้เป็นพระขีณาสพ ท่านไปสู่หมู่บ้านที่ภิกษาจารในที่ไกล กลับมาแล้วเก็บบาตรและจีวรไว้ในบรรณศาลา ลงสระที่เกิดเองในที่ไม่ไกล พอให้ตัวแห้งแล้ว กวาดที่พักกลางวัน ตั้งเตียงต่ำไว้ในที่นั้นแล้วหลับ.
               จริงอยู่ แม้พระขีณาสพก็มีความกระวนกระวายทางกายเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อบรรเทาความกระวนกระวายทางกายนั้นว่า หลับ.
               บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า เทวดาเข้าใจว่า ภิกษุนี้เรียนกัมมัฏฐานในสำนักของพระศาสดาแล้วหลับกลางวัน ก็แล ชื่อว่าการหลับกลางวันนั้นเจริญขึ้น แม้จะยังประโยชน์ที่เป็นไปในปัจจุบันและที่เป็นไปในชาติหน้านั้นให้ฉิบหาย คิดว่า เราจักเตือนท่าน จึงได้กล่าว.
               บทว่า อาตุรสฺส ความว่า ความเดือดร้อนมี ๓ อย่าง คือ เดือดร้อนด้วยความแก่ เดือดร้อนด้วยความเจ็บป่วย เดือดร้อนด้วยกิเลส. ท่านกล่าวหมายถึงความเดือดร้อนด้วยกิเลสในความเดือดร้อน ๓ นั้น.
               บทว่า สลฺลวิทฺธสฺส ความว่า แทงที่หัวใจด้วยลูกศรคือตัณหาที่ถูกซัดไปด้วยอวิชชา เหมือนถูกแทงด้วยลูกศรคือหอกที่อาบด้วยยาพิษ.
               บทว่า รุปฺปโต แปลว่า ถูกเสียดสี.
               อิทานิสฺส กาเมสุ อาทีนวํ กถยนฺตี อนิจฺจาติอาทิมาห.
                              บัดนี้ เมื่อจะกล่าวถึงโทษในกามนั้น จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า "ไม่เที่ยง".

               บัดนี้ เมื่อเทวดาจะกล่าวถึงโทษในกามของภิกษุนั้น จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า "ไม่เที่ยง".
               ในบทเหล่านั้น บทว่า อสิตํ คือ ไม่อาศัยด้วยตัณหานิสัยและทิฏฐินิสัย.
               บทว่า กสฺมา ปพฺพชิตํ ตเป ความว่า ท่านย่อมกล่าวว่า การหลับกลางวันย่อมไม่เผาพระขีณาสพเห็นปานนี้ ก็แลเพราะเหตุไร จักไม่เผาพระขีณาสพเช่นนั้น. ก็เพราะนี่เป็นคำของพระเถระ.
               นี้เป็นเนื้อความในข้อนี้ว่า เมื่อถูกผูกแล้ว การหลับกลางวันจะพึงทำบรรพชิตผู้ไม่มีอาสวะเช่นเราผู้หลุดแล้ว หมดกิเลส จะพึงร้อนก็ไม่ร้อน เพราะเหตุไร.
               แม้ในคาถาที่เหลือก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.
               จริงอยู่ ในฝ่ายถ้อยคำของเทวดามีอรรถว่า ความหลับกลางวันย่อมไม่เผาบรรพชิตผู้ไม่มีอาสวะเช่นนี้ ก็แลเพราะเหตุไร จักไม่เผาบรรพชิตเช่นนั้น. ในฝ่ายถ้อยคำของพระเถระมีอรรถว่า การหลับกลางวันจะพึงเผาบรรพชิตผู้ไม่มีอาสวะเช่นเราเห็นปานนี้ ก็ชื่อว่าไม่เดือดร้อน เพราะเหตุไร. แต่นี้เป็นการพรรณนาบทที่ลึกซึ้งในข้อนี้.
               บทว่า วินยา แปลว่า เพราะกำจัด.
               บทว่า สมติกฺกมา แปลว่า เพราะก้าวล่วงอวิชชาที่เป็นรากเหง้าของวัฏฏะ.
               บทว่า ตํ ญาณํ ได้แก่ รู้สัจจะ ๔ นั้น.
               บทว่า ปรโมทาตํ ได้แก่ บริสุทธิ์อย่างยิ่ง.
               บทว่า ปพฺพชิตํ คือ บรรพชิตผู้ประกอบด้วยความรู้เห็นปานนี้.
               บทว่า วิชฺชาย คือ วิชชาในมรรคที่ ๔.
               บทว่า อารทฺธวิริยํ คือ ประคองความเพียรไว้แล้ว มีความเพียรบริบูรณ์แล้ว.

               จบอรรถกถาอุปัฏฐานสูตรที่ ๒               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค วนสังยุต อุปัฏฐานสูตรที่ ๒ จบ.
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 761อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 763อ่านอรรถกถา 15 / 766อ่านอรรถกถา 15 / 956
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=6406&Z=6426
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=7068
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=7068
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๘  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :