ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 766อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 768อ่านอรรถกถา 15 / 771อ่านอรรถกถา 15 / 956
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค วนสังยุต
สัมพหุลสูตรที่ ๔

               อรรถกถาสัมพหุลสูตรที่ ๔               
               พึงทราบวินิจฉัยในสัมพหุลสูตรที่ ๔ ต่อไปนี้ :-
               บทว่า สมฺพหุลา คือ ผู้ทรงพระสูตร ผู้ทรงพระอภิธรรม ผู้ทรงพระวินัย เป็นอันมาก.
               บทว่า วิหรนฺติ ได้แก่ เรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดาแล้วอยู่.
               บทว่า ปกฺกมึสุ ความว่า ได้ยินว่า คนทั้งหลายเห็นภิกษุเหล่านั้นเข้าไปยังหมู่บ้านแห่งใดแห่งหนึ่งในชนบทนั้น ก็มีจิตเลื่อมใส ปูลาดผ้าขนแกะเป็นต้นไว้ที่หอฉัน ถวายข้าวต้มและของขบเคี้ยวแล้วนั่งใกล้. พระมหาเถระกล่าวกะพระธรรมกถึกรูปหนึ่งว่า เธอจงกล่าวธรรม. พระธรรกถึกนั้นจึงกล่าวธรรมกถาอย่างไพเราะ. คนทั้งหลายเลื่อมใสแล้วได้ถวายโภชนะอันประณีตในเวลาฉัน. พระมหาเถระได้กระทำอนุโมทนาอาหารอย่างพึงพอใจ.
               คนทั้งหลายเลื่อมใสอย่างยิ่งแล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิมนต์จำพรรษาอยู่ในที่นี้ตลอด ๓ เดือนเถิด ให้ท่านรับปฏิญญาแล้ว ให้สร้างเสนาสนะในที่ซึ่งสะดวกด้วยการไปมาอุปฐากด้วยปัจจัย ๔.
               พระมหาเถระสอนภิกษุในวันเข้าพรรษาว่า ดูก่อนผู้มีอายุ พวกท่านเรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดาผู้เป็นครู ชื่อว่าความปรากฏแห่งพระพุทธเจ้าหายาก พวกท่านจงฟังธรรมเดือนละ ๘ วัน ละความคลุกคลีด้วยหมู่คณะแล้วไม่ประมาทอยู่เถิด ดังนี้.
               จำเดิมแต่นั้นมา ภิกษุเหล่านั้นย่อมขวนขวายพากเพียร บางวันก็ทำการฟังธรรมตลอดคืน บางวันก็แก้ปัญหา บางคราวก็ทำความเพียร.
               ในวันธรรมสวนะ ภิกษุเหล่านั้นกล่าวธรรมจนอรุณขึ้น ในวันแก้ปัญหากระทำการถามและการแก้ คือภิกษุผู้ฉลาดถามปัญหา ผู้เป็นบัณฑิตแก้ ในวันทำความเพียร ตีระฆังในเวลาพระอาทิตย์ตก ลงสู่ที่จงกรม ทำความเพียร. ภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาอย่างนี้ปวารณาแล้วหลีกไป.
               คำนี้ท่านกล่าวหมายถึงความข้อนั้น.
               บทว่า ปริเทวมานา ความว่า เทวดากล่าวคำเป็นต้นว่า บัดนี้ เราจักได้ฟังธรรมและกล่าวปัญหาอันไพเราะเห็นปานนั้นแต่ไหนเล่า ดังนี้แล้วคร่ำครวญอยู่.
               บทว่า ขายติ แปลว่า ย่อมปรากฏ คือเข้าไปตั้งไว้.
               บทว่า โกเม แปลว่า (พระสาวก) เหล่านี้ (ไป) ไหน.
               บทว่า วชฺชิภูมิยา แปลว่า บ่ายหน้าไปแคว้นวัชชี.
               บทว่า มกฺกุฏฺาวิย แปลว่า เหมือนลิง.
               ภิกษุท่องเที่ยวไปที่เชิงเขาหรือที่ราวป่านั้นๆ ไม่ถือว่า ที่นี้เป็นสมบัติของมารดา เป็นสมบัติของบิดาของเรา ที่มาตามประเพณี. ภิกษุเหล่านั้นมีความผาสุกด้วยโคจรคามและความไม่มีอันตรายอยู่ในที่ใด ก็อยู่ในที่นั้น.
               แม้ภิกษุทั้งหลายผู้ไม่มีเรือนอย่างนี้ จึงกล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุ นี้เป็นสมบัติของอุปัชฌาย์อาจารย์ของเรา ที่มาตามประเพณี ดังนี้ จึงไม่ถือเอา ภิกษุเหล่านั้นมีที่สบายด้วยอากาศ สบายด้วยโภชนะ สบายด้วยเสนาสนะ สบายด้วยการฟังธรรมหาง่าย มีอยู่ในที่ใด ย่อมอยู่ในที่นั้น.

               จบอรรถกถาสัมพหุลสูตรที่ ๔               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค วนสังยุต สัมพหุลสูตรที่ ๔ จบ.
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 766อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 768อ่านอรรถกถา 15 / 771อ่านอรรถกถา 15 / 956
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=6443&Z=6456
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=7120
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=7120
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๘  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :