ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 863อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 867อ่านอรรถกถา 15 / 877อ่านอรรถกถา 15 / 956
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค สักกสังยุต ปฐมวรรคที่ ๑
เวปจิตติสูตรที่ ๔

               อรรถกถาเวปจิตติสูตรที่ ๔               
               พึงทราบวินิจฉัยในเวปจิตติสูตรที่ ๔ ต่อไปนี้ :-
               บทว่า เวปจิตฺตํ ความว่า ได้ยินว่า เขาเป็นหัวหน้าของพวกอสูร.
               บทว่า เยน สักว่า เป็นนิบาต.
               บทว่า นํ แปลว่า นั้น.
               บทว่า กณฺฐปญฺจเมหิ ความว่า ที่มัด ๕ แห่ง คือที่มือ ๒ ที่เท้า ๒ และที่คอ ๑. ก็เครื่องมัดนั้นย่อมมาสู่คลองจักษุ คือปิดกั้นอิริยาบถเหมือนใยบัว และเหมือนใยแมงมุม. ก็ถูกเขามัดด้วยเครื่องมัดเหล่านั้นไว้ด้วยจิต ก็ย่อมหลุดด้วยจิต.
               บทว่า อกฺโกสติ ความว่า เขาย่อมด่าด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐ เหล่านั้นว่า เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นอูฐ เจ้าเป็นวัว เจ้าเป็นลา เจ้าเป็นสัตว์นรก เจ้าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน เจ้าไม่มีสุคติ เจ้าหวังแต่ทุคติเท่านั้น.
               บทว่า ปริภาสติ ความว่า กล่าวคำเป็นต้นเหล่านี้ ขู่ว่า ดูก่อนเฒ่าสักกะ ท่านจักชนะทุกเวลาไม่ได้ เมื่อใดพวกอสูรจักชนะ เมื่อนั้นเราจะมัดท่านอย่างนี้บ้าง จักให้นอนที่ประตูของแดนอสูรแล้วตี. ท้าวสักกะมีชัยชนะแล้ว ก็ไม่ใส่ใจคำของจอมอสูรนั้น. ก็แลมีการรับของอย่างใหญ่ท้าวสักกะฉุดที่หัวของจอมอสูรนั้น เข้าไปสู่เทวสภาชื่อสุธัมมาและกลับออกมา.
               บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า มาตลีเทพบุตรพิจารณาว่า ท้าวสักกะนี้อดทนต่อคำหยาบเหล่านี้ เพราะความกลัวหรือ หรือว่าเพราะเป็นผู้ประกอบด้วยอธิวาสนขันติ จึงทูลแล้ว.
               บทว่า ทุพฺพเลฺยน แปลว่า ด้วยความอ่อนแอ.
               บทว่า ปฏิสํยุเช แปลว่า จะพึงสมคบ คือจะพึงคลุกคลี.
               บทว่า ปภิชฺเชยฺยุํ แปลว่า จะพึงร้าวราน. บาลีว่า ปภุชฺเชยฺยํ บ้าง.
               บทว่า ปรํ แปลว่า ข้าศึก.
               บทว่า โย สโต อุปสมฺมติ ความว่า ผู้ใดมีสติเข้าไประงับ. อธิบายว่า เราเข้าไประงับ คือห้ามคนพาลนั้น.
               บทว่า ยทา นํ มญฺญติ ความว่า สำคัญโทษนั้น เพราะเหตุใด.
               บทว่า อชฺฌารูหติ แปลว่า กดขี่.
               บทว่า โคว ภิยฺโย ปลายินํ ความว่า พวกวัวยืนดูวัว ๒ ตัวกำลังชนกันในฝูงเพียงที่ตัวหนึ่งยังไม่หนี แต่เมื่อใดตัวหนึ่งหนี เมื่อนั้นพวกวัวทั้งปวงก็ช่วยกันไล่กวดวัวตัวที่หนีนั้นยิ่งขึ้นฉันใด คนโง่ก็ข่มทับผู้อดทน ฉันนั้น.
               บทว่า สทตฺถปรมา แปลว่า มีประโยชน์ตนเป็นอย่างยิ่ง.
               บทว่า ขนฺตฺยา ภิยฺโย น วิชฺชติ ความว่า ในประโยชน์ที่มีประโยชน์ของตนเป็นอย่างยิ่งนั้น ประโยชน์ที่ยิ่งกว่าขันติไม่มี.
               บทว่า ตมาหุ ปรมํ ขนฺตึ ความว่า ผู้ใดมีกำลังย่อมอดทนได้ ท่านกล่าวขันตินั้นของผู้นั้นว่า เป็นอย่างยิ่ง. กำลังที่เกิดจากความไม่รู้ ชื่อกำลังของคนโง่. กำลังของคนโง่นั้นเป็นกำลังของผู้ใด กำลังนั้นไม่เป็นกำลัง ท่านไม่กล่าวคือบอกแสดงกำลังนั้นว่าเป็นกำลัง.
               บทว่า ธมฺมคุตฺตสฺส ความว่า ผู้อันธรรมรักษาแล้ว หรือผู้รักษาธรรม.
               บทว่า ปฏิวตฺตา แปลว่า ผู้กล่าวโต้แย้ง. หรือว่า พึงกล่าวโต้แย้งว่า อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม. แต่ว่า ชื่อว่าผู้สามารถจะยังผู้ตั้งอยู่ในธรรมให้หวั่นไหวไม่มี.
               บทว่า ตสฺเสว เตน ปาปิโย ความว่า ความชั่วของบุคคลนั้นย่อมมี เพราะความโกรธนั้น.
               ถามว่า เป็นความชั่วของใคร.
               ตอบว่า ของคนผู้โกรธตอบบุคคลผู้โกรธ.
               บทว่า ติกิจฺฉนฺตานํ เป็นพหุวจนะใช้ในเอกวจนะ. อธิบายว่า รักษาประโยชน์ไว้ได้.
               บทว่า ชนา มญฺญนฺติ ความว่า ปุถุชนผู้โง่เขลาย่อมสำคัญว่า คนโง่เขลานี้ย่อมสำคัญบุคคลผู้แก้ไขยังประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย คือของตนและของผู้อื่นเห็นปานนี้ ให้สำเร็จ.
               บทว่า ธมฺมสฺสอโกวิทา ความว่า ไม่ฉลาดในอริยสัจ ๔.
               บทว่า อิธ แปลว่า ในศาสนานี้.
               บทว่า โข ตํ เป็นเพียงนิบาต.

               จบอรรถกถาเวปจิตติสูตรที่ ๔               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค สักกสังยุต ปฐมวรรคที่ ๑ เวปจิตติสูตรที่ ๔ จบ.
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 863อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 867อ่านอรรถกถา 15 / 877อ่านอรรถกถา 15 / 956
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=7113&Z=7173
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=8388
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=8388
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๘  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :