ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 895อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 899อ่านอรรถกถา 15 / 905อ่านอรรถกถา 15 / 956
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค สักกสังยุต ปฐมวรรคที่ ๑
สมุททกสูตรที่ ๑๐

               อรรถกถาสมุททกสูตรที่ ๑๐               
               พึงทราบวินิจฉัยในสมุททกสูตรที่ ๑๐ ต่อไปนี้ :-
               บทว่า สมุทฺทตีเร ปณฺณกุฏีสุ ความว่า พวกฤาษีอาศัยอยู่ในบรรณศาลา มีประการดังกล่าวแล้ว บนหาดทรายมีสีเหมือนแผ่นเงินหลังมหาสมุทรในจักรวาล.
               บทว่า สิยาปิ นํ แก้เป็น สิยาปิ อมฺหากํ แปลว่า แม้พึงมีแก่พวกเรา.
               บทว่า อภยทกฺขิณํ ยาเจยฺยาม ได้แก่ พึงขออภัยทาน.
               นัยว่า สงครามระหว่างเทวดาและอสูร โดยมากมีขึ้นที่หลังมหาสมุทร. ชัยชนะมิได้มีแก่พวกอสูรในทุกเวลา. พวกอสูรเป็นฝ่ายแพ้เสียหลายครั้ง.
               พวกอสูรเหล่านั้นแพ้เทวดาแล้วพากันหนีไปทางอาศรมบทของพวกฤาษี โกรธว่า ท้าวสักกะปรึกษากับพวกฤาษีเหล่านี้ ทำเราให้พินาศ โดยพวกท่านจับทั้งแม่ทั้งลูก.
               พวกอสูรจึงพากันทำลายหม้อน้ำดื่มและศาลาที่จงกรมเป็นต้นในอาศรมบทนั้น. พวกฤาษีถือเอาผลาผลจากป่ากลับมาเห็น ช่วยกันทำให้เหมือนเดิมด้วยความลำบากอีก. แม้พวกอสูรเหล่านั้นก็ทำให้พินาศอย่างนั้นบ่อยๆ. เพราะฉะนั้น พวกฤาษีสดับว่า บัดนี้ สงครามระหว่างเทวดาและอสูรปรากฏขึ้นดังนี้ จึงคิดอย่างนั้น.
               บทว่า กามํ กโร ได้แก่ กระทำตามความปรารถนา.
               บทว่า ภยสฺส อภยสฺส วา แก้เป็น ภยํ วา อภยํ วา แปลว่า ภัยหรืออภัย.
               ท่านอธิบายข้อนี้ไว้ว่า หากท่านประสงค์จะให้อภัยก็พอให้อภัยได้ หากท่านประสงค์จะให้ภัยก็พอจะให้ภัยได้ แต่สำหรับพวกอาตมา ท่านจงให้อภัยทานเถิดดังนี้.
               บทว่า ทุฏฺฐานํ แปลว่า ผู้ประทุษร้ายแล้ว คือผู้โกรธแล้ว.
               บทว่า ปวุตฺตํ คือ อันเขาหว่านไว้ในนา.
               บทว่า ติกฺขตฺตุํ อุพฺพิชฺชติ ความว่า จอมอสูรบริโภคภัตรในตอนเย็นแล้วขึ้นที่นอน นอนพอจะงีบหลับ ก็ลุกขึ้นยืนร้องไปรอบๆ เหมือนถูกหอกร้อยเล่มทิ่มแทง. ภพอสูรหนึ่งหมื่นโยชน์ถึงความปั่นป่วนว่า นี่อะไรกัน.
               ลำดับนั้น พวกอสูรพากันมาถามจอมอสูร นี่อะไรกัน. จอมอสูรไม่พูดอะไรเลย.
               แม้ในยามที่สองเป็นต้นก็มีนัยนี้แล.
               ด้วยประการฉะนี้ เมื่อพวกอสูรพากันปลอบจอมอสูรว่า อย่ากลัวเลย มหาราช ดังนี้จนอรุณขึ้น. ตั้งแต่นั้นมา จอมอสูรก็มีใจหวั่นไหวเกิดอาการไข้ด้วยประการฉะนี้. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล จอมอสูรนั้นจึงเกิดชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า เวปจิตติ.

               จบอรรถกถาสมุททกสูตรที่ ๑๐               
               จบวรรคที่ ๑               
               -----------------------------------------------------               

               รวมพระสูตรแห่งสักกสังยุตมี ๑๐ สูตร คือ
                         ๑. สุวีรสูตร
                         ๒. สุสิมสูตร
                         ๓. ธชัคคสูตร
                         ๔. เวปจิตติสูตร
                         ๕. สุภาษิตชยสูตร
                         ๖. กุลาวกสูตร
                         ๗. นทุพภิยสูตร
                         ๘. วิโรจนอสุรินทสูตร
                         ๙. อารัญญกสูตร
                         ๑๐. สมุททกสูตร
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค สักกสังยุต ปฐมวรรคที่ ๑ สมุททกสูตรที่ ๑๐ จบ.
อ่านอรรถกถา 15 / 1อ่านอรรถกถา 15 / 895อรรถกถา เล่มที่ 15 ข้อ 899อ่านอรรถกถา 15 / 905อ่านอรรถกถา 15 / 956
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=7327&Z=7366
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=8489
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=8489
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๘  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :