ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 16 / 1อ่านอรรถกถา 16 / 240อรรถกถา เล่มที่ 16 ข้อ 245อ่านอรรถกถา 16 / 250อ่านอรรถกถา 16 / 725
อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อภิสมัยสังยุตต์ มหาวรรคที่ ๗
อัตถิราคสูตร

               อรรถกถาอัตถิราคสูตรที่ ๔               
               ในอัตถิราคสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               คำว่า ราโค เป็นต้น เป็นชื่อของโลภะนั่นเอง.
               จริงอยู่ โลภะนั้นเรียกว่าราคะ ด้วยอำนาจความยินดี เรียกว่านันทิ ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เรียกว่าตัณหา ด้วยอำนาจความอยาก.
               บทว่า ปติฏฺฐิตํ ตตฺถ วิญฺญาณํ วิรุฬฺหํ ความว่า ตั้งอยู่และงอกงาม เพราะสามารถทำกรรมให้แล่นไปแล้วชักปฏิสนธิมา.
               บทว่า ยตฺถ เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓.
               อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ยตฺถ นี้เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ในบทต้นๆ ในที่ทุกแห่ง.
               บทว่า อตฺถิ ตตฺถ สงฺขารานํ วุฑฺฒิ นี้ ท่านกล่าวหมายเอาสังขารซึ่งมีวัฏฏะเป็นเหตุต่อไปของนามรูปซึ่งตั้งอยู่ในวิบากวัฏนี้.
               บทว่า ยตฺถ อตฺถิ อายตึ ปุนพฺภวาภินิพฺพตฺติ ความว่า การเกิดในภพใหม่ต่อไปมีอยู่ในที่ใด.
               ในคำว่า เอวเมว โข นี้ มีการเปรียบเทียบด้วยอุปมาดังต่อไปนี้.
               ก็กรรมที่เกิดพร้อมและกรรมที่อุดหนุน (สหกรรมและสสัมภารกรรม) เหมือนช่างย้อมและช่างเขียน วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ เหมือนแผ่นกระดานฝาและแผ่นผ้า กรรมอันเป็นตัวปรุงแต่งย่อมสร้างรูปในภพทั้งหลาย เหมือนช่างย้อมและช่างเขียน ย่อมสร้างรูปที่แผ่นกระดานเป็นต้นที่บริสุทธิ์ ในอุปมาเหล่านั้น คนบางคนเมื่อทำกรรม ย่อมทำด้วยจิตที่เป็นญาณวิปปยุต กรรมนั้น (ของเขา) เมื่อจะสร้างรูป ย่อมไม่ให้ความ สมบูรณ์แห่งรูปสำหรับจักษุเป็นต้น สร้างแต่รูปที่วรรณะไม่งาม ทรวดทรงไม่ดี ไม่น่าพอใจแม้ของบิดามารดา เปรียบเหมือนรูปที่ช่างเขียนผู้ไม่ฉลาดสร้างขึ้น เป็นรูปวิกลบกพร่อง ไม่น่าพอใจฉะนั้น.
               อนึ่ง คนบางคน เมื่อทำกรรม ย่อมทำด้วยจิตที่เป็นญาณสัมปยุต กรรมนั้น (ของเขา) เมื่อสร้างรูป ย่อมให้ความสมบูรณ์แห่งรูปสำหรับจักษุเป็นต้น สร้างแต่รูปที่มีวรรณะงาม ทรวดทรงดี เหมือนประดับตกแต่งตัวแล้ว เปรียบเหมือนรูปที่ช่างเขียนผู้ฉลาดสร้างขึ้นเป็นรูปงาม ทรวดทรงดี เป็นที่น่าพอใจฉะนั้น.
               ก็ในอุปมานี้ พึงทราบว่า ท่านสงเคราะห์อาหารเข้ากับวิญญาณ คือระหว่างอาหารกับนามรูปเป็นสนธิหนึ่ง ชื่อว่าวิบากวิถี สงเคราะห์เข้ากับรูป ระหว่างนามรูปกับสังขารเป็นสนธิหนึ่ง ระหว่างสังขารกับภพต่อไปเป็นสนธิหนึ่ง.
               บทว่า กูฏาคารํ ได้แก่ เรือนที่ติดช่อฟ้าอันหนึ่งสร้างไว้.
               บทว่า กูฏาคารสาลา ได้แก่ ศาลาที่ติดช่อฟ้า ๒ อันสร้างไว้.
               ในคำว่า เอวเมว โข นี้ พึงทราบว่ากรรมของพระขีณาสพก็เสมอกับรัศมีแห่งพระอาทิตย์ ก็รัศมีแห่งพระอาทิตย์มี แต่รัศมีนั้นตั้งอยู่อย่างเดียว เพราะไม่มี จึงชื่อว่าไม่ตั้งอยู่. เพราะไม่มีนั่นเอง กรรมของพระขีณาสพจึงไม่ตั้งอยู่.
               จริงอยู่ กายเป็นต้นของพระขีณาสพนั้นมีอยู่ แต่กรรมที่พระขีณาสพเหล่านั้นทำ ไม่จัดเป็นกุศลและอกุศล ตั้งอยู่ในทางแห่งกิริยา ไม่มีวิบาก กรรมของท่านชื่อว่าไม่ตั้งอยู่ เพราะไม่มีนั่นเองแล.

               จบอรรถกถาอัตถิราคสูตรที่ ๔               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อภิสมัยสังยุตต์ มหาวรรคที่ ๗ อัตถิราคสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 16 / 1อ่านอรรถกถา 16 / 240อรรถกถา เล่มที่ 16 ข้อ 245อ่านอรรถกถา 16 / 250อ่านอรรถกถา 16 / 725
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=16&A=2697&Z=2779
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=2886
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=2886
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๙  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :