ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 16 / 1อ่านอรรถกถา 16 / 462อรรถกถา เล่มที่ 16 ข้อ 464อ่านอรรถกถา 16 / 470อ่านอรรถกถา 16 / 725
อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค กัสสปสังยุตต์
อโนตตัปปิสูตร

               อรรถกถาอโนตตาปีสูตรที่ ๒               
               พึงทราบวินิจฉัยในอโนตตาปีสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้.
               บทว่า อนาตาปี ความว่า เว้นจากความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส.
               บทว่า อโนตฺตาปี ความว่า ไม่กลัว คือเว้นความกลัวแต่ความเกิดแห่งกิเลส และความไม่เกิดแห่งกุศล.
               บทว่า สมฺโพธาย คือ เพื่อความตรัสรู้.
               บทว่า นิพฺพานาย คือ เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง.
               บทว่า อนุตฺตรสฺส โยคกฺเขมสฺส คือ อรหัต. ก็อรหัตนั้นยอดเยี่ยมและเกษมจากโยคะ ๔.
               ในบทเป็นต้นว่า อนุปฺปนฺนา ความว่า อกุศลบาปธรรมมีโลภะเป็นต้นเหล่าใด ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ได้ปัจจัยมีจีวรเป็นต้น อันตนยังไม่เคยได้วัตถุเป็นที่พอใจอย่างใดอย่างหนึ่งของอุปัฏฐาก สัทธิวิหาริกและอันเตวาสิกทั้งหลายแล้ว ถือเอาสิ่งนั้นด้วยเข้าใจว่างาม เป็นสุข ดังนี้ โดยไม่แยบคาย ก็หรือรำพึงถึงอารมณ์อนไม่เคยมีอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยไม่แยบคายตามมีตามเกิด. อกุศลบาปธรรมเหล่านั้น พึงทราบว่า ยังไม่เกิดขึ้น ดังนี้.
               บาปธรรม ชื่อว่ายังไม่เกิดขึ้นในสงสารอันมีที่สุดเบื้องต้นอันบุคคลรู้ไม่ได้ ย่อมไม่มีโดยประการอื่น. อนึ่ง อกุศลธรรมยังไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุ ในเพราะอารมณ์อันเป็นวัตถุอันเคยมีมา หรือด้วยความบริสุทธิ์เป็นปกติ หรือด้วยการเรียนและการสอบถาม หรือด้วยอำนาจแห่งปริยัติ นวกรรมและทำไว้ในใจโดยแยบคาย อย่างใดอย่างหนึ่งในก่อน ภายหลังย่อมเกิดขึ้นได้เร็วด้วยปัจจัยเช่นนั้น. อกุศลธรรมแม้เหล่านี้ พึงทราบว่าที่ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อเกิดขึ้นพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์. ด้วยว่า อกุศลธรรมเมื่อเกิดขึ้นในวัตถารมณ์เหล่านั้นบ่อยๆ ชื่อว่ายังละไม่ได้. อกุศลธรรมเหล่านั้น พึงทราบว่าที่เกิดขึ้นแล้ว เมื่อยังละไม่ได้พึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์.
               นี้เป็นความสังเขปในข้อนี้.
               ส่วนความพิสดารแยกเป็นเกิดขึ้นและวิธีที่ละได้ ยังละไม่ได้ ทั้งหมดท่านกล่าวในวิสุทธิมรรค ว่าด้วยญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ.
               บทว่า อนุปฺปนฺนา เม กุสลา ธมฺมา ความว่า ธรรมที่ไม่มีโทษ กล่าวคือศีล สมาธิ มรรคและผลที่ตนยังไม่ได้.
               บทว่า อุปฺปนฺนา ได้แก่ กุศลธรรมเหล่านั้นอันตนได้แล้ว.
               บทว่า นิรุชฺฌมานา อนตฺถาย สํวตฺเตยฺยุํ ความว่า ธรรมมีศีลเป็นต้นเหล่านั้น เมื่อดับไปเพราะยังไม่เกิด ด้วยอำนาจความเสื่อม.
               ก็ในธรรมมีศีลเป็นต้นนี้ โลกิยธรรมย่อมเสื่อม. โลกุตรธรรมไม่มีเสื่อม.
               ส่วนเทศนานี้ ท่านแสดงด้วยอำนาจสัมมัปปธานนี้ว่า เพื่อความดำรงอยู่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นเนื้อความในข้อนี้อย่างนี้ว่า เมื่อทุติยมรรคยังไม่เกิด ปฐมมรรคเมื่อดับ พึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์.
               สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้ ท่านกล่าวในสูตรนี้ ด้วยอำนาจวิปัสสนาส่วนเบื้องต้น ด้วยประการฉะนี้แล.

               จบอรรถกถาอโนตตาปีสูตรที่ ๒               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค กัสสปสังยุตต์ อโนตตัปปิสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 16 / 1อ่านอรรถกถา 16 / 462อรรถกถา เล่มที่ 16 ข้อ 464อ่านอรรถกถา 16 / 470อ่านอรรถกถา 16 / 725
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=16&A=5151&Z=5211
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=4121
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=4121
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๙  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :