ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 16 / 1อ่านอรรถกถา 16 / 47อรรถกถา เล่มที่ 16 ข้อ 53อ่านอรรถกถา 16 / 57อ่านอรรถกถา 16 / 725
อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อภิสมัยสังยุตต์ อาหารวรรคที่ ๒
ติมพรุกขสูตร

               อรรถกถาติมพรุกขสูตรที่ ๘               
               ในติมพรุกขสูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               คำว่า สา เวทนา เป็นต้น ตรัสเพื่อจะปฏิเสธลัทธิที่ว่า สิ่งที่ตนทำเอง เป็นสุขและทุกข์.
               คำว่า สโต แม้ในบทว่า อาทิโต สโต นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถสัตตมีวิภัตติ.
               ในข้อนี้ มีการแสดงเนื้อความดังต่อไปนี้ :-
               ติมพรุกขะ เมื่อคำเป็นต้นว่า สา เวทนา โส เวทยติ มีอยู่อย่างนี้ ภายหลังย่อมมีลัทธิดังนี้ว่า สิ่งที่ตนทำเองเป็นสุข เป็นทุกข์ และเมื่อกล่าวอย่างนี้ ย่อมรู้ตามว่า เวทนานี้มีแม้ในกาลก่อน คือแสดงสัสสตทิฏฐิ ยึดถือสัสสตทิฏฐิ. เพราะเหตุไร. เพราะข้อนั้นเป็นความเห็นของท่าน.
               บทว่า เอตํ ปเร ความว่า เข้าถึงสัสสตทิฏฐินั้น. เพราะทรงหมายเอาเนื้อความก่อนจึงตรัสอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น ในอรรถกถา ท่านจึงประกอบคำนั้น แล้วแสดงเนื้อความแห่งคำนั้น.
               บทว่า เอวญฺจาหํ น วทามิ ความว่า เราจะไม่พูดอย่างนี้ว่า สา เวทนา โส เวทยติ.
               คำว่า อญฺญา เวทนา เป็นอาทิ ตรัสเพื่อจะปฏิเสธลัทธิที่ว่า สุขและทุกข์อันคนอื่นทำ.
               แม้ในบทนี้ มีการประกอบความดังต่อไปนี้ :-
               ติมพรุกขะ เมื่อคำเป็นต้นว่า อญฺญา เวทนา อญฺโญ เวทยติ มีอยู่อย่างนี้ ภายหลังเมื่อถูกเวทนาที่สัมปยุตกับอุจเฉททิฏฐิ ที่เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า การกเวทนาในฝ่ายแรกขาดสูญ แต่สิ่งที่ตนทำเอง ผู้อื่นเสวยดังนี้ ครอบงำ ย่อมมีลัทธิดังนี้ว่า สิ่งที่ผู้อื่นทำเป็นสุข เป็นทุกข์ดังนี้ และเมื่อกล่าวอย่างนี้ ย่อมแสดงอุจเฉททิฏฐิ ย่อมยึดถืออุจเฉททิฏฐิว่า การกะขาดสูญ สิ่งอื่นถือปฏิสนธิ. เพราะเหตุไร. เพราะข้อนั้น เป็นความเห็นของท่าน.
               บทว่า เอตํ ปเร ได้แก่ เข้าถึงอุจเฉททิฏฐินั้น. ก็ในที่นี้ท่านนำบทเหล่านี้มาประกอบไว้ในอรรถกถาแล้ว.
               พระองค์ตรัสสุขเวทนาและทุกขเวทนาไว้ในพระสูตรนี้ ด้วยประการฉะนี้ และสุขทุกข์ที่เป็นวิบากนั้นแลก็ตรัสว่าเหมาะ (ที่จะกล่าวไว้ในพระสูตรนี้เหมือนกัน).

               จบอรรถกถาติมพรุกขสูตรที่ ๘               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อภิสมัยสังยุตต์ อาหารวรรคที่ ๒ ติมพรุกขสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 16 / 1อ่านอรรถกถา 16 / 47อรรถกถา เล่มที่ 16 ข้อ 53อ่านอรรถกถา 16 / 57อ่านอรรถกถา 16 / 725
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=16&A=506&Z=556
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=956
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=956
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๙  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :