ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 16 / 1อ่านอรรถกถา 16 / 610อรรถกถา เล่มที่ 16 ข้อ 612อ่านอรรถกถา 16 / 614อ่านอรรถกถา 16 / 725
อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค ราหุลสังยุตต์ ปฐมวรรคที่ ๑
เจตนาสูตรที่ ๗

               ราหุลสังยุตต์               
               ปฐมวรรคที่ ๑               
               อรรถกถาจักขุสูตรที่ ๑ เป็นต้น               
               ราหุลสังยุต จักขุสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า เอโก ได้แก่ มีปกติอยู่ผู้เดียวในอิริยาบถทั้ง ๔.
               บทว่า วูปกฏฺโฐ แปลว่า ปลีกตัวไป สลัดไป.
               บทว่า อปฺปมตฺโต ได้แก่ ตั้งอยู่ในความไม่ปราศจากสติ.
               บทว่า อาตาปี ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยความเพียร.
               บทว่า ปหิตตฺโต วิหเรยฺยํ ได้แก่ เป็นผู้มีใจเด็ดเดี่ยวเพื่อประโยชน์แก่การบรรลุคุณวิเศษอยู่.
               บทว่า อนิจฺจํ ได้แก่ ชื่อว่าไม่เที่ยง โดยอาการที่มีแล้วก็ไม่มี.
               อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่าไม่เที่ยง ด้วยเหตุแม้เหล่านี้ คือเพราะมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป เพราะเป็นของเป็นไปอยู่ชั่วคราว เพราะมีความแปรปรวนเป็นที่สุด เพราะปฏิเสธความเที่ยง.
               บทว่า ทุกฺขํ ได้แก่ ชื่อว่าทุกข์ด้วยเหตุ ๔ ประการ คือด้วยอรรถว่าทนได้ยาก ด้วยอรรถว่าเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งความทนได้ยาก ด้วยอรรถว่าบีบคั้นสัตว์ ด้วยการปฏิเสธความสุข.
               ตรัสว่า ควรหรือ ยึดถือด้วยตัณหาว่านั่นของเรา ยึดถือด้วยมานะว่าเราเป็นนั่น ยึดถือด้วยทิฏฐิว่านั่นเป็นตัวของเรา.
               บรรดาความยึดถือเหล่านั้น ยึดถือด้วยตัณหา ก็พึงทราบโดยอำนาจตัณหาวิปริต ๑๐๘. ยึดถือด้วยมานะ ก็พึงทราบโดยอำนาจมานะ ๙ ประการ. ยึดถือด้วยทิฏฐิ ก็พึงทราบโดยอำนาจทิฏฐิ ๖๒.
               ในคำว่า นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ นี้ ตรัสมรรค ๔ ด้วยอำนาจวิราคะ.
               ในคำว่า วิราคา วิมุจฺจติ นี้ตรัสสามัญญผล ๔ ด้วยอำนาจวิมุตติ.
               ก็ในพระสูตรที่ ๑ นี้ ทรงถือเอาปสาทะในทวาร ๕. ทรงถือเอาสมันนาหารจิตที่เป็นไปในภูมิ ๓ ด้วยบทนี้ว่า มโน.

               ในรูปสูตรที่ ๒ ทรงถือเอาอารมณ์อย่างเดียว ในทวาร ๕.
               พึงทราบวินิจฉัยในวิญญาณสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้.
               ในทวารทั้ง ๕ ทรงถือเอาจิตที่มีปสาทะเป็นที่อาศัยเท่านั้น ทรงถือเอาสมันนาหารจิตที่เป็นไปในภูมิ ๓ ด้วยมโนวิญญาณ.
               พึงนำนัยไปใช้ในที่ทุกแห่งอย่างนี้.
               สัมผัสสสูตรที่ ๔ ไม่มีอรรถกถาอธิบาย.
               เวทนาสูตรที่ ๕ ไม่มีอรรถกถาอธิบาย.
               ในสัญญาสูตรที่ ๖ ทรงถือเอาธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓.
               เจตนาสูตรที่ ๗ ไม่มีอรรถกถาอธิบาย.
               แต่ในตัณหาสูตรที่ ๘ จะได้ชื่อว่า ตัณหา ในเมื่อตกถึงชวนะในทวารนั้นๆ เท่านั้น.

               จบอรรถกถาจักขุสูตรที่ ๑ เป็นต้น               
               -----------------------------------------------------               
               อรรถกถาที่มีมาก่อนหน้านี้ :-
               อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค ลาภสักการสังยุตต์ จตุตถวรรคที่ ๔                ปิตุสูตร ภาตุสูตร ภคินิสูตร ปุตตสูตร ธีตุสูตร ปชาปติสูตร http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=597                อรรถกถาที่มีถัดจากนี้ :-
               อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค ราหุลสังยุตต์ ปฐมวรรคที่ ๑                ธาตุสูตรที่ ๙ http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=616

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค ราหุลสังยุตต์ ปฐมวรรคที่ ๑ เจตนาสูตรที่ ๗ จบ.
อ่านอรรถกถา 16 / 1อ่านอรรถกถา 16 / 610อรรถกถา เล่มที่ 16 ข้อ 612อ่านอรรถกถา 16 / 614อ่านอรรถกถา 16 / 725
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=16&A=6512&Z=6524
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๙  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :