ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 16 / 1อ่านอรรถกถา 16 / 71อรรถกถา เล่มที่ 16 ข้อ 79อ่านอรรถกถา 16 / 85อ่านอรรถกถา 16 / 725
อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อภิสมัยสังยุตต์ ทสพลวรรคที่ ๓
ภูมิชสูตร

               อรรถกถาภูมิชสูตรที่ ๕               
               ในภูมิชสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               คำว่า ภูมิชะ เป็นชื่อของพระเถระนั้น. คำที่เหลือแม้ในสูตรนี้ ก็พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในสูตรต้นๆ. ส่วนความแผกกันมีดังนี้. ก็เพราะเหตุที่สุขทุกข์นี้มิใช่เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัยอย่างเดียวเท่านั้น กรรม เมื่อบุคคลกระทำย่อมทำด้วยกายบ้าง ด้วยวาจาบ้าง ด้วยใจบ้าง ทำด้วยตนเองบ้าง บุคคลอื่นทำบ้าง ทำด้วยมีสัมปชัญญะบ้าง ทำด้วยไม่มีสัมปชัญญะบ้าง ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงปัจจัยที่แผกกันแม้อย่างอื่นๆ ของกรรมนั้น จึงตรัสว่า หานนฺท สติ เป็นต้น.
               บทว่า กายสญฺเจตนาเหตุ แปลว่า เพราะเหตุแห่งเจตนาที่เกิดขึ้นในกายทวาร. แม้ในวจีสัญเจตนาและมโนสัญเจตนาก็นัยนี้เหมือนกัน.
               บรรดาทวารเหล่านั้น ในกายทวารได้เจตนา ๒๐ ด้วยอำนาจกุศลและอกุศลส่วนกามาพจร. ในวจีทวารก็เหมือนกัน. ในมโนทวารเจตนา ๒๐ กับรูปเจตนาและอรูปเจตนา ๙ ได้เจตนา ๒๙. ในทวารทั้ง ๓ จึงมีเจตนา ๖๙. ทรงแสดงสุขทุกข์ส่วนวิบาก ที่มีเจตนานั้นเป็นปัจจัย.
               คำว่า อวิชฺชาปจฺจยาว นี้ ตรัสไว้เพื่อทรงแสดงว่าเจตนาแม้เหล่านั้นก็ย่อมมีอวิชชาเป็นปัจจัย. แต่เพราะเหตุที่บุคคลอันผู้อื่นมิได้ชักจูง ย่อมกระทำกรรมนั้นที่เป็นกายสังขาร วจีสังขารและมโนสังขาร ต้องด้วยเจตนาตามที่กล่าวแล้ว ด้วยทั้งจิตที่เป็นอสังขาริกเองก็มี. ถูกผู้อื่นใช้ให้กระทำ ก็กระทำด้วยทั้งจิตที่เป็นสสังขาริกก็มี. ย่อมกระทำกรรมชื่อนี้ วิบากของกรรมนั้น จักมีชื่อเห็นปานนี้ บุคคลรู้กรรมและวิบากดังที่กล่าวมานี้ จึงกระทำก็มี. รู้กรรมอย่างเดียวเท่านั้น เหมือนทารกเมื่อบิดามารดากระทำการไหว้พระเจดีย์เป็นต้น ก็กระทำตาม แต่เขาไม่รู้วิบากว่า นี้เป็นวิบากของกรรมนี้ กระทำไปก็มี ฉะนั้น เพื่อทรงแสดงกรรมนั้น จึงตรัสว่า สามํ วา ตํ อานนฺท กายสงฺขารํ อภิสงฺขโรติ เป็นต้น.
               บทว่า อิเมสุ อานนฺท ธมฺเมสุ ความว่า ดูก่อนอานนท์ เจตนาธรรม ๒๗๖ ที่เรากล่าวในฐานะ ๔ มี สามํ วา ตํ อานนฺท กายสงฺขารํ เป็นต้น
               บรรดาธรรมเหล่านี้ อวิชชาตกไปตามโกฏิอุปนิสัย ก็ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ย่อมสงเคราะห์ลงในข้อนี้ว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ดังนี้.
               บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงวิวัฏฏะ จึงตรัสว่า อวิชฺชาย เตฺวว ดังนี้เป็นต้น.
               บทว่า โส กาโย น โหติ ความว่า เมื่อกายใดมีอยู่ สุขทุกข์ภายใน ที่มีกายสัญเจตนาเป็นปัจจัย ก็เกิดขึ้น. กายนั้นไม่มี. แม้ในวาจาและมนะก็นัยนี้นี่แหละ. อนึ่ง เจตนากาย ชื่อว่ากาย เจตนาวาจา แม้ก็ชื่อว่าวาจา. กรรมมโนนั่นแล แม้ก็ชื่อว่ามนะ. อีกนัยหนึ่ง ทวารกายชื่อว่ากาย. แม้ในวาจาและมนะก็นัยนี้เหมือนกัน. พระขีณาสพย่อมไหว้พระเจดีย์ กล่าวธรรม ใส่ใจกัมมัฏฐาน.
               ถามว่า กายกรรมเป็นต้นของพระขีณาสพ ไม่มีอย่างไร.
               ตอบว่า เพราะกรรมนั้นไม่มีวิบาก.
               จริงอยู่ กรรมที่พระขีณาสพทำ ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่มีวิบาก ตั้งอยู่ เพียงเป็นกิริยา. ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าวว่า กายกรรมเป็นต้นเหล่านั้นของพระขีณาสพนั้นไม่มี.
               พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า เขตฺตํ น วา โหติ เป็นต้นดังนี้.
               กรรมนั้น ไม่เป็นเขต เพราะอรรถว่า งอกผล. ไม่เป็นวัตถุ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้ง. ไม่เป็นอายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นปัจจัย. ไม่เป็นอธิกรณ์ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุ. ความจริง สุขทุกข์ภายในอันมีเจตนาใดเป็นมูล พึงเกิดขึ้น. สัญเจตนานั้น ไม่เป็นเขต ไม่เป็นวัตถุ ไม่เป็นอายตนะ ไม่เป็นอธิกรณ์ แห่งสุขทุกข์นั้น เพราะไม่มีผลประโยชน์มีการงอกผลเป็นต้นเหล่านั้น. ในพระสูตรนี้ ตรัสสุขทุกข์เท่านั้นในเวทนาเป็นต้น. ก็สุขทุกข์นั้นแล เป็นวิบากอย่างเดียวแล.

               จบอรรถกถาภูมิชสูตรที่ ๕               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อภิสมัยสังยุตต์ ทสพลวรรคที่ ๓ ภูมิชสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 16 / 1อ่านอรรถกถา 16 / 71อรรถกถา เล่มที่ 16 ข้อ 79อ่านอรรถกถา 16 / 85อ่านอรรถกถา 16 / 725
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=16&A=931&Z=1011
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=1459
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=1459
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๙  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :