ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 17 / 1อ่านอรรถกถา 17 / 427อรรถกถา เล่มที่ 17 ข้อ 429อ่านอรรถกถา 17 / 431อ่านอรรถกถา 17 / 594
อรรถกถา สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ทิฏฐิสังยุต โสตาปัตติวรรคที่ ๑
เหตุสูตรที่ ๗ ว่าด้วยอเหตุกทิฏฐิ

               อรรถกถาเหตุสูตรที่ ๗               
               บทว่า ปจฺจโย ในบทนี้ว่า นตฺถิ เหตุ นตฺถิ ปจฺจโย เป็นไวพจน์ของเหตุนั่นเอง.
               อเหตุกวาทีบุคคลพากันปฏิเสธปัจจัยแห่งความเศร้าหมองแห่งสังกิเลสธรรมทั้งหลายมีกายทุจริตเป็นต้น และปัจจัยแห่งความบริสุทธิ์แห่งโวทานธรรมทั้งหลายมีกายสุจริตเป็นต้น ด้วยบททั้งสอง (นตฺถิ เหตุ นตฺถิ ปจฺจโย).
               สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ดำรงอยู่ในพลังของตนอันใด แล้วจึงบรรลุถึงความเป็นเทวดาบ้าง ความเป็นมารบ้าง ความเป็นพรหมบ้าง สาวกโพธิญาณบ้าง พระสัพพัญญุตญาณบ้าง อเหตุกวาทีบุคคลปฏิเสธพลังนั้น ด้วยบทว่า นตฺถิ พลํ.
               บทอื่นทั้งหมดมีอาทิคือ นตฺถิ วิริยํ เป็นไวพจน์ของกันและกันทั้งนั้น แต่บทเหล่านี้ที่จัดแยกกันไว้ต่างหาก ก็โดยจะปฏิเสธคำพูดที่เป็นไปอย่างนี้ว่า ผลนี้พึงบรรลุได้ด้วยความเพียรนั้น ผลนี้พึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ผลนี้พึงบรรลุด้วยความบากบั่นของบุรุษ.
               อเหตุกวาทีบุคคลหมายถึงสัตว์ทั้งหลายไม่มีเหลือหลอ มีอูฐ โคและฬาเป็นต้น ด้วยบทว่า สพฺเพ สตฺตา.
               อเหตุกวาทีบุคคลกล่าวว่า สพฺเพ ปาณา ด้วยอำนาจจุดมุ่งหมายมีอาทิคือ สัตว์มีอินทรีย์อย่างเดียวกัน.
               อเหตุกวาทีบุคคลกล่าวว่า สพฺเพ ภูตา หมายเอาสัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วในกระเปาะฟองไข่และมดลูก.
               อเหตุกวาทีบุคคลกล่าวว่า สพฺเพ ชีวา หมายเอาพืชทั้งหลายมีข้าวสาลี ข้าวเหนียวและข้าวละมานเป็นต้น
               อธิบายว่า ในสิ่งที่มีชีวิตเหล่านั้น พืชเหล่านั้นที่สำคัญกันว่าเป็นชีวะ เพราะความที่มันงอกขึ้นได้.
               บทว่า อวสา อพลา อวิริยา ความว่า สิ่งที่มีชีวิตเหล่านั้นไม่มีอำนาจ พลังหรือวิริยะของตนเอง.
               ในบทว่า นิยติสงฺคติภาวปริณตา นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า นิยติ ได้แก่ ความเป็นผู้มีโชคดีและโชคร้าย.
               บทว่า สงฺคติ ได้แก่ การไปในอภิชาติ (กำเนิด) นั้นๆ บรรดาอภิชาติ ๖ อย่าง.
               บทว่า ภาโว ได้แก่ สภาวะนั่นเอง.
               สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายแปรปรวนไป คือถึงภาวะนานาประการตามสภาพแห่งความมีโชคดี และโชคร้าย และสภาพแห่งการไป (ในอภิชาติต่างๆ). แท้จริง อเหตุกวาทีบุคคลแสดงว่า ผู้ใดจะต้องเป็นไปอย่างใด ผู้นั้นก็จะต้องเป็นไปอย่างนั้นทีเดียว (แต่) ผู้ใดจะไม่เป็นไปอย่างใด ผู้นั้นก็จะไม่เป็นอย่างนั้นแน่นอน.
               ด้วยบทว่า ฉเสฺววาภิชาตีสุ อเหตุกวาทีบุคคลแสดงว่า สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายดำรงชีวิต เสวยสุขและทุกข์อยู่ในอภิชาติ ๖ เท่านั้น ไม่มีภูมิสำหรับเสวยสุขและทุกข์แห่งอื่น.

               จบอรรถกถาเหตุสูตรที่ ๗               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ทิฏฐิสังยุต โสตาปัตติวรรคที่ ๑ เหตุสูตรที่ ๗ ว่าด้วยอเหตุกทิฏฐิ จบ.
อ่านอรรถกถา 17 / 1อ่านอรรถกถา 17 / 427อรรถกถา เล่มที่ 17 ข้อ 429อ่านอรรถกถา 17 / 431อ่านอรรถกถา 17 / 594
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=17&A=5096&Z=5142
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=8193
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=8193
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๓๐  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :