ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 18 / 1อ่านอรรถกถา 18 / 169อรรถกถา เล่มที่ 18 ข้อ 173อ่านอรรถกถา 18 / 177อ่านอรรถกถา 18 / 803
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สฬายตนสังยุตต์ โลกกามคุณวรรคที่ ๒
๔. โลกกามคุณสูตรที่ ๒

               อรรถกถาทุติยโลกกามคุณสูตรที่ ๔               
               ในทุติยโลกกามคุณสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า เย เม ได้แก่ เย มม.
               บทว่า เจตโส สมฺผุฏฺฐปุพฺพา ได้แก่ กามคุณ ๕ อันจิตเคยเสวยแล้ว.
               ด้วยคำว่า ตตฺร เม จิตฺตํ พหุลํ คจฺฉมานํ คจฺเฉยฺย นี้ ท่านแสดงว่า จิตเมื่อเกิด ย่อมเกิดมากวาระในกามคุณ ๕ ที่เคยเสวยแล้วด้วยอำนาจสมบัติต่างด้วยปราสาท ๓ ชั้นและนางรำเป็นต้นเหล่านั้น.
               บทว่า ปจฺจุปฺปนฺเน วา ความว่า พระองค์ เมื่อจะทรงแสดงอารมณ์น่ารักรื่นรมย์แห่งใจ ต่างด้วยรูปที่เคยเห็นและเสียงที่เคยได้ฟังเป็นต้น ด้วยอำนาจไพรสณฑ์ที่มีดอกไม้บานสะพรั่ง สระที่เกิดโดยธรรมชาติและหมู่มฤคเป็นต้นให้เป็นสิ่งที่น่าใคร่ (กามคุณ) ในเวลาทรงบำเพ็ญเพียรตลอด ๖ พรรษานี้ จึงทรงแสดงว่า หรือในปัจจุบันเห็นปานนี้ จิตพึงเกิดขึ้นเป็นส่วนมาก.
               ด้วยบทว่า อปฺปํ วา อนาคเตสุ นี้ ทรงแสดงว่า จิตที่เป็นส่วนน้อยเท่านั้น พึงเกิดขึ้นในกามคุณ ด้วยสามารถแห่งคำเป็นต้นว่า ในอนาคตจักมีพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าเมตตรัย พระราชาทรงพระนามว่าสังขะ ราชธานีนามว่าเกตุมดี.
               บทว่า ตตฺร เม อตฺตรูเปน ความว่า ในที่นั้น เราผู้หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน (พึงทำ).
               บทว่า อปฺปมาโท ได้แก่ กระทำให้สติเป็นไปติดต่อ คือไม่ปล่อยจิตไปในกามคุณ ๕.
               บทว่า สติ ได้แก่ สติคอยกำหนดจับอารมณ์.
               บทว่า อารกฺโข ความว่า ความไม่ประมาทและสตินี้ เป็นเครื่องกระทำอารักขาจิต ท่านแสดงไว้ว่า ความคิดอย่างนั้นได้มีแก่เราแล้ว. ท่านอธิบายไว้ว่า ควรกระทำธรรม ๒ (คืออัปปมาทและสติ) อย่างเหล่านี้ เพื่อประโยชน์แก่อารักขา.
               บทว่า ตสฺมา ติห ภิกฺขเว เส อายตเน เวทิตพฺเพ เพราะเหตุที่ควรกระทำความไม่ประมาทและสติ เพื่อประโยชน์แก่อารักขา เพราะเหตุที่เมื่อรู้แจ้งอายตนะนั้นแล้ว ไม่จำต้องทำด้วยความไม่ประมาทหรือสติ ฉะนั้นแล จึงควรทราบอายตนะนั้น. อธิบายว่า จำต้องรู้เหตุนั้น.
               บทว่า สฬายตนนิโรธํ ความว่า การดับสฬายตนะเรียกว่านิพพาน. อธิบายว่า ท่านกล่าวหมายเอาพระนิพพานนั้น. จริงอยู่ จักขวายตนะเป็นต้น และรูปสัญญาเป็นต้น ย่อมดับในเพราะพระนิพพานนั้น.
               คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

               จบอรรถกถาทุติยโลกกามคุณสูตรที่ ๔               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สฬายตนสังยุตต์ โลกกามคุณวรรคที่ ๒ ๔. โลกกามคุณสูตรที่ ๒ จบ.
อ่านอรรถกถา 18 / 1อ่านอรรถกถา 18 / 169อรรถกถา เล่มที่ 18 ข้อ 173อ่านอรรถกถา 18 / 177อ่านอรรถกถา 18 / 803
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=2503&Z=2598
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=870
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=870
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๔  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :