ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 18 / 1อ่านอรรถกถา 18 / 284อรรถกถา เล่มที่ 18 ข้อ 285อ่านอรรถกถา 18 / 287อ่านอรรถกถา 18 / 803
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สฬายตนสังยุตต์ สมุททวรรคที่ ๓
๑. สมุทรสูตรที่ ๑

               สมุททวรรคที่ ๓               
               อรรถกถาปฐมสมุททสูตรที่ ๑               
               ในสมุททวรรค ปฐมสมุททสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า จกฺขุํ ภิกฺขเว ปุริสสฺส สมุทฺโท ความว่า อารมณ์ชื่อว่าสมุทร เพราะอรรถว่าเต็มได้โดยยากก็ได้ หรือเพราะอรรถว่าตั้งขึ้นก็ได้ จักษุนั่นแหละเป็นสมุทร.
               จริงอยู่ อารมณ์มีสีเขียวเป็นต้นของจักษุนั้นร่วมกันเข้าตั้งแต่พื้นปฐพี จนจดชั้นอกนิฏฐพรหมโลก ไม่สามารถจะทำให้เต็มที่ได้ อารมณ์ชื่อว่าสมุทร เพราะอรรถว่าเต็มได้ยากก็มีด้วยประการฉะนี้
               ส่วนจักษุชื่อว่าเป็นสมุทรในเพราะอารมณ์ทั้งหลาย มีสีเขียวเป็นต้นนั้นๆ อันภิกษุไม่สำรวมแล้ว ย่อมถึงความกล้าแข็งด้วยการดำเนินไปที่มีโทษเพราะเป็นเหตุเกิดกิเลส เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าสมุทร เพราะอรรถว่าตั้งขึ้นก็มี.
               บทว่า ตสฺส รูปมโย เวโค ความว่า กำลังเร็วแห่งสมุทรคือจักษุแม้นั้น สำเร็จมาแต่รูป หาประมาณมิได้ ด้วยอำนาจอารมณ์ต่างด้วยอารมณ์มีสีเขียวเป็นต้น ที่มารวมกัน พึงทราบเหมือนกำลังเร็วอันสำเร็จมาแต่คลื่นของสมุทรอันหาประมาณมิได้.
               บทว่า โย ตํ รูปมยํ เวคํ สหติ ความว่า ผู้ใดไม่ทำกิเลสมีราคะเป็นต้นให้เกิดขึ้นอย่างนี้ คือราคะในอารมณ์ที่น่าพอใจ โทสะในอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ โมหะในอารมณ์ที่เป็นกลางๆ อดทนกำลังเร็วที่สำเร็จมาแต่รูป ซึ่งรวมลงในสมุทรนั้น โดยเป็นผู้วางเฉยเสีย.
               ในบทว่า สอุมฺมิ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               ชื่อว่า สอุมฺมิ เพราะคลื่นคือกิเลส. ชื่อว่าสาวัฏฏะ เพราะวังวนคือกิเลส ชื่อว่าสุคาหะ เพราะสัตว์ร้ายผู้จับคือกิเลส ชื่อว่าสรักขสะ เพราะผีร้ายคือกิเลส.
               อนึ่ง ชื่อว่า สอุมฺมิ มีคลื่นก็โดยอำนาจความโกรธและความคับแค้น.
               สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า อุมฺมิภยนฺติ โข ภิกฺขเว โกธุปายาสสฺเสตํ อธิวจนํ ภิกษุทั้งหลาย คำว่า อุมฺมิภยํ ภัยคือคลื่นนี้แล เป็นชื่อแห่งความโกรธและความคับแค้น.
               ชื่อว่า สาวัฏฏะวังวนด้วยอำนาจกามคุณ
               สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า อาวฏฺฏํ วา โหติ โข ภิกฺขเว ปญฺจนฺเนตํ กามคุณานํ อธิวจนํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า อาวฏฺฏํ นี้เป็นชื่อกามคุณ ๕.
               ชื่อว่าสคาหะ ชื่อว่าสรักขสะ ด้วยอำนาจแห่งมาตุคาม.
               สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย คำว่า สรกฺขโส นี้แลเป็นชื่อมาตุคาม.
               แม้ในทวารที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน.
               บทว่า สภยํ ทุตฺตรํ อจฺจตริ ความว่า ข้ามสมุทรที่มีภัย ด้วยภัยคือคลื่น ก้าวล่วงได้ยาก.
               บทว่า โลกนฺตคู ได้แก่ ถึงที่สุดแห่งสังขารโลก.
               บทว่า ปารคโตติ วุจฺจติ ความว่า ท่านเรียกว่า ถึงพระนิพพาน.

               จบอรรถกถาปฐมสมุททสูตรที่ ๑               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สฬายตนสังยุตต์ สมุททวรรคที่ ๓ ๑. สมุทรสูตรที่ ๑ จบ.
อ่านอรรถกถา 18 / 1อ่านอรรถกถา 18 / 284อรรถกถา เล่มที่ 18 ข้อ 285อ่านอรรถกถา 18 / 287อ่านอรรถกถา 18 / 803
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=4381&Z=4398
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=1233
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=1233
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๔  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :