ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 18 / 1อ่านอรรถกถา 18 / 603อรรถกถา เล่มที่ 18 ข้อ 608อ่านอรรถกถา 18 / 620อ่านอรรถกถา 18 / 803
อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค คามณิสังยุตต์
๘. อสังขาสูตร

               อรรถกถาอสังขาสูตรที่ ๘               
               ในอสังขาสูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               ด้วยบทว่า ยํ พหุลํ ยํ พหุลํ นี้ นิครณฐ์ย่อมทำลายวาทะของตนด้วยตนเอง ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระพุทธดำรัสว่า เอวํ สนฺเต น โกจิ อาปายิโก ดังนี้เป็นต้น.
               ก็บทก่อนๆ ๔ บท ย่อมเป็นปัจจัยแก่ทิฏฐิ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงชี้โทษในบทเหล่านั้น จึงตรัสพระพุทธดำรัสว่า อิธ คามณิ เอกจฺโจ สตฺถา เอวํวาที โหติ ดังนี้เป็นต้น.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหํปมฺหิ ตัดบทเป็น อหํปิ อมฺหิ แปลว่า แม้เรา.
               คำที่ควรจะกล่าว ในบทว่า เมตฺตาสหคเตน เป็นต้นนั้นทั้งหมด ได้กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค พร้อมด้วยภาวนานัย.
               แต่บทว่า เสยฺยถาปิ คามณิ พลวา สงฺขธมฺโม เป็นต้น ในที่นี้ยังไม่มีมาก่อน. ในบทนั้น ความว่า คนเป่าสังข์สมบูรณ์ด้วยกำลัง.
               บทว่า อปฺปกสิเรน แปลว่า โดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก.
               จริงอยู่ คนเป่าสังข์ที่มีกำลังน้อย เมื่อเป่าสังข์ย่อมไม่อาจให้คนรู้แจ้งทั้ง ๔ ทิศได้ด้วยเสียง เสียงสังข์ของเขาไม่กระจายไปทั่วทิศ แต่เสียงสังข์ของผู้มีกำลัง ย่อมมีประการตรงกันข้าม (ดังไปทั่วทิศ) ฉะนั้น จึงตรัสว่า พลวา.
               ในบทว่า เมตฺตาย เจโตวิมุตฺติยา นี้ เมื่อกล่าวว่าเมตตา ก็หมายถึงทั้งที่เป็นอุปจาร ทั้งที่เป็นอัปปนา แต่เมื่อกล่าวว่า เจโตวิมุตติ ก็หมายถึงที่เป็นอัปปนาเท่านั้น.
               บทว่า ยํ ปมาณกตํ กมฺมํ ความว่า กรรมที่ทำพอประมาณ เรียกว่ากามาวจร กรรมที่ทำหาประมาณมิได้ เรียกว่ารูปาวจร กรรมที่เป็นรูปาวจรนั้น เรียกว่าทำหาประมาณมิได้ เพราะทำขยายเกินประมาณ แผ่ไปทุกทิศทั้งเจาะจงและไม่เจาะจง.
               บทว่า น ตํ ตตฺราวสิสฺสติ น ตํ ตตฺราวติฏฺฐติ ความว่า กรรมที่เป็นกามาวจร ไม่เหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ ในกรรมที่เป็นรูปาวจรนั้น.
               อธิบายอย่างไร.
               อธิบายว่า กรรมที่เป็นกามาวจรนั้น ไม่อาจที่จะติดหรือตั้งอยู่ในระหว่างแห่งกรรมที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจรนั้น ไม่อาจที่จะแผ่ไปถึงกรรมที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร แล้วยึดถือเป็นโอกาสของตนตั้งอยู่. ที่แท้ กรรมที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจรนั่นเอง ย่อมแผ่ทับกรรมที่เป็นกามาวจรเข้าตั้งแทนที่ เหมือนห้วงน้ำใหญ่แผ่น้ำไปทีละน้อยเข้าตั้งแทนที่ ห้ามวิบากของกรรมที่เป็นกามาวจรนั้น แล้วนำเข้าถึงความเป็นสหายกับพรหมในสมัยนั่นแล.
               พระสูตรนี้ดำเนินไปตามอนุสนธิทีเดียว เพราะตอนต้นเริ่มด้วยอำนาจกิเลส ตอนท้ายถือเอาด้วยอำนาจพรหมวิหาร.

               จบอรรถกถาอสังขาสูตรที่ ๘               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค คามณิสังยุตต์ ๘. อสังขาสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 18 / 1อ่านอรรถกถา 18 / 603อรรถกถา เล่มที่ 18 ข้อ 608อ่านอรรถกถา 18 / 620อ่านอรรถกถา 18 / 803
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=8038&Z=8172
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3646
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3646
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๔  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :