ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 19 / 1อ่านอรรถกถา 19 / 1027อรรถกถา เล่มที่ 19 ข้อ 1031อ่านอรรถกถา 19 / 1038อ่านอรรถกถา 19 / 1786
อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค อินทริยสังยุตต์ สูกรขาตวรรคที่ ๖
๓. เสขสูตร

               อรรถกถาเสขสูตรที่ ๓               
               เสขสูตรที่ ๓. คำว่า น เหวโข กาเยน ผุสิตฺวา วิหรติ ได้แก่ ย่อมไม่ถูกต้อง คือได้เฉพาะด้วยนามกายแล้วแลอยู่. อธิบายว่า ย่อมไม่อาจถูกต้องคือได้เฉพาะ.
               คำว่า แต่เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา คือ ก็แลย่อมรู้ชัดด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาว่า ชื่อว่าอินทรีย์ คืออรหัตผลเบื้องบนยังมีอยู่ในภูมิของอเสขะ.
               คำว่า ถูกต้องแล้วอยู่ คือ ได้เฉพาะแล้วแลอยู่.
               คำว่า ด้วยปัญญา คือ ย่อมรู้ชัดด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาว่า ชื่อว่าอินทรีย์คืออรหัตผลยังมีอยู่.
               แม้คำทั้งสองว่า น กุหิญฺจิ กิสฺมิญฺจิ ก็เป็นคำที่ใช้แทนกันและกัน. อธิบายว่า จะไม่เกิดขึ้นในภพไรๆ.
               ในสูตรนี้ อินทรีย์ทั้งห้าเป็นโลกุตระ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอินทรีย์ ๖ ที่เป็นโลกิยะอาศัยวัฏฏะเท่านั้น.

               จบอรรถกถาเสขสูตรที่ ๓               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค อินทริยสังยุตต์ สูกรขาตวรรคที่ ๖ ๓. เสขสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 19 / 1อ่านอรรถกถา 19 / 1027อรรถกถา เล่มที่ 19 ข้อ 1031อ่านอรรถกถา 19 / 1038อ่านอรรถกถา 19 / 1786
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=5984&Z=6020
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=7093
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=7093
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๕  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :