ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 19 / 1อ่านอรรถกถา 19 / 1766อรรถกถา เล่มที่ 19 ข้อ 1776อ่านอรรถกถา 19 / 1786อ่านอรรถกถา 19 / 1786
อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค สัจจสังยุตต์ อามกธัญญเปยยาล
ตติยวรรคที่ ๙

               อามกธัญญเปยยาลวรรควรรณนา               
               พึงทราบอธิบายในอามกธัญญเปยยาล ตติยวรรคที่ ๙.
               การเห็นสิ่งที่ชื่อว่าเป็นข้าศึก คือเป็นศัตรู เพราะไม่อนุโลมตามคำสอน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเห็นสิ่งที่เป็นข้าศึก การฟ้อน การขับ การประโคมด้วยอำนาจการฟ้อนและการให้ผู้อื่นฟ้อนเป็นต้น และการดูซึ่งการฟ้อนเป็นต้นที่เป็นไปแล้ว แม้โดยที่สุดด้วยอำนาจการฟ้อนของนกยูงเป็นต้นอันเป็นข้าศึก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าการดูฟ้อนรำ ขับร้องและประโคมดนตรีที่เป็นข้าศึก. ก็การประกอบการฟ้อนเป็นต้นด้วยตนก็ดี การให้ผู้อื่นประกอบการฟ้อนเป็นต้นก็ดี การดูการฟ้อนที่เขาประกอบแล้วก็ดี ย่อมไม่ควรแก่ทั้งภิกษุ และภิกษุณี.
               ที่นอนที่เลยกำหนด ท่านเรียกว่าที่นอนสูง. เครื่องลาดที่ไม่สมควร ชื่อว่าที่นอนใหญ่. อธิบายว่า ผู้งดเว้นจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่.
               คำว่า ชาตรูป คือ ทอง. คำว่า เงิน ได้แก่ กหาปณะ. คนเหล่าใดถึงการกล่าวหา มาสกโลหะ มาสกยาง. คนเหล่านั้นเป็นผู้งัดเว้นจากการรับทองและเงินแม้ทั้งสองนั้น ย่อมไม่ถือเอาทองและเงินนั้น ไม่ให้คนอื่นถือเอา. อธิบายว่า ย่อมไม่ถือทองและเงินที่เก็บไว้แล้ว.
               คำว่า จากการรับธัญญชาติดิบ ความว่า จากการรับธัญญชาติดิบแม้ ๗ ชนิด คือ ข้าวสาลี ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ข้าวฟ่าง ลูกเดือยและหญ้ากับแก้. ก็การรับธัญญชาติดิบเหล่านั้น ไม่ควรอย่างเดียวเท่านั้นหามิได้ แม้การถูกต้องก็ไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหลายนั่นแหละ.
               ในคำว่า จากการรับเนื้อดิบ ความว่า เว้นจากการรับเนื้อที่ทรงอนุญาตไว้โดยเจาะจง การรับเนื้อและปลาดิบก็ไม่ควรแก่ภิกษุทั้งนั้น ถึงการถูกต้องก็ไม่ควร.
               ในคำว่า จากการรับสตรีและกุมารี นั้น หญิงที่ไปในระหว่างชาย ชื่อว่าสตรี. หญิงนอกนี้ ชื่อว่ากุมารี. การรับสตรีและกุมารีเหล่านั้นก็ดี การถูกต้องก็ดี ไม่ควรทั้งนั้น.
               ในคำว่า จากการรับทาสีและทาส นี้ การรับหญิงและชายเหล่านั้นด้วยความเป็นทาสีและทาสก็ไม่ควรทั้งนั้น. ก็เมื่อเขากล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายกัปปิยการก ข้าพเจ้าถวายคนวัด การรับนั้นย่อมควร.

               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค สัจจสังยุตต์ อามกธัญญเปยยาล ตติยวรรคที่ ๙ จบ.
อ่านอรรถกถา 19 / 1อ่านอรรถกถา 19 / 1766อรรถกถา เล่มที่ 19 ข้อ 1776อ่านอรรถกถา 19 / 1786อ่านอรรถกถา 19 / 1786
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=11043&Z=11104
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=8448
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=8448
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๑  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :