ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 2 / 1อ่านอรรถกถา 2 / 354อรรถกถา เล่มที่ 2 ข้อ 358อ่านอรรถกถา 2 / 368อ่านอรรถกถา 2 / 881
อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์
ปาจิตติย์ ภูตคามวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๒

               เสนาสนวรรค อัญญวาทสิกขาบทที่ ๒               
               พึงทราบวินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

               [แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องพระฉันนะ]               
               สองบทว่า อนาจารํ อาจริตฺวา คือ กระทำสิ่งที่ไม่ควรทำ.
               มีคำอธิบายว่า ต้องอาบัติในทางกายทวารและวจีทวาร.
               สองบทว่า อญฺเญนญฺญํ ปฏิจรติ ได้แก่ ย่อมกลบเกลื่อน คือปกปิด ทับถมคำอื่นด้วยคำอื่น.
               บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงวิธีกลบเกลื่อนนั้น จึงตรัสคำว่า โก อาปนฺโน เป็นต้น. ในคำนั้น มีพจนสัมพันธ์ดังต่อไปนี้ :-
               ได้ยินว่า พระฉันนะนั้นถูกภิกษุทั้งหลาย เห็นการล่วงละเมิดบางอย่างแล้ว สอบถามด้วยอาบัติในท่ามกลางสงฆ์ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ! ท่านเป็นผู้ต้องอาบัติ ใช่ไหม? กล่าวว่า ใครต้อง ดังนี้.
               ลำดับนั้น เมื่อภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ท่าน จึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติอะไร? ทีนั้น เมื่อภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ปาจิตตีย์ หรือทุกกฏ เมื่อจะถามวัตถุ จึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าต้องในเพราะวัตถุอะไร? ลำดับนั้น เมื่อพวกภิกษุกล่าวว่า ในเพราะวัตถุชื่อโน้น จึงถามว่า ข้าพเจ้าต้องอย่างไร? และข้าพเจ้าทำอะไร จึงต้อง? ดังนี้.
               ครั้งนั้น เมื่อพวกภิกษุกล่าวว่า ทำการละเมิดชื่อนี้ จึงต้อง กล่าวว่า พวกท่านพูดกะใครกัน? ดังนี้. ทีนั้นเมื่อพวกภิกษุกล่าวว่า พวกเราพูดกะท่าน จึงกล่าวว่า พวกท่านพูดเรื่องอะไร?
               อีกอย่างหนึ่ง ในคำว่า โก อาปนฺโน นี้ มีวิธีกลบเกลื่อนคำอื่น ด้วยคำอื่น แม้นอกพระบาลี ดังต่อไปนี้ :-
               ภิกษุถูกพวกภิกษุกล่าวว่า พวกเราเห็นกหาปณะ (เหรียญกษาปณ์) ในถุงของท่าน, ท่านทำกรรมไม่สมควรอย่างนี้ เพื่ออะไร? แล้วกล่าวว่า ที่พวกท่านเห็นถูกแล้ว ขอรับ! แต่นั่นไม่ใช่กหาปณะ มันเป็นก้อนดีบุก ดังนี้ก็ดี, ถูกพวกภิกษุกล่าวว่า พวกเราเห็นท่านดื่มสุรา, ท่านทำกรรมไม่สมควรอย่างนี้ เพื่ออะไร? แล้วกล่าวว่า ที่พวกท่านเห็นถูกแล้ว ขอรับ! แต่นั่นไม่ใช่สุรา, เป็นยาดองชื่ออริฏฐะ เขาปรุงขึ้นเพื่อต้องการเป็นยา ดังนี้ก็ดี, ถูกพวกภิกษุกล่าวว่า พวกเราเห็นท่านนั่งในอาสนะกำบังกับมาตุคาม, ท่านทำกรรมไม่สมควรอย่างนี้ เพื่ออะไร? แล้วกล่าวว่า ท่านที่เห็นนับว่าเห็นถูกแล้ว, แต่ในที่นั่นมีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่เป็นเพื่อน, เพราะเหตุไรท่านจึงไม่เห็นเขา? ดังนี้ก็ดี, ถูกพวกภิกษุถามว่า ท่านเห็นการละเมิดเช่นนี้ บางอย่างไหม? ตะแคงหูเข้าไปพูดว่า ไม่ได้ยิน หรือจ้องตาเข้าไปหาพวกภิกษุ ผู้กระซิบถาม ในที่ใกล้หูก็ดี, บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมกลบเกลื่อนถ้อยคำ.
               พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อญฺญวาทเก วิเหสเก ปาจิตฺติยํ นี้ต่อไป :-
               คำใด๑- ย่อมกล่าวความอื่นจากที่ถาม เพราะฉะนั้น คำนั้นชื่อว่าอัญญวาทกะ. คำว่า อัญญวาทกะ นี้ เป็นชื่อแห่งความกลบเกลื่อนถ้อยคำ (การกลบเกลื่อนเหตุอื่นด้วยเหตุอื่น).
               ความเป็นผู้นิ่งใด ย่อมทำสงฆ์ให้ลำบาก เพราะฉะนั้น ความเป็นผู้นิ่งนั่น ชื่อว่าวิเหสกะ. คำว่า วิเหสกะ นี้เป็นชื่อแห่งความเป็นผู้นิ่ง. ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น ในเพราะความเป็นผู้ให้ลำบากนั้น.
               ด้วยบทว่า ปาจิตฺติยํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าปรับปาจิตตีย์ ๒ ตัวใน ๒ วัตถุ.
               สองบทว่า อญฺญวาทกํ โรเปตุ ความว่า สงฆ์จงยกอัญญวาทกรรมขึ้น คือจงให้ตั้งขึ้น. แม้ในคำว่า วิเหสกํ โรเปตุ นี้ก็นัยนี้เหมือนกัน.
               สองบทว่า อโรปิเต อญฺญวาทเก ได้แก่ ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่นที่สงฆ์ไม่ได้ยกขึ้นด้วยกรรมวาจา. แม้ในคำว่า อโรปิเต วิเหสเก นี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน.
               ในคำว่า ธมฺมกมฺเม ธมฺมกมฺมสญฺญี เป็นต้น พึงทราบใจความโดยนัยนี้ว่า อัญญวาทกวิเหสกโรปนกรรม นั้นใด อันสงฆ์กระทำแล้ว, ถ้ากรรมนั้นเป็นกรรมชอบธรรม, และภิกษุนั้นมีความสำคัญในกรรมนั้นว่า เป็นกรรมชอบธรรม ยังทำความเป็นผู้กล่าวคำอื่น และความเป็นผู้ให้ลำบาก เมื่อนั้น ภิกษุนั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น และในเพราะความเป็นผู้ให้ลำบากนั้น.
               สองบทว่า อชานนฺโต ปุจฺฉติ มีความว่า ภิกษุเมื่อไม่รู้ว่าตนต้องอาบัติเลยจึงถามว่า ท่านทั้งหลายพูดอะไร? ข้าพเจ้าไม่รู้เลย.
               สองบทว่า คิลาโน น กเถติ มีความว่า ภิกษุมีพยาธิที่ปาก เช่นพยาธิที่เป็นเหตุให้ไม่สามารถจะพูดได้.
               ในคำว่า สงฺฆสฺส ภณฺฑนํ วา เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้ว่า ภิกษุมีความสำคัญว่า เมื่อเรากล่าวในท่ามกลางสงฆ์ ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง หรือความวิวาทจักมีแก่สงฆ์ เพราะการพูดนั้นเป็นปัจจัย, ความวิวาทนั้นอย่าได้มีเลย จึงไม่พูด.
               บทที่เหลือตื้นทั้งนั้นแล.
               สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้น ทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยาก็มี เป็นอกิริยาก็มี. จริงอยู่ เมื่อภิกษุกลบเกลื่อนถ้อยคำ เป็นกิริยา เมื่อทำให้ลำบากเพราะความเป็นผู้นิ่ง เป็นอกิริยา เป็นสัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.
____________________________
๑- แปลตามโยชนา ๒/๒๔-๒๕

               อัญญวาทสิกขาบทที่ ๒ จบ.               
               ------------------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์ ปาจิตติย์ ภูตคามวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๒ จบ.
อ่านอรรถกถา 2 / 1อ่านอรรถกถา 2 / 354อรรถกถา เล่มที่ 2 ข้อ 358อ่านอรรถกถา 2 / 368อ่านอรรถกถา 2 / 881
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=2&A=8606&Z=8723
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=6897
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=6897
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๒  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๕๕
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :