ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 2 / 1อ่านอรรถกถา 2 / 579อรรถกถา เล่มที่ 2 ข้อ 586อ่านอรรถกถา 2 / 592อ่านอรรถกถา 2 / 881
อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์
ปาจิตติย์ สุราปานวรรคที่ ๖ สิกขาบทที่ ๓

               สุราปานวรรค หัสสธรรมสิกขาบทที่ ๓               
               ในสิกขาบทที่ ๓ มีวินิจฉัยดังนี้ :-

               [แก้อรรถว่าด้วยธรรม คือหัวเราะในน้ำ]               
               บทว่า อปฺปกตฺญุโน มีความว่า ภิกษุเหล่านั้นจะยังไม่รู้ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแต่งตั้งไว้ คือทรงบัญญัติไว้แล้ว. การเล่นน้ำ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ธรรม คือการหัวเราะในน้ำ.
               บทว่า อุปริโคปฺผเก คือ ในน้ำลึกขนาดท่วมส่วนเบื้องบนของข้อเท้าทั้ง ๒.
               บทว่า หสฺสาธิปฺปาโย แปลว่า มีความประสงค์จะเล่น.
               ในคำว่า นิมุชฺชติ วา เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า
               เมื่อหยั่งลงเพื่อต้องการจะดำลง เป็นทุกกฏ ทุกๆ ย่างเท้า, ในการดำลงและผุดขึ้นเป็นปาจิตตีย์ ทุกๆ ประโยค. ภิกษุดำลงว่ายไปภายในน้ำนั่นเอง เป็นปาจิตตีย์ ทุกๆ ครั้งที่ขยับมือขยับเท้าในที่ทั้งปวง.
               บทว่า ปลวติ แปลว่า ว่ายข้ามไป. เมื่อใช้มือทั้ง ๒ ว่ายข้ามไป เป็นปาจิตตีย์ ทุกๆ ครั้งที่ขยับมือ. แม้ในเท้าทั้ง ๒ ก็นัยนี้นั่นแล ภิกษุว่ายข้ามไปด้วยอวัยวะใดๆ เป็นปาจิตตีย์ ทุกๆ ประโยคแห่งอวัยวะนั้นๆ. ภิกษุกระโดดลงในน้ำ จากฝั่งก็ดี จากต้นไม้ก็ดี เป็นปาจิตตีย์เหมือนกัน.
               สองบทว่า นาวาย กีฬติ มีความว่า ภิกษุแล่นเรือด้วยพายและถ่อเป็นต้น หรือเข็นเรือขึ้นบนตลิ่ง ชื่อว่าเล่นเรือ เป็นทุกกฏ.
               แม้ในบทว่า หตฺเถน วา เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นทุกกฏทุกๆ ประโยค. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เมื่อภิกษุเอามือปากระเบื้องไปบนน้ำ เป็นทุกกฏ ทุกๆ ครั้งที่กระเบื้องตกลงและแฉลบขึ้น. คำนั้นไม่ควรถือเอา แท้จริง ในเพราะกระเบื้องที่ปาลงไปในน้ำนั้น เป็นทุกกฏตัวเดียวเท่านั้น เพราะมีประโยคเดียว.
               อีกนัยหนึ่ง ภิกษุข้ามน้ำ หรือมิได้ข้าม เล่นน้ำที่ขังอยู่ในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งอื่น เว้นการดำผุดเป็นต้นที่กล่าวแล้ว ในน้ำพ้นข้อเท้าขึ้นไป ชั้นที่สุด แม้เล่นวักหยาดน้ำสาดก็เป็นทุกกฏเหมือนกัน. แต่จะเขียนอักษรขยายความ ควรอยู่.
               ในสิกขาบทนี้ มีวินิจฉัยเท่านี้.
               บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.
               สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานเหมือนปฐมปาราชิก เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

               หัสสธรรมสิกขาบทที่ ๓ จบ.               
               ------------------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ปาจิตติยกัณฑ์ ปาจิตติย์ สุราปานวรรคที่ ๖ สิกขาบทที่ ๓ จบ.
อ่านอรรถกถา 2 / 1อ่านอรรถกถา 2 / 579อรรถกถา เล่มที่ 2 ข้อ 586อ่านอรรถกถา 2 / 592อ่านอรรถกถา 2 / 881
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=2&A=12045&Z=12095
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=9543
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=9543
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๘  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๕๕
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :