ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 2 / 1อ่านอรรถกถา 2 / 780อรรถกถา เล่มที่ 2 ข้อ 781อ่านอรรถกถา 2 / 784อ่านอรรถกถา 2 / 881
อรรถกถา ปาฏิเทสนียกัณฑ์
ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๑

               ปาฏิเทสนียกัณฑวรรณนา               
                         ปาฏิเทสนียธรรมเหล่าใดที่พระธรรมสังคาหกาจารย์
                         ทั้งหลาย ตั้งไว้ในลำดับพวกขุททกสิกขาบท บัดนี้
                         จะมีการวรรณนาปาฏิเทสนียธรรมเหล่านั้นดังต่อไปนี้.


               พึงทราบวินิจฉัยในปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๑ ก่อน :-

               [ว่าด้วยการรับของเคี้ยวของฉันจากมือภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ]               
               บทว่า ปฏิกฺกมนกาเล คือ ในเวลาเป็นที่เที่ยวบิณฑบาตแล้วกลับมา.
               สองบทว่า สพฺเพว อคฺคเหสิ คือ ได้รับเอาภิกษาไปทั้งหมด.
               บทว่า ปเวเธนฺตี แปลว่า เดินซวนเซอยู่.
               บทว่า อเปหิ แปลว่า จงถอยไป. อธิบายว่า ท่านยังไม่ให้โอกาส.
               คำว่า คารยฺหํ อาวุโส เป็นต้น เป็นคำแสดงอาการที่ภิกษุพึงแสดงคืน.
               บทว่า รถิกา แปลว่า ถนน.
               บทว่า พฺยูหํ ได้แก่ ตรอกตันไม่ทะลุถึงกัน ไปถึงแล้วต้องย้อนกลับมา.
               บทว่า สิงฺฆาฏกํ ได้แก่ ที่ชุมทาง ๔ แยก หรือ ๓ แยก.
               บทว่า ฆรํ ได้แก่ เรือนแห่งสกุล.
               บรรดาสถานที่มีถนนเป็นต้นเหล่านี้ ภิกษุยืนรับในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง เป็นทุกกฏ เพราะรับ. เป็นปาฏิเทสนียะ โดยการนับคำกลืน. แม้สำหรับภิกษุผู้รับในสถานที่มีโรงช้างเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน ภิกษุณียืนถวายที่ถนน, ภิกษุยืนรับในละแวกวัดเป็นต้น เป็นอาบัติเหมือนกัน.
               ก็บัณฑิตพึงทราบอาบัติในปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๑ นี้ ด้วยอำนาจแห่งนางภิกษุณีผู้ยืนถวายในละแวกบ้าน โดยพระบาลีว่า อนฺตรฆรํ ปวิฏฺฐาย ดังนี้. ก็ที่ซึ่งภิกษุยืนอยู่ไม่เป็นประมาณ. เพราะเหตุนั้น ถ้าแม้นว่า ภิกษุยืนในถนนเป็นต้น รับจากนางภิกษุณีผู้ถวายในละแวกวัดเป็นต้น ไม่เป็นอาบัติแล.
               คำว่า ภิกษุรับประเคนยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวก เพื่อประโยชน์เป็นอาหาร ต้องอาบัติทุกกฏ, ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ คำกลืน นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอากาลิกที่ไม่ได้ระคนกับอามิส. แต่ในกาลิกที่ระคนกัน มีรสเป็นอันเดียวกัน เป็นปาฏิเทสนียะเหมือนกัน.
               สองบทว่า เอกโต อุปสมฺปนฺนาย ได้แก่ ภิกษุณีผู้อุปสมบทในสำนักแห่งภิกษุณีทั้งหลาย. แต่ภิกษุผู้รับจากมือแห่งภิกษุณีผู้อุปสมบทในสำนักแห่งภิกษุทั้งหลาย เป็นปาฏิเทสนียะตามสมควรแก่วัตถุทีเดียว.
               สองบทว่า ทาเปติ น เทติ มีความว่า ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติใช้ผู้อื่นบางคนให้ถวาย, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้รับขาทนียโภชนียะนั้น.
               สองบทว่า อุปกฺขิปิตฺวา เทติ มีความว่า ภิกษุณีวางบนพื้นแล้วถวายว่า พระคุณเจ้า! ดิฉันถวายขาทนียโภชนียะนี้แก่ท่าน. ภิกษุรับของที่ภิกษุณีถวายอย่างนี้ พร้อมกับกล่าวว่า ขอบใจนะน้องหญิง แล้วให้ภิกษุณีนั้นนั่นเอง หรือใช้ผู้อื่นบางคนรับประเคนแล้วฉัน ควรอยู่.
               อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ก็ถ้าว่า ภิกษุณีถือเอาอามิสในบาตรที่อยู่ในมือ ถวายว่า ดิฉันสละถวายท่าน ภิกษุรับประเคนอามิสที่ภิกษุณีถือไว้ด้วยกล่าวว่า น้องหญิง! เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้รับ.
               สองบทว่า สิกฺขมานาย สามเณริยา มีความว่า เมื่อสิกขมานาและสามเณรีเหล่านี้ถวาย ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้รับ.
               คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.
               สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

               ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๑ จบ.               
               ------------------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ปาฏิเทสนียกัณฑ์ ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๑ จบ.
อ่านอรรถกถา 2 / 1อ่านอรรถกถา 2 / 780อรรถกถา เล่มที่ 2 ข้อ 781อ่านอรรถกถา 2 / 784อ่านอรรถกถา 2 / 881
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=2&A=14785&Z=14864
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10284
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10284
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๕  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๕๕
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :