ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 322อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 332อ่านอรรถกถา 20 / 343อ่านอรรถกถา 20 / 596
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ทุติยปัณณาสก์
ธรรมวรรคที่ ๔

               ธรรมวรรคที่ ๔               
               อรรถกถาสูตรที่ ๑               
               วรรคที่ ๔ สูตรที่ ๑ (ข้อ ๓๓๒) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า เจโตวิมุตฺติ ได้แก่ ผลสมาธิ สมาธิที่สัมปยุตด้วยอรหัตผล.
               บทว่า ปญฺญาวิมุตฺติ ได้แก่ ผลปัญญา ปัญญาที่สัมปยุตด้วยอรหัตผล.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๑               

               อรรถกถาสูตรที่ ๒               
               ในสูตรที่ ๒ (ข้อ ๓๓๓) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า ปคฺคาโห ได้แก่ ความเพียร.
               บทว่า อวิกฺเขโป ได้แก่ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๒               

               อรรถกถาสูตรที่ ๓               
               ในสูตรที่ ๓ (ข้อ ๓๓๔) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า นามํ ได้แก่ อรูปขันธ์ ทั้ง ๔.
               บทว่า รูปํ ได้แก่ รูปขันธ์. ในสูตรนี้ ตรัสญาณเครื่องกำหนดธรรมโกฏฐาส.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๓               

               อรรถกถาสูตรที่ ๔               
               ในสูตรที่ ๔ (ข้อ ๓๓๕) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
               บทว่า วิชฺชา ได้แก่ ผลญาณ.
               บทว่า วิมุตฺติ ได้แก่ ธรรมที่เหลือที่สัมปยุตด้วยผลญาณนั้น.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๔               

               อรรถกถาสูตรที่ ๕               
               ในสูตรที่ ๕ (ข้อ ๓๓๖) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า ภวทิฏฺฐิ ได้แก่ สัสสตทิฏฐิ.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๕               

                อรรถกถาสูตรที่ ๖-๗               
               ในสูตรที่ ๖ (ข้อ ๓๓๗) และสูตรที่ ๗ (ข้อ ๓๓๘) มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๖-๗               

               อรรถกถาสูตรที่ ๘               
               ในสูตรที่ ๘ (ข้อ ๓๓๙) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า โทวจสฺสตา แปลว่า ความเป็นผู้ว่ายาก.
               บทว่า ปาปมิตฺตตา แปลว่า การซ่องเสพปาปมิตร.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๘               

               อรรถกถาสูตรที่ ๙               
               ในสูตรที่ ๙ (ข้อ ๓๔๐) พึงทราบโดยปริยายตรงข้ามกับที่กล่าวแล้ว.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๙               

               อรรถกถาสูตรที่ ๑๐               
               ในสูตรที่ ๑๐ (ข้อ ๓๔๑) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า ธาตุกุสลตา ได้แก่ รู้ธาตุ ๑๘ อย่าง ว่าเป็นธาตุ.
               บทว่า มนสิการกุสลตา ได้แก่ รู้ธาตุเหล่านั้นนั่นแล ยกขึ้นสู่ลักษณะ ๒ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐               

               อรรถกถาสูตรที่ ๑๑               
               ในสูตรที่ ๑๑ (ข้อ ๓๔๒) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า อาปตฺติกุสลตา ได้แก่ รู้อาบัติ ๕ กองและ ๗ กอง.
               บทว่า อาปตฺติวุฏฺฐานกุสลตา ได้แก่ รู้การออกจากอาบัติทั้งหลาย ด้วยการแสดงอาบัติก็ตาม ด้วยสวดกรรมวาจาก็ตาม.

               จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๑               
               จบธรรมวรรคที่ ๔               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ธรรมวรรคที่ ๔ จบ.
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 322อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 332อ่านอรรถกถา 20 / 343อ่านอรรถกถา 20 / 596
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=2164&Z=2190
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=1405
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=1405
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๖  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :