ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 466อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 467อ่านอรรถกถา 20 / 468อ่านอรรถกถา 20 / 596
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ ปุคคลวรรคที่ ๓
๘. คูถภาณีสูตร

               อรรถกถาคูถภาณีสูตรที่ ๘               
               พึงทราบวินิจฉัยในคูถภาณีสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-
               บุคคลใดกล่าวถ้อยคำส่งกลิ่นเหม็นเหมือนคูถ บุคคลนั้น ชื่อว่าคูถภาณี.
               บุคคลใดกล่าวถ้อยคำส่งกลิ่นหอมเหมือนดอกไม้ บุคคลนั้น ชื่อว่าปุปผภาณี.
               บุคคลใดกล่าวถ้อยคำอ่อนหวานเหมือนน้ำผึ้ง บุคคลนั้น ชื่อว่ามธุภาณี.
               บทว่า สภาคโต คือ อยู่ในสภา.
               บทว่า ปริสคโต คือ อยู่ในหมู่ชาวบ้าน.
               บทว่า ญาติมชฺฌคโต คือ อยู่ในท่ามกลางทายาททั้งหลาย.
               บทว่า ปูคมชฺฌคโต คือ อยู่ในท่ามกลางเสนาทั้งหลาย.
               บทว่า ราชกุลมชฺฌคโต คือ อยู่ในท่ามกลางราชตระกูล คือในท้องพระโรงสำหรับวินิจฉัยของหลวง.
               บทว่า อภินีโต คือ ถูกนำไปเพื่อต้องการจะซักถาม.
               บทว่า สกฺขิปุฏฺโฐ คือ ถูกเขาอ้างให้เป็นพยาน แล้วซัก.
               บทว่า เอวํ โภ ปุริส นี้เป็นอาลปนะ.
               บทว่า อตฺตเหตุ วา ปรเหตุ วา ได้แก่ เพราะเหตุแห่งอวัยวะมีมือและเท้าเป็นต้นของตนหรือของบุคคลอื่น.
               ลาภ ท่านประสงค์เอาว่าอามิส ในบทว่า อามิสกิญฺจิกฺขเหตุ วา นี้.
               บทว่า กิญฺจิกฺขํ ได้แก่ สิ่งของนิดๆ หน่อยๆ คือของเล็กน้อย. อธิบายว่า เหตุแห่งอามิส โดยที่สุดแม้เพียงนกกะทา นกคุ่ม ก้อนเนยใสและก้อนเนยข้นเป็นต้น.
               บทว่า สมฺปชานมุสา ภาสิตา โหติ ความว่า กล่าวมุสาวาททั้งที่รู้ๆ.
               โทษเรียกว่า เอละ ในบทว่า เนลา.
               วาจา ชื่อว่า เนลา เพราะหมายความว่าไม่มีโทษ. อธิบายว่าหมดโทษ. วาจาไม่มีโทษเหมือนศีลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในคาถานี้ว่า เนลงฺโค เสตปจฺฉาโท.
               วาจา ชื่อว่า กัณณสุขา ได้แก่วาจาที่สบายหู เพราะมีพยัญชนะไพเราะ. วาจานั้นไม่ให้เกิดการเสียดแทงหู เหมือนใช้เข็มแทงฉะนั้น.
               วาจา ชื่อว่า เปมนียา เพราะหมายความว่า ให้เกิดความรัก ไม่ให้เกิดความโกรธ ทั่วทั้งร่างกาย เพราะมีอรรถไพเราะฉะนั้น.
               วาจา ชื่อว่า หทยังคมา เพราะหมายความว่า ถึงใจคือไม่กระทบกระทั่ง เข้าไปสู่จิตโดยสะดวก.
               วาจา ชื่อว่า โปรี เพราะหมายความว่า มีในเมือง เพราะบริบูรณ์ด้วยคุณ.
               อนึ่ง วาจา ชื่อว่า โปรี เพราะหมายความว่า ละเอียดอ่อนดี เหมือนนารีที่เจริญเติบโตในเมืองฉะนั้น.
               อนึ่ง วาจา ชื่อว่า โปรี เพราะหมายความว่า เป็นวาจาของชาวเมือง. อธิบายว่า เป็นวาจาของคนที่อยู่ในเมือง.
               จริงอยู่ ชาวเมืองย่อมมีถ้อยคำเหมาะสม คือเรียกคนวัยปูนพ่อว่าคุณพ่อ เรียกคนวัยปูนพี่ชายหรือน้องชายว่าพี่ชายน้องชาย.
               ด้วยว่า ถ้อยคำชนิดนี้ ชื่อว่า พหุชนกันตา เพราะหมายความว่า เป็นวาจาที่ชนเป็นอันมากรักใคร่.
               วาจา ชื่อว่า พหุชนมนาปา เพราะหมายความว่า เป็นที่ชอบใจ คือทำความเจริญให้แก่ชนเป็นอันมาก เพราะเป็นวาจาที่ชนเป็นอันมากรักใคร่นั่นเอง.

               จบอรรถกถาคูถภาณีสูตรที่ ๘               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ ปุคคลวรรคที่ ๓ ๘. คูถภาณีสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 466อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 467อ่านอรรถกถา 20 / 468อ่านอรรถกถา 20 / 596
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=3349&Z=3372
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=2386
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=2386
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๖  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :