ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 504อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 505อ่านอรรถกถา 20 / 506อ่านอรรถกถา 20 / 596
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ มหาวรรคที่ ๒
๕. เกสปุตตสูตร [กาลามสูตร]

               อรรถกถากาลามสูตร๑-               
๑- บาลีเป็น เกสปุตตสูตร

               พึงทราบวินิจฉัยในกาลามสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า กาลามานํ นิคโม ได้แก่ นิคมของพวกกษัตริย์ ชื่อว่ากาลามะ.
               บทว่า เกสปุตฺติยา ได้แก่ ผู้อยู่ในนิคม ชื่อว่า เกสปุตตะ.
               บทว่า อุปสงฺกมึสุ ความว่า ให้ถือเอาเภสัชมีเนยใส เนยข้นเป็นต้น และน้ำปานะ ๘ อย่าง เข้าไปเฝ้า.
               บทว่า สกํเยว วาทํ ทีเปนฺติ ความว่า กล่าวลัทธิของตนนั่นแหละ.
               บทว่า โชเตนฺติ ได้แก่ ประกาศ.
               บทว่า ขุํเสนฺติ ได้แก่ พูดกระทบกระเทียบ.
               บทว่า วมฺเภนฺติ ได้แก่ พูดดูหมิ่น.
               บทว่า ปริภวนฺติ ได้แก่ กระทำให้ลามก.
               บทว่า โอปปกฺขี กโรนฺติ ได้แก่ ทำการลบล้าง คือยกทิ้งไป.
               บทว่า อปเรปิ ภนฺเต ความว่า เล่ากันมาว่า บ้านนั้นตั้งอยู่ที่ปากดง เพราะฉะนั้น สมณพราหมณ์ทั้งหลายข้ามดงมาก็ดี จะถอยกลับก็ดี ต้องพักอยู่ในบ้านนั้น. แม้บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น พวกที่มาถึงก่อนจะแสดงลัทธิของตนแล้วหลีกไป พวกที่มาภายหลังก็แสดงลัทธิของตนว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นจะรู้อะไร เขาเหล่านั้นเป็นอันเตาวาสิกของพวกเรา เล่าเรียนศิลปะบางอย่างในสำนักของเราดังนี้แล้ว ก็หลีกไป. ชาวกาลามะทั้งหลายไม่สามารถ เพื่อจะยืนหยัดอยู่แม้ในลัทธิเดียวได้.
               ชาวกาลามะเหล่านั้นแสดงความนี้แล้ว จึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ แล้วกล่าวคำเป็นต้นว่า เตสํ โน ภนฺเต ดังนี้.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โหเตว กงฺขา ความว่า (ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย) มีความเคลือบแคลงจริงๆ.
               บทว่า วิจิกิจฺฉา เป็นไวพจน์ของ กงฺขา นั่นแหละ.
               บทว่า อลํ แปลว่า ควรแล้ว.
               บทว่า มา อนุสฺสเวน ได้แก่ อย่าเชื่อถือ แม้โดยถ้อยคำตามที่ได้ฟังมา.
               บทว่า มา ปรมฺปราย ได้แก่ อย่าเชื่อถือ แม้โดยถ้อยคำที่นำสืบๆ กันมา.
               บทว่า มา อิติกิริยาย ได้แก่ อย่าเชื่อถือว่า ได้ยินว่าข้อนี้เป็นอย่างนี้.
               บทว่า มา ปิฏกสมฺปทาเนน ได้แก่ อย่าเชื่อถือ ข้อความนี้ สมกับตำราของเราบ้าง.
               บทว่า มา ตกฺกเหตุ ได้แก่ อย่าเชื่อถือ แม้โดยการถือเอาตามที่ตรึกไว้.
               บทว่า มา นยเหตุ ได้แก่ อย่าเชื่อถือ แม้โดยการถือเอาตามนัย.
               บทว่า มา อาการปริวิตกฺเกน ได้แก่ อย่าเชื่อถือ แม้โดยการตรึกตามเหตุการณ์อย่างนี้ว่า เหตุนี้ดี.
               บทว่า ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา ได้แก่ อย่าเชื่อถือว่า ข้อนี้สมกับความเห็นที่พวกเราพินิจพิจารณา ทนต่อการพิสูจน์ จึงถือเอา.
               บทว่า มา ภพฺพรูปตาย ได้แก่ อย่าเชื่อถือ โดยคิดว่า ภิกษุนี้เหมาะสม ควรเชื่อถือถ้อยคำของภิกษุนี้ได้.
               บทว่า มา สมโณ โน ครุ ได้แก่ อย่าเชื่อถือว่า พระสมณะรูปนี้เป็นครูของเรา ควรเชื่อถือถ้อยคำของพระสมณะรูปนี้ได้.
               บทว่า สมตฺตา ได้แก่ บริบูรณ์.
               บทว่า สมาทินฺนา ได้แก่ ที่เราถือเอาแล้ว คือลูบคลำแล้ว.
               บทว่า ยํ ตสฺส โหติ ความว่า เหตุใดมีแก่บุคคลนั้น.
               กุศลมูลทั้งหลายมีอโลภะเป็นต้น พึงทราบด้วยสามารถแห่งธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อโลภะเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบุพภาคแห่งเมตตาด้วยบทมีอาทิว่า วิคตาภิชฺโฌ ดังนี้.
               บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสกัมมัฏฐานมีเมตตาเป็นต้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า เมตฺตาสหคเตน ดังนี้.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทใดพึงกล่าวโดยนัยแห่งกัมมัฏฐานกถา และภาวนาปธาน หรือโดยอรรถกถาแห่งบาลี คำทั้งหมดนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นแล้ว
               บทว่า เอวํ อเวรจิตฺโต ความว่า ชื่อว่า มีจิตหาเวรมิได้เพราะไม่มี ทั้งเวรที่เป็นอกุศล ทั้งบุคคลผู้เป็นคู่เวร.
               บทว่า อพฺยาปชฺฌจิตฺโต ความว่า ชื่อว่า มีจิตหาทุกข์มิได้ เพราะไม่มีจิตโกรธเคือง.
               บทว่า อสงฺกิลิฏฺฐฐิตฺโต ความว่า ชื่อว่า ผู้มีจิตไม่เศร้าหมอง เพราะไม่มีกิเลส.
               บทว่า วิสุทฺธจิตฺโต มีอธิบายว่า ชื่อว่ามีจิตบริสุทธิ์ เพราะไม่มีมลทิน คือกิเลส.
               บทว่า ตสฺส ได้แก่ พระอริยสาวกนั้น คือเห็นปานนั้น.
               บทว่า อสฺสาสา ได้แก่ เป็นที่อาศัย คือเป็นที่พึ่ง.
               บทว่า สเจ โข ปน อตฺถิ ปโร โลโก ความว่า ถ้าชื่อว่าโลกอื่น นอกจากโลกนี้ มีอยู่ไซร้.
               บทว่า ฐานเมตํ เยนาหํ กายสฺส เภทา ฯเปฯ อฺปปชฺชิสฺสามิ ความว่า ข้อที่เราจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ หลังจากตายแล้ว เพราะกายแตกสลายไป เป็นเหตุที่มิได้ ฉะนั้น ในทุกๆ บท พึงทราบนัยดังที่พรรณนามานี้.
               บทว่า อนีฆํ แปลว่า ไม่มีทุกข์.
               บทว่า สุขึ แปลว่า ถึงแล้วซึ่งความสุข.
               บทว่า อุภเยเนว วิสุทธํ อตฺตานํ สมนุปสฺสามิ ความว่า เราจะพิจารณาเห็นตัวเองเป็นผู้บริสุทธิ์ ด้วยเหตุทั้งสองนี้ คือ (ถ้าบาปเป็นอันบุคคลต้องทำ) เราก็ไม่ได้ทำบาป ๑ แม้เมื่อบุคคลทำบาปมีอยู่ เราก็ไม่ได้ทำ ๑.
               คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

               จบอรรถกถากาลามสูตรที่ ๕               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ มหาวรรคที่ ๒ ๕. เกสปุตตสูตร [กาลามสูตร] จบ.
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 504อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 505อ่านอรรถกถา 20 / 506อ่านอรรถกถา 20 / 596
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=4930&Z=5092
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=4667
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=4667
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๖  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :