ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 505อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 506อ่านอรรถกถา 20 / 507อ่านอรรถกถา 20 / 596
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ มหาวรรคที่ ๒
๖. สาฬหสูตร

               อรรถกถาสาฬหสูตรที่ ๖               
               พึงทราบวินิจฉัยในสาฬหสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า มิคารนตฺตา แปลว่า เป็นหลานของมิคารเศรษฐี.
               บทว่า เขณิยนตฺตา๑- แปลว่า เป็นหลานของเขณิยเศรษฐี.
____________________________
๑- บาลีเป็น เปขุณิยนตฺตา ม. เสขุณิยตฺตา

               บทว่า อุปสงฺกมึสุ ความว่า หลานทั้งสองรับประทานอาหารเช้าแล้ว มีทาสและกรรมกรห้อมล้อมเข้าไปหาแล้ว.
               ได้ยินว่า เวลาเช้าก่อนอาหารที่เรือนของหลานเศรษฐีทั้งสองนั้น ตั้งปัญหาข้อหนึ่ง แต่ไม่มีโอกาสที่จะแก้ปัญหานั้นได้. เขาทั้งสองคิดว่า เราจักฟังปัญหานั้น จึงไปยังสำนักของพระเถระ ไหว้แล้ว นั่งดุษณีภาพอยู่.
               พระเถระรู้ใจของเขาเหล่านั้นว่า เขาจักมาฟังปัญหาที่เกิดขึ้นในบ้านนั้น.๒- ดังนี้แล้ว เมื่อจะเริ่มพูดกันถึงปัญหานั้นแหละ๓- จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เอถ ตุมฺเห สาฬฺหา ดังนี้.
____________________________
๒- ปาฐะว่า คามนฺตรสมุฏฺฐิตํ ฉบับพม่าเป็น คาเม ตํ สมุฏฺฐิตํ แปลตามฉบับพม่า.
๓- ปาฐะว่า ตเถว ฉบับพม่าเป็น ตเม บญฺหํ แปลตามฉบับพม่า.

               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถิ โลโภ ความว่า พระนันทกเถระถามว่า ชื่อว่าความโลภ มีความอยากได้เป็นสภาพ มีอยู่หรือ.
               บทว่า อภิชฺฌาติ โข อหํ สาฬฺหา เอตมตฺถํ วทามิ ความว่า พระนันทกเถระ เมื่อจะแสดงความแห่งปัญหาที่ตั้งขึ้น จึงกล่าวว่า เรากล่าวความข้อนี้ กล่าวคือความโลภว่าเป็นอภิชฌา ว่าเป็นตัณหาดังนี้.
               ควรนำนัยนี้ไปใช้ในทุกๆ วาระอย่างนี้.
               บทว่า โส เอวํ ปชานาติ ความว่า พระอริยสาวกนั้นเจริญพรหมวิหาร ๔ ดำรงอยู่แล้ว ออกจากสมาบัติแล้ว เมื่อเริ่มวิปัสสนา ย่อมรู้ชัดอย่างนี้.
               บทว่า อตฺถิ อิทํ ความว่า พระอริยสาวกนี้ เมื่อกำหนดรู้ขันธปัญจกกล่าวคือทุกขสัจ ด้วยสามารถแห่งนามรูปว่า ทุกขสัจมีอยู่ ท่านเรียกว่ารู้อย่างนี้ว่า สิ่งนี้มีอยู่.
               บทว่า หีนํ ได้แก่ สมุทยสัจ.
               บทว่า ปณีตํ ได้แก่ มัคคสัจ.
               บทว่า อิมสฺส สญฺญาคตสฺส อุตฺตริ นิสฺสรณํ ความว่า พระนันทเถระแสดงนิโรธสัจด้วยคำนี้ว่า ธรรมดาการแล่นออกไปอย่างยิ่งแห่งสัญญา กล่าวคือวิปัสสนาสัญญานี้ ชื่อว่า นิพพาน นิพพานนั้นมีอยู่.
               บทว่า วิมุตฺตสฺมึ วิมุตฺติมิติ ญาณํ ความว่า ปัจจเวกขณญาณ ๑๙ อย่าง ท่านกล่าวไว้แล้ว.
               บทว่า อหุ ปุพฺเพ โลโภ ความว่า ความโลภของเราได้มีแล้วในกาลก่อน.
               บทว่า ตทหุ อกุสลํ ความว่า นั้นได้ชื่อว่าเป็นอกุศล. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอกุศลได้มีแล้วในกาลนั้น.
               บทว่า อิจฺเจตํ กุสลํ ตัดบทเป็น อิติ เอตํ กุสลํ แปลว่า อย่างนี้เป็นกุศล.
               พระนันทเถระกล่าวหมายเอาความไม่มีแห่งอกุศลนั่นแหละว่าเป็นกุศล คือเป็นแดนเกษม.
               บทว่า นิจฺฉาโต แปลว่า หมดตัณหา.
               บทว่า นิพฺพุโต ความว่า ชื่อว่าดับแล้ว เพราะไม่มีกิเลสที่กระทำความเร่าร้อนในภายใน.
               บทว่า สีติภูโต แปลว่า เป็นผู้เยือกเย็น.
               บทว่า สุขปฏิสํเวที ได้แก่ เป็นผู้เสวยสุขทางกายและทางใจ.
               บทว่า พฺรหฺมภูเตน ได้แก่ เป็นผู้ประเสริฐสุด.
               คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.

               จบอรรถกถาสาฬหสูตรที่ ๖               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ มหาวรรคที่ ๒ ๖. สาฬหสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 20 / 1อ่านอรรถกถา 20 / 505อรรถกถา เล่มที่ 20 ข้อ 506อ่านอรรถกถา 20 / 507อ่านอรรถกถา 20 / 596
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=5093&Z=5214
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=4712
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=4712
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๖  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :