ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 21 / 1อ่านอรรถกถา 21 / 122อรรถกถา เล่มที่ 21 ข้อ 123อ่านอรรถกถา 21 / 124อ่านอรรถกถา 21 / 274
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ตติยปัณณาสก์ ภยวรรคที่ ๓
๓. ฌานสูตรที่ ๑

               อรรถกถาปฐมฌานสูตรที่ ๓               
               พึงทราบวินิจฉัยในปฐมฌานสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า ตทสฺสาเทติ ความว่า ย่อมติดใจฌานนั้นด้วยติดใจสุข.
               บทว่า นิกาเมติ แปลว่า ยังปรารถนา.
               บทว่า วิตฺตึ อาปชฺชติ คือ ถึงความยินดี.
               บทว่า ตทธิมุตฺโต คือ ปักใจในฌานนั้น หรือน้อมใจไปสู่ฌานนั้น.
               บทว่า ตพฺพหุลวิหารี ได้แก่ อยู่มากด้วยฌานนั้น.
               บทว่า สหพฺยตํ อุปปชฺชติ ความว่า ย่อมไปอยู่ร่วมกัน คือย่อมเกิดในในเทวดาเหล่าเวหัปผละนั้น.
               ในบทว่า กปฺโป อายุปฺปมาณํ นี้ ปฐมฌานมีอย่างต่ำ มีปานกลางและประณีต.
               ในปฐมฌานนั้น ส่วนที่สามแห่งกัปเป็นประมาณอายุของเทวดาผู้เกิดขึ้นด้วยปฐมฌานอย่างต่ำ ครึ่งกัปของเทวดาผู้เกิดขึ้นด้วยปฐมฌานปานกลาง หนึ่งกัปของเทวดาผู้เกิดขึ้นด้วยปฐมฌานประณีต.
               ท่านกล่าวคำนี้หมายถึงข้อนั้น.
               บทว่า นิรยํปิ คจฺฉติ ความว่า ผู้ที่ยังเป็นปุถุชน ย่อมวนเวียนอยู่ เพราะกรรมที่จะต้องไปนรกเขายังละไม่ได้ แต่จะไม่ใช่ต่อเนื่องกัน.
               บทว่า ตสฺมึเยว ภเว ปรินิพฺพายติ ความว่า สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ในรูปภพนั้นแล้ว ย่อมปรินิพพาน จะไม่ลงไปเบื้องต่ำ.
               บทว่า ยทิทํ คติยา อุปปตฺติยา สติ ความว่า เมื่อคติอุปบัติมีอยู่. อธิบายว่า อริยสาวกผู้เป็นพระเสขะไม่ตกต่ำด้วยอำนาจปฏิสนธิ ปรินิพพานในรูปภพนั้นนั่นแหละ คือในพรหมโลกชั้นสูงขึ้นไป เพราะทุติยฌานเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง. ส่วนปุถุชนย่อมไปนรกเป็นต้นได้. นี้เป็นเหตุต่างกัน.
               แม้ในบทว่า เทฺว กปฺปา นี้ ทุติยฌานก็มีสามอย่างโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นเอง.
               ในทุติยฌานนั้น ๘ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาผู้บังเกิดด้วยทุติยฌานประณีต. ๔ กัปด้วยทุติยฌานปานกลาง. ๒ กัปด้วยทุติยฌานอย่างต่ำ ท่านกล่าวคำนี้หมายถึงข้อนั้น.
               ในบทว่า จตฺตาโร กปฺปา นี้พึงนำคำที่กล่าวไว้ในหนหลังว่า กปฺโป เทฺว กปฺปา ดังนี้ มาอธิบายก็จะทราบได้.
               บทว่า กปฺโป เป็นชื่อแม้ของการคูณ ๔ ครั้ง เพราะฉะนั้น พึงเห็นเนื้อความในข้อนี้ดังนี้ว่า หนึ่งกัป สองกัป สี่กัป. ท่านอธิบายว่า กัปใดที่ท่านกล่าวแล้วเป็นครั้งแรก นับกัปนั้น ๒ ครั้ง เอาหนึ่งคูณเป็น ๒ กัป เอาสองคูณเป็นสี่กัป. อีกสี่กัปเหล่านั้นคูณ ๒ คูณเป็น ๔ คูณกัปเหล่านั้น เพราะฉะนั้น เอา ๔ คูณเป็นแปดกัป เอาสองคูณเป็น ๑๖ เป็น ๓๒ เป็น ๖๔ พึงทราบว่า ๖๔ กัป ท่านถือเอาด้วยอำนาจประณีตฌานในที่นี้อย่างนี้.
               บทนี้ว่า ปญฺจ กปฺปสตานิ ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งอุปปัตติฌานที่ประณีตเท่านั้น. อนึ่ง ประมาณอายุเท่านี้ในเวหัปผละ เพราะพรหมโลกชั้นละสาม ไม่มีเหมือนในปฐมฌานภูมิเป็นต้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนี้.

               จบอรรถกถาปฐมฌานสูตรที่ ๓               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ตติยปัณณาสก์ ภยวรรคที่ ๓ ๓. ฌานสูตรที่ ๑ จบ.
อ่านอรรถกถา 21 / 1อ่านอรรถกถา 21 / 122อรรถกถา เล่มที่ 21 ข้อ 123อ่านอรรถกถา 21 / 124อ่านอรรถกถา 21 / 274
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=21&A=3451&Z=3504
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=8627
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=8627
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๓  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :