ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 192อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 193อ่านอรรถกถา 22 / 194อ่านอรรถกถา 22 / 388
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ พราหมณวรรคที่ ๕
๓. สังคารวสูตร

               อรรถกถาสังคารวสูตรที่ ๓               
               พึงทราบวินิจฉัยในสังคารวสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า ปเคว แปลว่า ก่อนทีเดียว.
               บทว่า กามราคปริยุฏฺฐิเตน ได้แก่ ถูกกามราคะยึดไว้.
               บทว่า กามราคปเรเตน ได้แก่ ถูกกามราคะติดตาม.
               บทว่า นิสฺสรณํ ความว่า การออกไปแห่งกามราคะมี ๓ อย่าง คือ การออกไปด้วยการข่มไว้ ๑ การออกไปชั่วคราว ๑ การออกไปเด็ดขาด ๑.
               ใน ๓ อย่างนั้น ปฐมฌานในอสุภกรรมฐาน ชื่อว่าการออกไปด้วยการข่มไว้. วิปัสสนาชื่อว่าการออกไปชั่วคราว อรหัตมรรคชื่อว่าการออกไปเด็ดขาด. อธิบายว่า ไม่รู้การออกไปแม้ทั้ง ๓ อย่างนั้น.
               ในบทว่า อตฺตตฺถมฺปิ เป็นต้น ประโยชน์ของตนอันได้แก่พระอรหัต ชื่อว่าประโยชน์ตน. ประโยชน์ของผู้ให้ปัจจัย ชื่อว่าประโยชน์ผู้อื่น. ประโยชน์แม้ทั้งสองนั้นแล ชื่อว่าประโยชน์ทั้งสอง.
               พึงทราบเนื้อความในทุกวาระโดยนัยนี้.
               แต่พึงทราบความต่างกันต่อไปนี้.
               จริงอยู่ ในบทมีอาทิว่า พฺยาปาทสฺส นิสฺสรณํ การออกไปมีสองอย่าง คือ การออกไปด้วยการข่มไว้และการออกไปโดยเด็ดขาด. ในสองอย่างนั้น สำหรับพยาบาทก่อน เมตตาปฐมฌาน ชื่อว่าการออกไปด้วยการข่ม. อนาคามิมรรค ชื่อว่าการออกไปโดยเด็ดขาด.
               สำหรับถีนมิทธะ อาโลกสัญญา ชื่อว่าการออกไปด้วยการข่มไว้ อรหัตมรรค ชื่อว่าการออกไปโดยเด็ดขาด.
               สำหรับอุทธัจจกุกกุจจะ สมถะอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่าการออกไปด้วยการข่มไว้ แต่ในที่นี้ อรหัตมรรค ชื่อว่าการนำออกไปโดยเด็ดขาดแห่งอุทธัจจะ. อนาคามิมรรค ชื่อว่าการนำออกไปโดยเด็ดขาดแห่งกุกกุจจะ.
               สำหรับวิจิกิจฉา การกำหนดธรรม ชื่อว่าการนำออกไปด้วยการข่มไว้. ปฐมมรรค ชื่อว่าการนำออกไปโดยเด็ดขาด.
               ก็ในสูตรนี้ท่านกล่าวข้ออุปมาเหล่าใดมีอาทิว่า เสยฺยถาปิ พฺราหฺมณ อุทปตฺโต สํสฏโฐ ลาขาย วา ดังนี้
               ในอุปมาเหล่านั้น บทว่า อุทปตฺโต ได้แก่ ภาชนะเต็มด้วยน้ำ.
               บทว่า สํสฏฺโฐ ได้แก่ ผสมสีต่างชนิด.
               บทว่า อุกฺกุฏฺฐิโต ได้แก่ เดือดพล่าน.
               บทว่า อุสฺสทกชาโต ได้แก่ มีควันตลบ.
               บทว่า เสวาลปณกปริโยนทฺโธ ได้แก่ ปกคลุมด้วยสาหร่ายมีประเภทเป็นพืชงาเป็นต้น หรือแหนมีสีเขียวและสีเหมือนหลังกบซึ่งเกิดปิดผิวน้ำ.
               บทว่า เวเตริโต ได้แก่ ถูกลมพัดกระเพื่อม.
               บทว่า อาวิโล คือ ไม่ใส. บทว่า ลุฬิโต คือ ไม่นิ่ง. บทว่า กลลีภูโต คือ มีเปือกตม.
               บทว่า อนฺธกาเร นิกฺขิตฺโต ได้แก่ ถูกวางไว้ในที่ไม่มีแสงสว่าง (มืด) เช่น ภายในยุ้งเป็นต้น.
               ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยักเยื้องเทศนาด้วยภพ ๓ แล้วทรงจบลงด้วยยอดธรรม คือพระอรหัต. ส่วนพราหมณ์ตั้งอยู่ในคุณเพียงแค่สรณะ.

               จบอรรถกถาสังคารวสูตรที่ ๓               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ พราหมณวรรคที่ ๕ ๓. สังคารวสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 192อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 193อ่านอรรถกถา 22 / 194อ่านอรรถกถา 22 / 388
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=5377&Z=5501
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=1644
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=1644
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๓  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :