ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 50อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 51อ่านอรรถกถา 22 / 52อ่านอรรถกถา 22 / 388
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ นิวรณวรรคที่ ๑
๑. อาวรณสูตร

               ทุติยปัณณาสก์               
               นีวรณวรรควรรณนาที่ ๑               
               อรรถกถาอาวรณสูตรที่ ๑               
               พึงทราบวินิจฉัยในอาวรณสูตรที่ ๑ แห่งทุติยปัณณาสก์ ดังต่อไปนี้ :-
               กิเลสทั้งหลายชื่อว่าอาวรณะ เพราะอำนาจปิดกั้น. ที่ชื่อว่านิวารณะ เพราะมีอำนาจกางกั้น.
               บทว่า เจตโส อชฺฌารุหา แปลว่า อันท่วมทับจิต.
               กิเลสชื่อว่าทำให้ปัญญาหดถอยกำลัง เพราะกระทำวิปัสสนาปัญญาและมรรคปัญญาให้เสื่อมกำลัง ด้วยอรรถว่ากางกั้นมิให้เกิดขึ้น. อีกประการหนึ่ง ชื่อว่าทำปัญญาให้หดถอยกำลัง เพราะปัญญาที่คลุกเคล้าด้วยกิเลสเหล่านี้เกิดขึ้น กิเลสเหล่านั้นทำปัญญานั้นเสื่อมกำลัง ดังนี้ก็มี.
               บทว่า อพลาย ความว่า ชื่อว่าปราศจากกำลัง เพราะถูกนิวรณ์ ๕ รึงรัดไว้.
               บทว่า อุตฺตรึ วา มนุสฺสธมฺมา อลมริยาญาณทสฺสนวิเสสํ ความว่า ซึ่งญาณทัสสนะวิเศษที่สามารถกระทำความเป็นพระอริยเจ้าให้ได้ยิ่งไปกว่ามนุษยธรรมกล่าวคือกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่าง.
               บทว่า หารหาริณี คือ สามารถจะพัดพาสิ่งที่พอจะพัดพาไปได้.
               บทว่า นงฺคลมุขานิ แปลว่า ปากเหมือง เพราะชนทั้งหลายเรียกปากเหมืองเหล่านั้นว่า นังคลมุขานิ เพราะเหตุที่เขาเอาไถขุด ไถลงไปทำให้เป็นเหมือนรอยไถไว้.
               ในบทว่า เอวเมว โข นี้ วิปัสสนาญาณพึงเห็นเป็นเหมือนกระแสน้ำ เวลาที่ภิกษุละเลยสังวรในทวารทั้ง ๖ พึงเห็นเหมือนเวลาเปิดปากเหมืองทั้งสองข้าง เวลาที่ภิกษุถูกนิวรณ์ทั้ง ๕ รึงรัดไว้ พึงเห็นเหมือนเวลาที่เมื่อเขาตอกหลักต้นไม้กลางแม่น้ำแล้ว ทำทำนบกั้นด้วยใบไม้แห้ง หญ้าและดินเหนียว น้ำก็ซัดซ่ายสร่านไป เวลาที่ภิกษุไม่สามารถจะกำจัดอกุศลทั้งปวงด้วยวิปัสสนาญาณแล้วบรรลุถึงสาคร คือทางนิพพานได้ พึงทราบเหมือนเวลาที่เมื่อเขาทำทำนบกั้นไว้อย่างนี้ น้ำที่หมดกำลังเชี่ยวไม่สามารถจะพัดพาเอาหญ้าและใบไม้แห้งเป็นต้นไปถึงทะเลได้.
               ในธรรมฝ่ายดีพึงประกอบความเข้าโดยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.
               ในสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะ.

               จบอรรถกถาอาวรณสูตรที่ ๑               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ นิวรณวรรคที่ ๑ ๑. อาวรณสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 50อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 51อ่านอรรถกถา 22 / 52อ่านอรรถกถา 22 / 388
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=1461&Z=1497
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=623
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=623
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๓  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :