ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 52อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 53อ่านอรรถกถา 22 / 54อ่านอรรถกถา 22 / 388
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ นิวรณวรรคที่ ๑
๓. อังคสูตร

               อรรถกถาอังคสูตรที่ ๓               
               พึงทราบวินิจฉัยในอังคสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
               ในบทว่า ปธานิยงฺคานิ ภาวะคือการตั้งความเพียร ท่านเรียกว่าปธานะ. ความเพียรของภิกษุนั้นมีอยู่ เหตุนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าผู้มีความเพียร องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร เพราะเหตุนั้นชื่อว่าปธานิยังคะ.
               บทว่า สทฺโธ แปลว่า ผู้ประกอบด้วยศรัทธา.
               ก็ศรัทธานั้นมี ๔ อย่าง คือ อาคมศรัทธา ๑ อธิคมศรัทธา ๑ โอกัปปนศรัทธา ๑ ปสาทศรัทธา ๑.
               บรรดาศรัทธาทั้ง ๔ นั้น ศรัทธาของพระสัพพัญญูโพธิสัตว์ ชื่อว่าอาคมศรัทธา เพราะเริ่มมีมาตั้งแต่การบำเพ็ญบารมี ที่ชื่อว่าอธิคมศรัทธา เพราะบรรลุด้วยการแทงตลอดของพระอริยสาวกทั้งหลาย. ความเชื่ออย่างมั่นคง เพราะไม่หวั่นไหว เมื่อกล่าวว่า พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ ดังนี้ ชื่อว่าโอกัปปนศรัทธา. การเกิดขึ้นแห่งความเลื่อมใส ชื่อว่าปสาทศรัทธา.
               ในพระสูตรนี้ท่านประสงค์เอาโอกัปปนศรัทธา.
               บทว่า โพธึ ได้แก่ มรรคญาณ ๔.
               ภิกษุย่อมเชื่อว่า มรรคญาณ ๔ นั้นอันพระตถาคตแทงตลอดด้วยดีแล้ว. ก็คำนั้นเป็นเพียงหัวข้อเทศนาเท่านั้น. ก็ศรัทธาในรัตนะแม้ทั้ง ๓ ท่านประสงค์เอาด้วยองค์นี้ เพราะภิกษุใดมีความเลื่อมใสมีกำลังแรงในพระพุทธเจ้าเป็นต้น ความเพียรคือปธานะย่อมสำเร็จแก่ภิกษุนั้น.
               บทว่า อปฺปพาโธ คือ ไม่มีโรค. บทว่า อปฺปาตงฺโก คือ ไม่มีทุกข์. บทว่า สมเวปากินิยา แปลว่า มีการย่อยสม่ำเสมอ. บทว่า คหณิยา แปลว่า อันไฟธาตุเกิดแต่กรรม.
               บทว่า นาติสีตาย นาจฺจุณฺหาย ความว่า จริงอยู่ ภิกษุผู้มีไฟธาตุเย็นเกินไป ย่อมกลัวหนาว ผู้มีไฟธาตุร้อนเกินไป ย่อมกลัวร้อน ความเพียรย่อมไม่สำเร็จผลแก่ภิกษุเหล่านั้น (แต่) ย่อมสำเร็จผลแก่ภิกษุผู้มีไฟธาตุปานกลาง. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นปานกลางเหมาะแก่ความเพียร.
               บทว่า ยถาภูตํ อตฺตานํ อาวิกตฺตา คือ ประกาศคุณของตนตามความเป็นจริง.
               บทว่า อุทยตฺถคามินิยา คือ ที่สามารถจะถึง คือกำหนดรู้ความเกิดและความดับ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอุทยพยญาณที่กำหนดรู้ลักษณะ ๕๐ ประการ ด้วยบทนี้.
               บทว่า อริยาย คือ บริสุทธิ์. บทว่า นิพฺเพธิกาย คือ ที่สามารถชำแรกกองกิเลสมีกองโลภเป็นต้นที่คนยังมิเคยชำแรก.
               บทว่า สมฺมาทุกฺขกฺขยคามินิยา คือ ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์ซึ่งสิ้นไป เพราะละกิเลสทั้งหลายได้ด้วยอำนาจตทังคปหาน [ละชั่วคราว].
               ด้วยบทเหล่านี้แม้ทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเฉพาะวิปัสสนาปัญญาเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้ เพราะความเพียรย่อมไม่สำเร็จแก่ผลคนผู้มีปัญญาทราม.

               จบอรรถกถาอังคสูตรที่ ๓               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ นิวรณวรรคที่ ๑ ๓. อังคสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 52อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 53อ่านอรรถกถา 22 / 54อ่านอรรถกถา 22 / 388
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=1505&Z=1521
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=642
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=642
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๓  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :