ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 72อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 73อ่านอรรถกถา 22 / 74อ่านอรรถกถา 22 / 388
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ โยธาชีววรรคที่ ๓
๓. ธรรมวิหาริกสูตรที่ ๑

               อรรถกถาปฐมธรรมวิหาริกสูตรที่ ๓               
               พึงทราบวินิจฉัยในปฐมธรรมวิหาริกสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า ทิวสํ อตินาเมติ ได้แก่ ทำเวลาวันหนึ่งให้ล่วงไป.
               บทว่า ริญฺจติ ปฏิสลฺลานํ ได้แก่ ละเลยความอยู่ผู้เดียวเสีย.
               บทว่า เทเสติ ได้แก่ กล่าวประกาศ.
               บทว่า ธมฺมปญฺญฺตติยา ได้แก่ ด้วยการบัญญัติธรรม.
               บทว่า ธมฺมํ ปริยาปุณาติ ได้แก่ เล่าเรียน ศึกษา กล่าวธรรมคือสัจจะ ๔ โดยนวังคสัตถุศาสน์ [คำสอนของพระศาสดา ๙ ส่วน].
               บทว่า น ริญฺจติ ปฏิสลฺลานํ ได้แก่ ไม่ละเลยความอยู่ผู้เดียว.
               บทว่า อนุยุญฺชติ อชฺฌตฺตํ เจโตสมถํ ได้แก่ ซ่องเสพ เจริญจิตสมาธิภายในตนเอง คือประกอบขวนขวายในสมถกรรมฐาน.
               บทว่า หิเตสินา แปลว่า ผู้แสวงประโยชน์เกื้อกูล.
               บทว่า อนุกมฺปเกน แปลว่า ผู้เอ็นดู.
               บทว่า อนุกมฺปํ อุปาทาย ได้แก่ กำหนด. ท่านอธิบายว่า อาศัย ซึ่งความเอ็นดูด้วยจิตก็มี.
               บทว่า กตํ โว มยา ตํ ความว่า เราผู้แสดงบุคคล ๕ ประเภทนี้ ก็กระทำกรณียกิจนั้นแก่ท่านทั้งหลายแล้ว.
               แท้จริง พระศาสดาผู้เอ็นดู ก็มีกิจหน้าที่ คือการแสดงธรรมอันไม่วิปริตเพียงเท่านี้แหละ.
               ต่อแต่นี้ไป ชื่อว่าการปฏิบัติเป็นกิจหน้าที่ของสาวกผู้ฟังทั้งหลาย. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ นี้ไคนไม้ ฯลฯ เป็นอนุสาสนีคำพร่ำสอน ดังนี้. ก็ในพระดำรัสนั้น ทรงแสดงเสนาสนะคือโคนไม้ ด้วยบทว่า รุกฺขมูลานิ โคนไม้นี้. ทรงแสดงสถานที่สงัดจากคน ด้วยบทว่า สุญฺญาคารานิ (เรือนว่าง) นี้.
               อนึ่ง ทรงบอกเสนาสนะที่เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรแม้ด้วยบททั้งสอง ชื่อว่าทรงมอบมรดกให้.
               บทว่า ฌายถ ได้แก่ ท่านทั้งหลายจงเพ่งพินิจอารมณ์ ๓๘ ด้วยการเพ่งพินิจโดยอารมณ์ และเพ่งพินิจขันธ์ อายตนะเป็นอาทิ โดยเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ด้วยการเพ่งพินิจโดยลักษณะ. ท่านอธิบายว่า จงเจริญสมถะและวิปัสสนา.
               บทว่า มา ปมาทตฺถ แปลว่า อย่าประมาทเลย.
               บทว่า มา ปจฺฉา วิปฺปฏิสาริโน อหุวตฺถ ความว่า เมื่อทรงแสดงความข้อนี้ว่า สาวกเหล่าใด เวลายังเป็นหนุ่ม เวลาไม่มีโรค เวลาสมบูรณ์ด้วยสัปปายะมีข้าวเป็นที่สบายเป็นต้น เวลาที่ยังอยู่ต่อหน้าพระศาสดา ละเว้นการใส่ใจโดยแยบคาย มัวแต่เพลินสุขในการหลับนอน เป็นอาหารของเรือดตลอดทั้งวันทั้งคืน ประมาทมาแต่ก่อน ภายหลังสาวกเหล่านั้น เวลาแก่ตัวลง เป็นโรค ใกล้จะตาย เวลาวิบัติ และเวลาที่พระศาสดาปรินิพพานเสียแล้ว เมื่อรำลึกถึงการอยู่อย่างประมาทมาแต่ก่อนนั้น มองเห็นการทำกาละ [ตาย] ชนิดมีปฏิสนธิว่าเป็นภาระ ก็ร้อนใจ ส่วนเธอทั้งหลายอย่าได้เป็นกันเช่นนั้นเลยดังนี้ จึงตรัสว่า พวกเธออย่าได้ร้อนใจกันในภายหลังเลย.
               บทว่า อยํ โว อมฺหากํ อนุสาสนี ความว่า วาจานี้ว่า พวกเธอจงเพ่งพินิจ จงอย่าประมาท เป็นอนุสาสนี. ท่านอธิบายว่า เป็นโอวาทจากเรา สำหรับเธอทั้งหลาย ดังนี้.

               จบอรรถกถาปฐมธรรมวิหาริกสูตรที่ ๓               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ โยธาชีววรรคที่ ๓ ๓. ธรรมวิหาริกสูตรที่ ๑ จบ.
อ่านอรรถกถา 22 / 1อ่านอรรถกถา 22 / 72อรรถกถา เล่มที่ 22 ข้อ 73อ่านอรรถกถา 22 / 74อ่านอรรถกถา 22 / 388
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=2024&Z=2057
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=798
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=798
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๓  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :