ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 23 / 1อ่านอรรถกถา 23 / 118อรรถกถา เล่มที่ 23 ข้อ 119อ่านอรรถกถา 23 / 120อ่านอรรถกถา 23 / 281
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ปัณณาสก์ คหปติวรรคที่ ๓
๙. อักขณสูตร

               อรรถกถาอักขณสูตรที่ ๙               
               อักขณสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               ชาวโลกย่อมทำกิจทั้งหลายในขณะ เพราะเหตุนั้น ชาวโลกนั้นชื่อว่า ขณกิจจะ ผู้ทำกิจในขณะ. อธิบายว่า พอได้โอกาสก็ทำกิจทั้งหลาย.
               บทว่า ธมฺโม ได้แก่ ธรรมคือสัจจะทั้ง ๔.
               บทว่า อุปสมิโก ได้แก่ นำความสงบกิเลสมาให้.
               บทว่า ปรินิพฺพานิโก ได้แก่ กระทำการดับกิเลสได้สิ้นเชิง.
               ชื่อว่า สมฺโพธคามี เพราะถึงคือบรรลุสัมโพธิญาณ กล่าวคือมรรคญาณ ๔.
               คำว่า ทีฆายุกํ เทวนิกายํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงเหล่าอสัญญีเทพ.
               บทว่า อวิญฺญาตาเรสุ ความว่า ในพวกมิลักขะ ผู้ไม่รู้อย่างยิ่ง.
               บทว่า สุปฺปเวทิเต ความว่า อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว.
               บทว่า อนฺตรายิกา แปลว่า อันกระทำอันตราย.
               บทว่า ขโณ โว มา อุปจฺจคา ความว่า ขณะที่ท่านได้แล้วนี้ อย่าล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย.
               บทว่า อิธ เจ น วิราเธติ ความว่า ถ้าใครๆ มีปกติประพฤติประมาท ถึงได้ขณะนี้ในโลกนี้แล้วก็ไม่สำเร็จ คือไม่บรรลุความที่พระสัทธรรมเป็นของแน่นอน คืออริยมรรค.
               บทว่า อตีตตฺโถ ได้แก่ เป็นผู้เสื่อมประโยชน์แล้ว.
               บทว่า จิรตฺตนุตปิสฺสติ ความว่า จักเศร้าโศกสิ้นกาลนาน.
               เหมือนอย่างว่า พ่อค้าผู้หนึ่งได้ฟังข่าวว่า ในที่ชื่อโน้น สินค้ามีราคาเท่ากันก็ไม่พึงไป พ่อค้าเหล่าอื่นพึงไปซื้อเขามา สินค้าเหล่านั้นก็จะมีราคาเพิ่มขึ้นเป็น ๘ เท่าบ้าง ๑๐ เท่าบ้าง เมื่อเป็นเช่นนั้น พ่อค้าอีกฝ่ายหนึ่งพึงเดือดร้อนด้วยคิดว่า ประโยชน์ของเราล่วงเลยไปแล้วดังนี้ฉันใด
               บุคคลใดได้ขณะในโลกนี้แล้ว ไม่ปฏิบัติ ไม่ยินดีการกำหนดแน่นอนแห่งพระสัทธรรม บุคคลนั้นชื่อว่ามีประโยชน์อันล่วงแล้วเหมือนพ่อค้านี้ จักเดือดร้อนจักเศร้าโศกสิ้นกาลนานยิ่งกว่าใครๆ ฉันนั้น.
               บทว่า อวิชฺชานิวุโต พึงทราบความเหมือนอย่างนั้น.
               บทว่า ปจฺจวิทุํ แปลว่า ได้ตรัสรู้แล้ว.
               บทว่า สํวรา ได้แก่ผู้สำรวมในศีล.
               บทว่า มารเธยฺยสรานุเค ความว่า อันแล่นตามสังสารวัฏคือแก่งมาร.
               บทว่า ปารคตา ได้แก่ถึงซึ่งพระนิพพาน.
               บทว่า เย ปตฺตา อาสวกฺขยํ ความว่า ชนเหล่าใดบรรลุพระอรหัตแล้ว.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวัฏฏะและวิวัฏฏะไว้ในพระคาถาทั้งหลายในพระสูตรนี้ ด้วยประการฉะนี้.

               จบอรรถกถาอักขณสูตรที่ ๙               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ปัณณาสก์ คหปติวรรคที่ ๓ ๙. อักขณสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 23 / 1อ่านอรรถกถา 23 / 118อรรถกถา เล่มที่ 23 ข้อ 119อ่านอรรถกถา 23 / 120อ่านอรรถกถา 23 / 281
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=4639&Z=4716
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=5569
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=5569
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๓  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :