ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 23 / 1อ่านอรรถกถา 23 / 119อรรถกถา เล่มที่ 23 ข้อ 120อ่านอรรถกถา 23 / 121อ่านอรรถกถา 23 / 281
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ปัณณาสก์ คหปติวรรคที่ ๓
๑๐. อนุรุทธสูตร

               อรรถกถาอนุรุทธสูตรที่ ๑๐               
               อนุรุทธสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า เจตีสุ ความว่า ในรัฐอันได้ชื่ออย่างนั้น เพราะรัฐนั้นเป็นที่ประทับอยู่ของเจ้าทั้งหลายพระนามว่า เจตี.
               บทว่า ปาจีนวํสทาเย ความว่า ที่ป่าวังสทายะ อันตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก แต่ที่ประทับอยู่ของพระทศพล อันเป็นราวป่าดารดาษไปด้วยไม้ไผ่มีสีเขียว.
               บทว่า เอวํ เจตโส ปริวิตกฺโก อุทปาทิ ความว่า
               ได้ยินว่า พระเถระบวชแล้ว เป็นผู้ได้สมาบัติในภายในพรรษาก่อนเพื่อน ให้เกิดทิพยจักษุที่สามารถให้เห็นพ้นโลกธาตุได้. ท่านได้ไปยังสำนักของพระสารีบุตรเถระ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพระสารีบุตร ในที่นี้ ข้าพเจ้าเห็นพ้นโลก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์. ก็ความเพียรอันข้าพเจ้าปรารภแล ไม่ย่อหย่อน สติอันข้าพเจ้าตั้งมั่นแล้ว ไม่หลงลืม กายสงบไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่นมีอารมณ์เดียว ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น จิตของข้าพเจ้ายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นดังนี้.
               ลำดับนั้น พระสารีบุตรเถระกล่าวกะท่านว่า ดูก่อนท่านอนุรุทธะ ความคิดอันใดแลที่มีอยู่แก่ท่านอย่างนี้ว่า ก็ความเพียรอันข้าพเจ้าปรารภแล้ว ฯลฯ มีอารมณ์เดียว ความคิดอันนี้ของท่านก็เป็นอุทธัจจะ. ความคิดแม้ใดของท่านที่มีอยู่อย่างนี้ว่า ก็แลเมื่อเป็นเช่นนั้น จิตของข้าพเจ้ายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น ความคิดของท่านก็เป็นกุกกุจจะ ดีละ ท่านอนุรุทธะ จงละธรรม ๓ ประการเหล่านี้เสีย ไม่ใส่ใจธรรม ๓ ประการเหล่านี้ จงน้อมจิตเข้าไปเพื่ออมตธาตุ ดังนี้
               พระเถระบอกกรรมฐานแก่ท่านด้วยประการฉะนี้.
               ท่านรับกรรมฐานแล้ว ทูลลาพระศาสดาไปยังเจดีย์รัฐกระทำสมณธรรม ยับยั้งอยู่ด้วยการจงกรมเป็นเวลาครั้งเดือน. ท่านลำบากกาย เพราะตรากตรำด้วยกำลังความเพียร นั่งอยู่ภายใต้พุ่มไม่พุ่มหนึ่ง.
               บทว่า อถสฺสายํ เอวํ เจตโส ปริวตฺกฺโก อุทปาทิ ความว่า มหาปุริสวิตกนี้เกิดขึ้น.
               ในบทว่า อปฺปิจฺฉสฺส นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บุคคลผู้มักน้อย ๔ จำพวก คือ มักน้อยในปัจจัย มักน้อยในอธิคม มักน้อยในปริยัติ มักน้อยในธุดงค์.
               ในบรรดาผู้มักน้อย ๔ จำพวกนั้น ภิกษุผู้มักน้อยในปัจจัย เมื่อเขาให้มากย่อมรับแต่น้อย หรือเมื่อเขาให้น้อยย่อมรับให้น้อยลง ย่อมไม่รีดเอาจนไม่เหลือ. ผู้มักน้อยในอธิคม ย่อมไม่ให้ผู้อื่นรู้มรรคผลที่บรรลุของตน เหมือนพระมัชฌันติกเถระฉะนั้น. ผู้มักน้อยในปริยัติ แม้เป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก ก็ไม่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นรู้ความที่ตนเป็นพหูสูต เหมือนพระสาเกตกเถระ. ผู้มักน้อยในธุดงค์ ย่อมไม่ให้ผู้อื่นรู้ว่าตนรักษาธุดงค์ เหมือนพระเถระผู้เป็นพี่ชายในพระเถระสองพี่น้อง.
               เรื่องกล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.
               บทว่า อยํ ธมฺโม ความว่า ธรรมนี้คือโลกุตตรธรรม ๙ ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ชื่อว่ามีความมักน้อย เพราะปกปิดคุณที่ตนได้อย่างนี้ และเพราะรู้จักประมาณในการรับ ไม่เกิดแก่บุคคลผู้มักมาก.
               ในบททุกบท พึงประกอบความอย่างนี้.
               บทว่า สนฺตุฏฺฐสฺส ได้แก่ ผู้สันโดษด้วยสันโดษ ๓ ในปัจจัย ๔.
               บทว่า ปวิวิตฺตสฺส ได้แก่ ผู้สงัดด้วยกายวิเวก จิตตวิเวกและอุปธิวเวก.
               ในวิเวก ๓ อย่างนั้น ความบรรเทาความคลุกคลีด้วยหมู่คณะแล้วเป็นผู้มีกายโดดเดี่ยว ด้วยอำนาจอารัมภวัตถุ เรื่องปรารภความเพียร ชื่อว่ากายวิเวก. แต่กรรมฐานย่อมไม่สำเร็จด้วยอาการเพียงอยู่ผู้เดียว เพราะฉะนั้น พระโยคีกระทำบริกรรมกสิณแล้วยังสมาบัติ ๘ ให้บังเกิด นี้ชื่อว่าจิตวิเวก. กรรมฐานย่อมไม่สำเร็จด้วยเหตุเพียงสมาบัติเท่านั้น เพราะเหตุนั้น พระโยคีกระทำฌานให้เป็นบาท พิจารณาสังขารทั้งหลาย แล้วบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่าอุปธิวิเวก สงัดกิเลสโดยอาการทั้งปวง.
               ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า กายวิเวกสำหรับบุคคลผู้มีกายสงัด ผู้ยินดียิ่งในเนกขัมมะ จิตวิเวกสำหรับบุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ผู้ถึงความผ่องแผ้วอย่างยิ่ง และอุปธิวิเวกสำหรับบุคคลผู้ปราศจากอุปธิกิเลส ถึงพระนิพพานอันปราศจากสังขารดังนี้.๑-
____________________________
๑- ขุ. มหา. เล่ม ๒๙/ข้อ ๓๓   ขุ. มหา. เล่ม ๒๙/ข้อ ๒๒๙

               บทว่า สงฺคณิการามสฺส ได้แก่ ผู้ยินดีด้วยการคลุกคลีในหมู่และคลุกคลีด้วยกิเลส.
               บทว่า อารทฺธวีริยสฺส ได้แก่ ผู้ปรารภความเพียรด้วยอำนาจความเพียรทางกายและทางจิต.
               บทว่า อุปฏฺฐิตสฺสติสฺส ได้แก่ ผู้มีสติตั้งมั่นด้วยอำนาจสติปัฏฐาน ๔.
               บทว่า สมาหิตสฺส ได้แก่ ผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง.
               บทว่า ปญฺญวโต ได้แก่ ผู้มีปัญญาด้วยปัญญาเป็นเหตุรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของของตน.
               บทว่า สาธุ สาธุ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงยังจิตของพระเถระให้ร่าเริง จึงตรัสอย่างนี้.
               บทว่า อิมํ อฏฺฐมํ ความว่า เมื่อจะตรัสบอกมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ แก่พระอนุรุทธะผู้ตรึกมหาปุริสวิตก ๗ ประการอยู่ จึงตรัสอย่างนั้น เหมือนให้ขุมทรัพย์ที่ ๘ แก่บุรุษผู้ได้ขุมทรัพย์ ๗ ขุม และเหมือนให้ขุมทรัพย์ที่ ๘ แก่บุรุษผู้ได้แก้วมณี ๗ ช้างแก้ว ๗ ม้าแก้ว ๗.
               บทว่า นิปฺปปญฺจารามสฺส ความว่า ผู้ยินดียิ่งในบท คือพระนิพพาน กล่าวคือธรรมที่ปราศจากความเนิ่นช้า เพราะเว้นจากธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือตัณหามานะและทิฏฐิ. คำนอกนี้เป็นไวพจน์ของบทว่า นิปฺปปญฺจารามสฺส นั้นนั่นแหละ.
               บทว่า ปญฺจารามสฺส ได้แก่ ผู้ยินดียิ่งในธรรมเครื่องเนิ่นช้าตามที่กล่าวแล้ว. คำนอกนี้เป็นไวพจน์ของบทว่า ปปญฺจารามสฺส นั้นนั่นแหละ.
               บทว่า ยโต แปลว่า ในกาลใด.
               บทว่า ตโต แปลว่า ในกาลนั้น.
               บทว่า นานารตฺตานํ ความว่า ย้อมแล้วด้วยเครื่องย้อมต่างๆ อันมีสีเขียว สีเหลือง สีแดง และสีขาว.
               บทว่า ปํสุกูลจีวรํ ได้แก่ ผ้าบังสุกุล (ตั้ง) อยู่ใน ๒๓ เขต.
               บทว่า ขายิสฺสติ ความว่า เมื่อคฤหบดีนั้นห่มผ้าที่ตนปรารถนาในสมัยมีเวลาเช้าเป็นต้น หีบใส่ผ้านั้นย่อมปรากฏเป็นของน่าพอใจฉันใด แม้เมื่อเธอยินดีอยู่ด้วยมหาอริยวงศ์ คือสันโดษด้วยจีวร ผ้าบังสุกุลจีวรจักปรากฏ คือจักเข้าไปปรากฏฉันนั้น.
               บทว่า รติยา แปลว่า เพื่อประโยชน์แก่ความยินดี.
               บทว่า อปริตสฺสาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่ความไม่สะดุ้งเพราะตัณหาและทิฏฐิ.
               บทว่า ผาสุวิหาราย ได้แก่ เพื่อความอยู่เป็นสุข.
               บทว่า โอกฺกมนาย นิพฺพานสฺส ได้แก่ เพื่อต้องการหยั่งลงสู่อมตนิพพาน.
               บทว่า ปิณฺฑิยาโลปโภชนํ ได้แก่ โภชนะคือคำข้าวที่ตนอาศัยกำลังแข้งเที่ยวไปตามลำดับเรือนในคาม และราชธานีได้มา.
               บทว่า ขายิสฺสติ ความว่า จักปรากฏเหมือนโภชนะมีรสเลิศต่างๆ ของคฤหบดีนั้น.
               บทว่า สนฺตุฏฺฐสฺส วิหรโต ความว่า ผู้สันโดษอยู่ด้วยมหาอริยวงศ์ คือความสันโดษด้วยบิณฑบาต.
               บทว่า รุกฺขมูลเสนาสนํ ขายิสฺสติ ความว่า เสนาสนะคือโคนไม้ย่อมปรากฏเหมือนเรือนยอดที่หอมตลบไปด้วยธูปหอมและเครื่องอบกลิ่นดอกไม้บนปราสาท ๓ ชั้นของคฤหบดีนั้น.
               บทว่า สนฺตุฏฺฐสฺส ได้แก่ สันโดษด้วยมหาอริยวงศ์ คือความสันโดษด้วยเสนาสนะ.
               บทว่า ติณสนฺถรโก ได้แก่ เครื่องลาดที่ลาดด้วยหญ้าหรือใบไม้ ที่พื้นดินหรือที่แผ่นกระดานและแผ่นหินอย่างหนึ่ง.
               บทว่า ปูติมุตฺตํ ความว่า มูตรอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ที่ถือเอาในขณะนั้น ท่านก็เรียกว่า มูตรเน่าเหมือนกัน เพราะมีกลิ่นเหม็น.
               บทว่า สนฺตุฏฺฐสฺ วิหรโต ได้แก่ ผู้สันโดษด้วยความสันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร. ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงตรัสพระกรรมฐานใส่ไว้ในพระอรหัตในฐานะ ๔ เมื่อทรงรำพึงว่ากรรมฐานจักเป็นสัปปายะแก่อนุรุทธะผู้อยู่ในเสนาสนะไหนหนอ ทรงทราบว่า อยู่ในที่นั้นนั่นแหละ จึงตรัสคำมีอาทิว่า เตนหิ ตฺวํ อนุรุทฺธ ดังนี้.
               บทว่า ปวิวิตฺตสฺส วิหรโต ความว่า ผู้สงัดด้วยวิเวก ๓ อยู่.
               บทว่า อุยฺโยชนิกปฏิสํยุตฺตํ ความว่า อันเกี่ยวด้วยถ้อยคำอันควรแก่การส่งกลับไป. อธิบายว่า กิริยาที่ลุกขึ้นและกิริยาที่เดินไปของคนเหล่านั้นนั่นแหละ.
               บทว่า ปปญฺจนิโรเธ ได้แก่ ในบทคือพระนิพพาน.
               บทว่า ปกฺขนฺทติ ความว่า ย่อมแล่นไปด้วยสามารถแห่งการทำให้เป็นอารมณ์.
               แม้ในบทว่า ปสีทติ เป็นต้น พึงทราบความเลื่อมใส ความตั้งมั่นและความหลุดพ้น ด้วยสามารถแห่งอารมณ์นั่นแหละ ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสมหาปุริสวิตก ๘ ข้อแก่ท่านพระอนุรุทธะ ณ ปาจีนวังสทายวันในเจติรัฐ ประทับนั่งที่เภสกฬาวันมหาวิหาร จึงตรัสโดยพิสดารอีกแก่ภิกษุสงฆ์
               บทว่า มโนมเยน ความว่า กายที่บังเกิดด้วยใจก็ดี ที่ไปด้วยใจก็ดี เรียกว่ามโนมยะ สำเร็จแล้วด้วยใจ. แต่ในที่นี้ทรงหมายเอากายที่ไปด้วยใจ จึงตรัสอย่างนี้.
               บทว่า ยถา เม อหุ สงฺกปฺโป ความว่า เราได้มีความตรึกโดยประการใด.
               บทว่า ตโต อุตฺตริ ความว่า พระศาสดาเมื่อจะทรงแสดงมหาปุริสวิตก ๘ ประการ จึงแสดงให้ยิ่งกว่านั้น.
               คำที่เหลือทั้งหมดมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.

               จบอรรถกถาอนุรุทธสูตรที่ ๑๐               
               จบคหปติวรรคที่ ๓               
               -----------------------------------------------------               

               รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
                         ๑. อุคคสูตรที่ ๑
                         ๒. อุคคสูตรที่ ๒
                         ๓. หัตถสูตรที่ ๑
                         ๔. หัตถสูตรที่ ๒
                         ๕. มหานามสูตร
                         ๖. ชีวกสูตร
                         ๗. พลสูตรที่ ๑
                         ๘. พลสูตรที่ ๒
                         ๙. อักขณสูตร
                         ๑๐. อนุรุทธาสูตร
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ปัณณาสก์ คหปติวรรคที่ ๓ ๑๐. อนุรุทธสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 23 / 1อ่านอรรถกถา 23 / 119อรรถกถา เล่มที่ 23 ข้อ 120อ่านอรรถกถา 23 / 121อ่านอรรถกถา 23 / 281
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=4717&Z=4876
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=5591
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=5591
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๓  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :