ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 23 / 1อ่านอรรถกถา 23 / 123อรรถกถา เล่มที่ 23 ข้อ 124อ่านอรรถกถา 23 / 125อ่านอรรถกถา 23 / 281
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ปัณณาสก์ ทานวรรคที่ ๔
๔. เขตตสูตร

               อรรถกถาเขตตสูตรที่ ๔               
               เขตตสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า น มหปฺผลํ โหติ ความว่า ไม่มีผลมากด้วยผลแห่งธัญพืช.
               บทว่า น มหสฺสาทํ ความว่า ความยินดีต่อผลธัญพืชนั้นมีไม่มาก คือมีความยินดีน้อยไม่อร่อย.
               บทว่า น ผาติเสยฺยํ ความว่า ธัญพืชนั้นย่อมไม่เจริญงอกงาม. อธิบายว่า ธัญพืชนั้นจะเจริญคือมีลำต้นคอยค้ำรองเข้าที่ใหญ่ก็หามิได้.
               บทว่า อนฺนามินินฺนามิ ได้แก่ พื้นที่ไม่สม่ำเสมอ เพราะดอนและลุ่ม.
               ในที่เหล่านั้น ที่ดอนไม่มีน้ำขังอยู่ ที่ลุ่มมีน้ำขังมากเกินไป.
               บทว่า ปาสาณสกฺขริลฺลํ ความว่า ประกอบด้วยหลังแผ่นหินลาดตั้งอยู่ และกรวดก้อนเล็กก้อนใหญ่.
               บทว่า อูสรํ ได้แก่ น้ำเค็ม.
               บทว่า น จ คมฺภีรสิตํ ความว่า ไม่สามารถจะไถให้คลองไถลงไปลึกได้เพราะพื้นที่แข็ง คือเป็นคลองไถตื้นๆ เท่านั้น.
               บทว่า น อายสมฺปนฺนํ ได้แก่ ไม่สมบูรณ์ด้วยทางน้ำไหลออกในด้านหลัง.
               บทว่า น มาติกาสมฺปนฺนํ ความว่า ไม่สมบูรณ์ด้วยเหมืองน้ำขนาดเล็กและขนาดใหญ่.
               บทว่า น มริยาทสมฺปนฺนํ ความว่า ไม่สมบูรณ์ด้วยคันนา.
               บททั้งหมดมีอาทิว่า น มหปฺผลํ พึงทราบด้วยสามารถเผล็ดผลนั่นเอง.
               บทว่า สมฺปนฺเน ได้แก่ บริบูรณ์ คือประกอบด้วยคุณสมบัติ.
               บทว่า ปวุตฺตา พีชสมฺปทา ได้แก่ พืชที่ปลูกสมบูรณ์.
               บทว่า เทเว สมฺปาทยนฺตมฺหิ ความว่า เมื่อฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล.
               บทว่า อนีติสมฺปทา โหติ ความว่า ความไม่มีภัยจากสัตว์เล็กๆ มีตั๊กแตนและหนอนเป็นต้น เป็นความสมบูรณ์เป็นเอก.
               บทว่า วิรุฬฺหิ ความว่า ความงอกงามเป็นความสมบูรณ์อันดับ ๒.
               บทว่า เวปุลฺลํ ความว่า ความไพบูลย์เป็นความสมบูรณ์อันดับ ๓.
               บทว่า ผลํ ความว่า ผลแห่งธัญพืชที่บริบูรณ์ เป็นความสมบูรณ์อันดับ ๔.
               บทว่า สมฺปนฺนสีเลสุ ได้แก่ สมณพราหมณ์ผู้มีศีลบริบูรณ์.
               บทว่า โภชนสมฺปทา ได้แก่ โภชนะ ๕ อย่างที่สมบูรณ์.
               บทว่า สมฺปทานํ ได้แก่ กุศลสัมปทา ๓ อย่าง.
               บทว่า อุปเนติ ได้แก่ โภชนสัมปทานั้นนำเข้าไป.
               เพราะเหตุไร? เพราะกิจกรรมที่ผู้นั้นทำแล้วสมบูรณ์. อธิบายว่า เพราะกิจกรรมที่เขาทำแล้วนั้นสมบูรณ์คือบริบูรณ์.
               บทว่า สมฺปนฺนตฺถูธ ตัดบทเป็น สมฺปนฺโน อตฺถุ อิธ แปลว่า จงเป็นผู้สมบูรณ์ในกุศลสัมปทานี้.
               บทว่า วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ความว่า ประกอบด้วยวิชชา ๓ และจรณธรรม ๑๕.
               บทว่า ลทฺธา ความว่า บุคคลเห็นปานนี้ได้ความสมบูรณ์ คือความไม่บกพร่อง ได้แก่ความบริบูรณ์แห่งจิต.
               บทว่า กโรติ กมฺมสมฺปทํ ได้แก่ ทำกรรมให้บริบูรณ์.
               บทว่า ลภติ จตฺถสมฺปทํ ได้แก่ ได้ประโยชน์บริบูรณ์.
               บทว่า ทิฏฺฐิสมฺปทํ ได้แก่ ทิฏฐิในวิปัสสนา.
               บทว่า มคฺคสมฺปทํ ได้แก่ โสดาปัตติมรรค.
               บทว่า ยาติ สมฺปนฺนมานโส ความว่า เป็นผู้มีจิตบริบูรณ์ถึงพระอรหัต.
               บทว่า สา โหติ สพฺพสมฺปทา ความว่า ความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงนั้น ชื่อว่าเป็นความถึงพร้อมทุกอย่าง.

               จบอรรถกถาเขตตสูตรที่ ๔               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ปัณณาสก์ ทานวรรคที่ ๔ ๔. เขตตสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 23 / 1อ่านอรรถกถา 23 / 123อรรถกถา เล่มที่ 23 ข้อ 124อ่านอรรถกถา 23 / 125อ่านอรรถกถา 23 / 281
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=4904&Z=4949
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=5710
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=5710
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๘  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :